สุกใสแบบสั้นสั้น
1. ผู้ใหญ่ก็เป็นสุกใสได้ และมีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนมากกว่าเด็ก ผมแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบติดเชื้อและติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนที่ผิวหนัง
2. สุกใสติดต่อทางการหายใจได้ และจากการสัมผัสตุ่มน้ำใส สัมผัสกันไปสัมผัสกันมา ป้ายหูป้ายตาเข้าปาก มีโอกาสติดได้
3. สุกใสสามารถเกิดซ้ำได้ เพียงแต่โอกาสมันน้อยมาก และงูสวัดกับสุกใสเป็นตัวเดียวกัน แต่กลไกการเกิดโรคต่างกัน
4. เลิกความเชื่อว่าหากไม่เคยเป็นสุกใส ให้ไปคลุกคลีกับคนเป็นโรค เพราะถ้าหากติดแบบรุนแรงมันจะไม่คุ้ม
5. มีวัคซีนป้องกันสุกใส ฉีดกับคนที่ไม่เคยเป็นสุกใสมาก่อน หากไม่แน่ใจให้วัดแอนติบอดี
6. ในผู้ใหญ่ที่แข็งแรงดี โอกาสเกิดผลแทรกซ้อนน้อยมาก (แต่ก็มากกว่าเด็ก) แค่รักษาตามอาการก็พอ หรือจะให้ยาควรให้ตั้งแต่ระยะต้นภายใน 24 ชั่วโมง
7. ในผู้ใหญ่ที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน เช่นมีโรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันผิดปกติ อาจใช้ยารักษาได้ ในรายอาการรุนแรงมากจะมีการให้ VZIG ได้บ้าง
8. ประโยชน์จากยารักษาต้านไวรัสคือ ลดระยะเวลาการป่วย ลดจำนวนตุ่มและความรุนแรง ไม่ได้ลดอัตราตาย ลดผลแทรกซ้อนลงได้บ้าง ดังนั้นหากร่างกายแข็งแรงดี ไม่จำเป็นต้องให้ยาก็ได้ ข้อมูลการศึกษาบอกว่าได้ประโยชน์หากให้ใน 24 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการ (มักจะไม่ทัน) Ann Intern Med. 1992 Sep 1;117(5):358-63
9. รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น เช็ดตัวอาบน้ำบ่อย ๆ ตุ่มที่ขึ้นก่อนจะหายก่อน ถ้าไม่ไปแกะเกาจะหายแบบสวย ๆ เหมือนเดิม
10. เมื่อตุ่มเริ่มตกสะเก็ด ประสิทธิภาพการแพร่เชื้อจะลดลงมากแล้ว
11. สุกใส หรือ chicken pox ไม่น่ากลัวเท่า เจ้ามือ pox
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น