นางฟ้าในสงคราม ... พยาบาลผู้ยิ่งใหญ่ "ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล"
ช่วงปี 1800 โฉมหน้าของโลกเปลี่ยนไป มหาอำนาจเดิมคือ สเปน ดัตช์ สหราชอาณาจักร และ ฝรั่งเศส ถูกสั่นคลอนอำนาจโดยอาณาจักรรัสเซัย รัสเซียเริ่มขยายอาณาจักรแผ่ขยายมาทางตะวันตก เพื่อเข้าสู่การเพาะปลูกเขตอบอุ่น และทางออกสู่ทะเลตะวันตก ควบคุมทางเข้าออกตะวันออกกาง ความขัดแย้งคุกรุ่นจนมาถึง..
ปี 1850 ความขัดแย้งเริ่มรุนแรงบริเวณ โรมาเนีย บัลแกเรีย และ คาบสมุทรไครเมียคาบสมุทรและจุดยุทธศาสตร์สำคัญ อยู่ทางตอนใต้ของยูเครนปัจจุบัน
ปี 1853 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ตุรกี และ ซาร์ดีเนีย (บริเวณอิตาลีในปัจจุบัน) เข้าร่วมกันเป็นพันธมิตร เข้ารุกไล่กองทัพแห่งจักรวรรดิรัสเซีย เป็นจุดเริ่มแห่งสงครามสมัยใหม่ มีการใช้อาวุธ มีการวางแผน มีการสร้างพันธมิตรโจมตีเป็นกลุ่มและมีสนธิสัญญา
สงครามใช้เวลาสี่ปี แต่สิ่งที่ทุกคนไม่รู้คือ คนที่เสียชีวิตจากโรคระบาดในสงคราม มีปริมาณพอๆกับที่เสียชีวิตจากสงคราม
นั่นคือจุดกำเนิดนางฟ้าแห่งสนามรบ ...ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล...
ไนติงเกลเกิดปี1820 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน เธอเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะดี เรียกว่ามั่งคั่งจะดีกว่า ทำให้เธอมีโอกาสที่จะทำตามสิ่งที่สนใจ เพราะในยุคนั้นเป็นยุคของความไม่เท่าเทียม ผู้หญิงมีโอกาสเล่าเรียนน้อยมาก เรียนแพทย์นี่ไม่ได้เลยล่ะ สถานะทางสังคมเป็นช้างเท้าหลังอย่างแท้จริง คือ ทำงานบ้าน งานสวน และมักจะออกเรือนตั้งแต่อายุน้อย 15-16 ปี
แต่ไนติงเกลไม่ใช่แบบนั้นเธอได้มีโอกาสเรียนรู้การดูแลคนเจ็บป่วย เป็นคนยากไร้ทคนงานที่มาอยู่ในเขตที่ดินของพ่อเธอ ทำให้เธอรู้สึกชื่นชอบในการดูแลรักษาพยาบาล เธอปฏิเสธพ่อกับแม่ว่า เธอจะยังไม่แต่งงาน แต่ขอไปเรียนวิชาพยาบาลอย่างจริงจัง
ก็อย่างที่ว่าในสมัยนั้น การเรียนของสุภาพสตรีไม่ง่ายนัก ต้องจากบ้านจากเมืองไปไกลทีเดียว ไนติงเกลเข้ารับการศึกษาที่ Lutheran Hospital เมือง Kaiserwerth ปัจจุบันในประเทศเยอรมนี ในปี 1844
**สมัยนั้น ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลายประเทศยังไม่จัดตั้งเหมือนทุกวันนี้ ยังเป็นอาณาจักร แคว้น เมือง เช่น ซาร์ดีเนีย(ปัจจุบันอยู่ในเขตอิตาลี) ปรัสเซีย(เยอรมัน) **
เมื่อไนติงเกลเรียนจบใช้เวลาห้าปี เธอได้กลับไปที่อังกฤษ ครับมันคือปี 1850 ปีที่สถานการณ์ของยุโรปตะวันออก คาบสมุทรไครเมีย ทะเลดำ คุกรุ่นสุกงอม ไนติงเกลทำงานที่โรงพยาบาลมิดเดิลเซ็กซ์ ที่นั่นไนติงเกลได้เรียนรู้เรื่องสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอหิวาหตกโรค หนึ่งในโรคระบาดที่ร้ายกาจในยุคนั้น
หลังจากนั้นสามปี สงครามไครเมียก็อุบัติขึ้น ทหารชาวอังกฤษล้มตายในสงครามเป็นอันมาก และข่าวก็มาถึง ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล....
ไนติงเกลได้อาสาไปช่วยทหารเหล่านั้น สมัยนั้นไม่มีการพาหน่วยสตรีออกรบด้วย ไนติงเกลต้องส่งคำร้องไปยังผู้ใหญ่ในกองทัพสหราชอาณาจักร อย่าลืมว่าเธอมีต้นทุนทางสังคมดีอยู่แล้ว...อ้อ ลืมไปในบางเล่มเขียนว่าเธอย้ายมาอยู่อังกฤษตั้งแต่เด็ก แต่อีกหลายเล่มบอกว่าครอบครัวเธอมีบ้านอยู่หลายเมือง ผมเชื่อทฤษฎีย้ายมามากกว่า เพราะพ่อของไนติงเกลเป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สมัยนั้นที่ต้องการแสนยานุภาพของกองทัพอังกฤษคอยคุ้มครอง
สุดท้าย ไนติงเกลได้รับอนุมัติให้จัดทีมพยาบาลกองผสมหลายเชื้อชาติศาสนา ไปดูแลรักษาทหารสัมพันธมิตรของอังกฤษ โดยให้ไปตั้งโรงพยาบาลสนามที่ Scaturi ฐานทัพของอังกฤษที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ฐานที่ใกล้คาบสมุทรไครเมียที่สุด หลายท่านคงทราบคำตอบในใจแล้วว่า คอนสแตนติโนเปิลก็คือ อิสตันบูลในปัจจุบันนั่นเอง เดี๋ยวจะเข้าใจว่า ตำแหน่งที่ตั้งที่อิสตันบูล ตุรกี มีส่วนสำคัญของการเป็น Lady with the Lamp
โรงพยาบาลสนามที่ไนติงเกลและอาสาสมัครพยาบาลทั้ง 34 ท่าน ตั้งอยู่บนแหล่งเสื่อมโทรม น้ำเสีย ภายในก็สกปรก หนู แมลงสาบมากมาย สิ่งแรกที่ไนติงเกลทำคือ "จัดระเบียบสังคม" ทำความสะอาดให้โล่ง เปิดหน้าต่างให้ลมพัดผ่าน แสงแดดส่องถึง จัดหาน้ำสะอาด ตามสิ่งที่เคยมีประสบการณ์จากโรคอหิวาห์ เริ่มได้ผล...ทหารไม่ได้ล้มตายจากติดเชื้ออีก ทั้งๆที่ไนติงเกลยังไม่มียาฆ่าเชื้อ (ซัลฟาและเพนิซิลลินเกิดหลังจากนี้ไปเกือบแปดสิบปี) แต่อัตราการเสียชีวิตยังคงสูง..เพราะอะไร
ท่อน้ำเสียและทางระบายน้ำเสียอันสกปรกและขังอยู่ใต้อาคารนั่นเอง
ไนติงเกลขอความร่วมมือจากทหารช่วยกันวางระบบระบายน้ำและของเสีย ปิดฝังท่อระบายน้ำสกปรกใต้อาคารพยาบาล สร้างสิ่งแวดล้อมและระบายน้ำใหม่ทั้งหมด สิ่งนี้เอง อนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด จะช่วยให้ผู้คนปลอดโรค
ใช่แล้ว Theories of Nightingale ตามวิชาพยาบาลนั่นเอง ....
และแล้วก็มาถึงตำนาน ยุคสมัยนั้นอย่างที่เรียนให้ทราบตั้งแต่ต้นว่าไม่มีความเท่าเทียมกันทางเพศ สุภาพสตรียังไม่สามารถออกไปทำงานหรือธุระปะปังอะไรได้มากมาย ยิ่งการไปให้การพยาบาลในช่วงเวรบ่ายหรือเวรดึก แทบไม่มีใครทำ (คุณพยาบาลแอบยิ้มเลย..ขึ้นแต่เวรเช้า สวรรค์)
แต่ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ทำลายกฎและความเชื่อแห่งความอยุติธรรมอันนั้น สุภาพสตรีจะได้มีสิทธิ มีอำนาจและคนไข้คนเจ็บก็ได้รับการดูแล เปลี่ยนผ้าพันแผล เช็ดตัว กินยา สิ่งนี้ทำให้พลิกโฉมการพยาบาลยุคนั้นที่จะรักษากันเฉพาะเวรเช้าและเป็นที่มาของ the Lady with the Lamp
ไนติงเกลเริ่มพาทีมอาสาสมัครแบ่งออกเป็นชุดๆ สลับกันไปดูแลคนไข้ช่วงกลางคืน การทำแผล กมรทำความสะอาด รับคนไข้ใหม่ เดินราวด์วอร์ดไปเตียงสู่เตียง การทำแบบนี้ร่วมกับการจัดสุขลักษณะอนามัยคนไข้และสถานที่ ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมากเกือบ 60% โรคระบาดไม่ใช่ปัญหาของสงครามอีก (อย่าลืม สงครามคือ ไม่ได้อาบน้ำ อาหารแค่พออยู่ แออัด เชลยศึก แผล ...ฯลฯ) และพอดีกับอังกฤษก็ชนะสงครามเสียด้วย
แน่นอนในโรงพยาบาลสนาม ย่อมไม่มีไฟฟ้า ไนติงเกลและเหล่าอาสาสมัครพยาบาลผู้กล้าใช้ตะเกียงเดินไปตรวจคนไข้และทำหัตถการ เป็นตะเกียงที่เรียกว่า Turkish lantern ภาษาท้องถิ่นว่า Fanoos เหล่าบรรดาผู้บาดเจ็บจึงขนานนามว่า "The Lady with the Lamp" หรือ "Angel of Crimea"
ความกล้าหาญและความคิดของไนติงเกลได้รับการยกย่องมาก และบันทึกของเธอเกี่ยวกับการดูแลคนไข้อย่างเอาใจใส่ สุขอนามัย อาหารที่ดี สิ่งแวดล้อมที่สะอาด การดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา ที่เธอบันทึก Efficiency and Hospital Administration of the British Army ได้รับการประยุกต์ใช้ไปทั่วกองทัพอังกฤษ รวมทั้งเป็นมาตรฐานการพยาบาลในปัจจุบัน
หลังจากไนติงเกลกลับมาจากสงคราม เธอได้รับรางวัลและเงินทุนจากสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษเพื่อจัดตั้งการเรียนการสอนพยาบาลอย่างเป็นหลักฐาน เป็นจริงเป็นจังที่ โรงพยาบาลเซนต์ทอมัส "the Nightingale Training School for Nurses"
บั้นปลายเธอได้เป็นกวี คุณครูและเป็นแรงบันดาลใจกับพยาบาลทั่วยุโรป และตราบจน..ทุกวันนี้
ภาพตะเกียง fanoos ดั้งเดิมที่ไนติงเกลใช้ จากพิพิธภัณฑ์ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ประเทศอังกฤษ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
คำถามจากทางบ้าน : น้ำอสุจิมีมดตอม แบบนี้ เป็นเบาหวานไหม อย่างแรกคนที่ถามคำถามนี้เป็นสุภาพสตรี ต้องนับถือในความช่างสังเกตสิ่งรอบตัวจริง ๆ ค...
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น