ฝีที่ตับ liver abscess โรคที่ยังพบอยู่ประปราย ยุคนี้พบน้อยลง มารู้จักสักเล็กน้อย
ฝีที่ตับก็เหมือนกับฝีที่อวัยวะอื่นๆ เริ่มด้วยการติดเชื้อที่จุดนั้น ร่างกายมีการควบคุมโดยส่งเม็ดเลือดขาวมากำจัดและสร้างกำแพงล้อมรอบสมรภูมิรบ ไม่ให้เชื้อโรคเล็ดรอดออกไปที่จุดอื่น แล้วก็ค่อยๆทำลาย ตัดทางลำเลียงน้ำและอาหาร เชื้อโรคก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด
ก็เลยออกมาเป็นคำอธิบายว่าโพรงหนอง (abscess) คือมีเยื่อไฟบรินล้อมรอบที่ชัดเจน หลอดเลือดมาถึงจุดนี้แล้วผ่านเข้าไปในโพรงน้อยมาก เวลาเราถ่ายภาพเอ็กซเรย์และฉีดสี สีก็วนรอบโพรงหนอง เรียก peripheral enhancement
ยาที่ใช้ก็ต้องเป็นยาที่มีสมบัติซึมผ่านเข้าเนื้อเยื่อได้ดี หรือบางครั้งคงต้องผ่าตัดระบายหนองออกมา เพราะยาทะลวงเข้าไปยาก
ก็เลยออกมาเป็นคำอธิบายว่าโพรงหนอง (abscess) คือมีเยื่อไฟบรินล้อมรอบที่ชัดเจน หลอดเลือดมาถึงจุดนี้แล้วผ่านเข้าไปในโพรงน้อยมาก เวลาเราถ่ายภาพเอ็กซเรย์และฉีดสี สีก็วนรอบโพรงหนอง เรียก peripheral enhancement
ยาที่ใช้ก็ต้องเป็นยาที่มีสมบัติซึมผ่านเข้าเนื้อเยื่อได้ดี หรือบางครั้งคงต้องผ่าตัดระบายหนองออกมา เพราะยาทะลวงเข้าไปยาก
ฝีที่ตับพบได้บ่อยเพราะตับมีระบบไหลเวียนเลือดสองระบบ คือ ระบบพอร์ตัล หลอดเลือดดำที่ดูดซึมอาหารต่างๆจากลำไส้จะผ่านมาที่ตับก่อนเข้าสู่หัวใจ ทำให้ตับรับเชื้อโรคในลำไส้ได้ง่าย เป็นเหตุที่ทำให้เกิดฝีบิดอะมีบิกที่ตับ (amoebic liver abscess) จากการติดเชื้อปรสิตอะมีบาในลำไส้เดินทางต่อมาที่ตับ หรือติดเชื้อจากแบคทีเรียในลำไส้ แบคทีเรียชื่อ enterobactericiae เคลื่อนที่ผ่านระบบเลือดและน้ำเหลืองมาที่ตับ เกิดเป็น pyogenic liver abscess
ระบบเลือดที่สองคือ ระบบเลือดซีสเต็มมิก (systemic circulation) ระบบเลือดที่ไหลเวียนปรกติในร่างกาย ทำให้มีการติดเชื้อที่ตับและอาจเกิดหนองได้เสมอ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นคำอธิบายสำคัญของ ฝีเมลิออยโดสิสที่ตับ ทบทวนเรื่องเมลิออยโดสิสที่นี่
https://m.facebook.com/medicine4layman/posts/1596276677355026:0
ระบบเลือดที่สองคือ ระบบเลือดซีสเต็มมิก (systemic circulation) ระบบเลือดที่ไหลเวียนปรกติในร่างกาย ทำให้มีการติดเชื้อที่ตับและอาจเกิดหนองได้เสมอ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นคำอธิบายสำคัญของ ฝีเมลิออยโดสิสที่ตับ ทบทวนเรื่องเมลิออยโดสิสที่นี่
https://m.facebook.com/medicine4layman/posts/1596276677355026:0
...ครบ ฝีที่ตับสามชนิด ฝีบิดอะมีบิก ฝีแบคทีเรีย ฝีเมลิออยโดสิส
อาการจะคล้ายๆกัน ไข้สูงหนาวสั่น ไข้เป็นระยะๆ (หากเขียนไข้เป็นช่วงๆจะมีคนมาต่อทันที ...หลินฮุ่ย) มีการเจ็บชายโครงขวา กดเจ็บ บางคนมีตับโต หากฝีไปกดเบียดทางเดินน้ำดีอาจมีตัวตาเหลืองได้ ประวัติที่ได้อาจมีถ่ายเหลว มีมูกเลือดนำมาก่อนได้ ...อันนี้คือที่ชัดๆนะครับ ประวัติไม่ตรงไปตรงมา ไข้สองสามอาทิตย์ ไม่มีอาการปวดเลยก็มี
การตรวจวินิจฉัยที่นิยมคือการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นอัลตร้าซาวนด์ หรือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ฉีดสี ลักษณะทางเอ็กซเรย์เมื่อร่วมกับประวัติและตรวจร่างกายจะสามารถแยก มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี ได้ระดับหนึ่ง ฝีอะมีบิกส่วนมากจะเป็นฝีเดี่ยวๆหรือสองสามโพรงใกล้ๆกันที่ตับกลีบขวา ฝีแบคทีเรียมักจะมีโพรงเดี่ยวหรือโพรงเล็กๆกระจายทั้งสองกลีบ ส่วนฝีเมลิออยมักกระจายและจะมีลักษณะเฉพาะ (swiss-cheese appearance, necklace signs)
จำเป็นต้องเจาะออกไหม จำเป็นต้องใส่สายระบายหรือไม่ หรือจะต้องผ่าตัด ...ทั้งหมดเพื่อการรักษาและได้ทราบชนิดของเชื้อก่อโรค .. สำหรับฝีเมลิออยนั้นข้อมูลน้อยโดยมากรักษาด้วยการใช้ยาจะหายดีและตอบสนองดี ส่วนฝีอะมีบิกไม่ได้บังคับเจาะเช่นกัน จะเลือกเจาะหากโพรงหนองใหญ่มีแนวโน้มจะแตกและโพรงไม่ลึกมาก
แต่ฝีแบคทีเรีย การเจาะออกจะมีประโยชน์เลือกเจาะบ่อยๆ หรือใส่สายระบายก็ดีกว่าไม่เจาะครับ
การผ่าตัดก็ทำเมื่อไม่ตอบสนองต่อยา หรือ ฝีแตกเข้าช่องท้อง เข้าเยื่อหุ้มหัวใจเป็นต้น
แต่ฝีแบคทีเรีย การเจาะออกจะมีประโยชน์เลือกเจาะบ่อยๆ หรือใส่สายระบายก็ดีกว่าไม่เจาะครับ
การผ่าตัดก็ทำเมื่อไม่ตอบสนองต่อยา หรือ ฝีแตกเข้าช่องท้อง เข้าเยื่อหุ้มหัวใจเป็นต้น
การรักษาด้วยยาสามารถรักษาได้ดีและสามารถติดตามโรคได้ด้วยอัลตร้าซาวนด์ หากตอบสนองดี อาการก็จะดีขึ้น ขนาดโพรงฝีก็จะลดลง การใช้ยาในระยะแรกๆก็ใช้ยาทางหลอดเลือดดำ และสามารถติดตามให้ยาแบบผู้ป่วยนอกเมื่ออาการดีขึ้น
โรคนี้นานๆจึงพบสักที แต่พบทีนึงก็วุ่นวายและรักษานาน คนไข้ก็จะกลัวมากกับ ฝีในตับ
ที่มา
1.Liver abscess โดย อ.สุพจน์ พงษ์ประสบชัย หนังสือ clinical practice in gastroenterology
2.Sleisenger and Fordtrans textbook 10th
1.Liver abscess โดย อ.สุพจน์ พงษ์ประสบชัย หนังสือ clinical practice in gastroenterology
2.Sleisenger and Fordtrans textbook 10th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น