02 กุมภาพันธ์ 2561

orthostatic hypotension

postural hypotension หรือ orthostatic hypotension ความดันโลหิตต่ำลงขณะเปลี่ยนท่า นั่งนอนมาเป็นยืน พบบ่อยนะ มารู้จักกันสักหน่อย

  มนุษย์เราพัฒนาการมายืนสองขา เมื่อเรายืนขึ้นเลือดดำจะตกไปกองที่ขาจากแรงดึงดูดโลก  แน่นอนเมื่อเลือดดำไม่ไหลเข้าหัวใจ ก็ไม่มีเลือดจากหัวใจพอจะไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ร่างกายไม่ยอมแน่จึงได้มีเครื่องมือสำคัญในการรักษาระดับความดันโลหิตดังนี้
  เมื่อแรงดันเลือดลดลง จากปริมาณเลือดลงเวลายืนอย่างที่ว่า เซ็นเซอร์ตรวจจับที่ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (baroreceptor) จะส่งสัญญาณไปที่สมองให้ส่งกระแสประสาทมากระตุ้นอัตราการเต้นหัวใจ และส่งกระแสประสาทลงมาตามไขสันหลังไปที่หลอดเลือดแดงให้หดตัวเพื่อเพื่มความดันเลือด
....ความดันโลหิต = (ปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจ × อัตราการเต้น) × แรงต้านหลอดเลือดแดง..

   หากระบบประสาทเราเสียหาย เราจะไม่สามารถรักษาระดับความดันได้ดังเช่นคนไข้โรคพาร์กินสันที่มีระบบประสาทอัตโนมัติบกพร่อง การดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้แรงดันหลอดเลือดแดงลดลง ที่กล่าวมาเป็นสาเหตุของความดันที่ตกลงไป

  เวลาตรวจว่ามี orthostatic hypotension หรือไม่ เมื่อมีประวัติอันพึงสงสัยเช่นหน้ามืดขณะลุกนั่ง เป็นลมหมดสติ สิ่งสำคัญคือ การวัดความดันท่านั่งท่ายืนถูกต้องไหม..???

  ในการวัดแบบมาตรฐาน Gold standard (สังเกตว่าไม่มีระดับ platinum) ต้องใช้เตียงที่ปรับเอียงได้คือปรับจากนอนราบมาเป็นนอนในแนวดิ่งคล้ายๆยืน ต่างจากยืนตรงที่เท้าไม่ได้รับน้ำหนักกับพื้น และ ไม่ได้ตั้งตรง 90 องศา เรียกเตียงปรับระดับนี้ว่า Tilt-Table (ห้ามสะกดผิด เป็น tits table เด็ดขาด) ให้นอนราบ 5 นาที วัดค่าความดัน แล้วปรับเตียงขึ้น 70-80 องศา แล้ววัดความดันซ้ำหลังจากค้างอยู่ท่านั้นเป็นเวลาสามนาที โดยต้องวัดชีพจรตลอด
  ทำไมต้องวัดชีพจรตลอด ...จำได้ไหมว่า หากปรกติ ชีพจรจะมากขึ้น หากไม่มากขึ้นก็เป็นความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ หรือถ้าเร็วค้างตลอดอันนี้ก็ผิดปกติเช่นกัน (postural orthostatic tachycatprdia syndrome คือชีพจรขยับเกิน 30 คือค้างอย่างน้อย 120
  ในกรณีไม่มีเตียงปรับระดับ ก็ให้คนไข้นอนราบ5นาทีแล้ววัดค่า หลังจากนั้นให้ลุกยืน 3-5 นาทีแล้ววัดซ้ำ ในกรณียืนไม่ได้ก็นั่งห้อยเท้าและวัดเอาเองซ้ำ วิธีนี้พอใช้ได้ในสถานการณ์บ้านเรา แต่ไม่สามารถวัดชีพจรในขณะเปลี่ยนท่าได้

  ค่าที่บอกว่ามีภาวะ postural hypotension คือ ความดันเมื่อปรับเปลี่ยนท่า ลดลงอย่างน้อย 20 สำหรับความดันซีสโตลิก  และลดลงอย่างน้อย 10 สำหรับความดันไดแอสโตลิก ถ้าหากมีภาวะนี้ก็ควรหาสาเหตุและป้องกันนะครับ

ที่มา
Am Fam Physician. 2011 Sep 1;84(5):527-536.
J Clin Neurol. 2015 Jul; 11(3): 220–226.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม