26 กุมภาพันธ์ 2561

สรุปแนวทางการคัดกรองมะเร็งสำหรับคนปกติที่แข็งแรงดี

สรุปแนวทางการคัดกรองมะเร็งสำหรับคนปกติที่แข็งแรงดี

  สำหรับคนที่มีโรคที่เสี่ยงเช่น ติดเขื้อไวรัสตับอักเสบบี มีประวัติครอบครัวโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ตับแข็ง เคยเป็นมะเร็งมาแล้ว ฯลฯ กลุ่มนี้จะมีคำแนะนำเฉพาะตัวตามที่แพทย์ที่ดูแลแนะนำอยู่
   การตรวจหวังผลให้พบมะเร็งในระยะที่รักษาแล้วหายหรือรักษาและผลข้างเคียงไม่มากนัก การตรวจไม่ได้รับรองผล 100% แต่ก็มีความไวสูงพอ คือ เมื่อเจอแล้วต้องไปยืนยันผลอีกรอบด้วยวิธีที่เฉพาะแบบ แพงกว่า เจ็บตัวกว่า ดังนั้นการคัดกรองด้วยวิธีที่ง่ายและไวจึงเป็นคำแนะนำมาตรฐาน
  และควรปฏิบัติตัวหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมะเร็งด้วย ห้ามคิดว่ามีวิธีที่ไวพอแล้ว ไม่ต้องดูแลตัวเอง ให้หมอจัดการให้ แบบนี้ผิด

1. มะเร็งเต้านม  การตรวจที่แนะนำเป็นหลักคือการทำแมมโมแกรม ส่วนการตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้แนะนำแล้ว การตรวจด้วยตัวเองไม่ไวพอ แต่เนื่องจากทำง่ายสะดวก ก็ยังแนะนำและถ้าหากผิดปกติก็ให้ไปหาหมอ

1.1 อายุ 40-44 เริ่มพิจารณาทำได้หากต้องการ ทำปีละครั้ง

1.2 อายุ 45-54 ควรทำทุกปี

1.3 อายุ มากกว่า 55 สองปีครั้ง หรือถ้าปกติดีมาตลอดก็ปีละครั้ง

1.4 คัดกรองไปได้เรื่อยๆ หากคิดว่ายังมีโอกาสชีวิตยาวนานอย่างมีคุณภาพมากกว่า 10 ปี

2. มะเร็งปากมดลูก มีการตรวจสองอย่างคือตรวจเซลที่ทำกันมาตลอด และการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี  ถ้าตรวจแล้วผิดปกติต้องเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจซ้ำหรือตัดชิ้นเนื้อครับ

2.1 อายุ 21-29 ตรวจสามปีครั้ง ไม่ต้องตรวจ HPV ยกเว้นผลเซลผิดปกติ

2.2 อายุ 30-65 ตรวจทั้งเซลและเอชพีวีทุกห้าปี ถ้าตรวจทั้งคู่ไม่ได้ให้ตรวจเซลอย่างเดียวทุกสามปี

2.3 อายุ มากกว่า 65 ในกรณีที่ตรวจมาแล้วปกติมาตลอด ก็ไม่ต้องตรวจอีก เว้นมีอาการผิดปกติ  หรือเคยตรวจผิดปกติ ก็แนะนำตรวจต่อไปอีก 20 ปี แม้ว่าอายุจะเกิน 65 ก็ตาม

3. มะเร็งโพรงมดลูก  ไม่ต้องตรวจแต่ควรให้คำแนะนำในกรณีเลือดออกมาอีกหลังหมดประจำเดือน ควรเข้าพบแพทย์

4. มะเร็งลำไส้ใหญ่  เริ่มตั้งแต่อายุ 50 ปี การตรวจโดยการถ่ายภาพหรือส่องกล้องจะตรวจทั้งเนื้องอกและติ่งเนื้อ ส่วนการตรวจอุจจาระจะตรวจได้เฉพาะมะเร็ง และการตรวจด้วยวิธีอื่นๆที่ไม่ใช่ส่องกล้องหากพบความผิดปกติ ต้องมาส่องกล้อง

  4.1 ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ทุก 10 ปี

  4.2 เอ็กซเรย์ลำไส้ใหญ่ ทุก 5 ปี

  4.3 ส่องกล้องลำไส้ตรง (flexible sigmoidoscopy) หรือ สวนแป้ง ทุก 5 ปี  ข้อนี้หลายๆสมาคมไม่แนะนำแล้ว แต่ American Cancer Society ยังแนะนำอยู่ ส่วนตัวผมว่าก็ว่าน่าจะใช้สองวิธีแรกมากกว่า

  4.4 ตรวจอุจจาระทุกปี หามะเร็งโดยเฉพาะ ตรวจปีละสามสิ่งส่งตรวจ หรือจะใช้ร่วมกับวิธีด้านบนก็ได้ วิธีนี้สะดวกและง่ายดี (ต้องทราบข้อจำกัดการแปลผล) 

5. มะเร็งปอด การคัดกรองมะเร็งปอด ผลประโยชน์ไม่มากนัก แต่ข้อมูลที่ดีที่สุดตอนนี้คือ ใช้การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (low dose CT chest) ทุกปี เฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงคือมีข้อบ่งชี้ครบสามข้อ
  ..อายุ 55-74 ปี...ร่างกายแข็งแรงดี...สูบบุหรี่มาอย่างน้อย 30 packyears ทั้งผู้ที่สูบต่อเนื่องและผู้ที่เลิกมาไม่เกิน 15 ปี...

6. มะเร็งลูกหมาก ไม่แนะนำตรวจเลือด PSA เพื่อคัดกรองมะเร็งลูกหมากอีกแล้ว การตรวจให้คุยถึงผลดีผลเสียเป็นรายๆไป เช่นถามอาการ ความเสี่ยง ตรวจก้น หรือจะเจาะเลือด PSA ก็ต้องคุยเป็นรายๆไปครับ

ที่มา American Cancer Society : early cancer screening

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม