Theophylline ยารักษาหลอดลมตีบที่มีมานานยังใช้อยู่แพร่หลาย ราคาไม่แพง สำหรับบ้านเรายังคงมีค่า เรามารู้จักกันสักหน่อย
ยานี้สกัดออกมาจากใบชา มีคนสกัดได้มากว่า 300 ปีมาแล้วแต่ว่าเพิ่งจะมาทำให้บริสุทธิ์และเป็นรูปแบบทางการค้าเมื่อปี 1950 ที่ผ่านมานี่เอง ในตอนนั้นถือว่าเป็นอาวุธใหม่ของการกินขยายหลอดลม เพราะวิวัฒนาการของยาพ่นยาสูดสารพัดอย่างยังไม่เกิดขึ้น ยาตัวนี้ออกฤทธิ์หลากหลายกลไก หรือ พูดตรงๆว่ายังไม่รู้ชัดๆว่าออกฤทธิ์แบบใดกันแน่ ปัจจุบันเชื่อว่าออกฤทธิ์สองแบบ
แบบแรกคือการขยายหลอดลม (non selective PDE inhibitor) ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม และลดการหลั่งสารคัดหลั่งจากเซลในทางเดินหลอดลม บางส่วนออกฤทธิ์ผ่าน adenosine receptor antagonist แม้จะขยายหลอดลมแต่ทำให้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบที่สองคือ ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการอักเสบระดับเซล เจ้าพวกเซลอักเสบทั้งหลายที่มาก่อการอักเสบนี่แหละคือปัญหาสำคัญเลย บางครั้งอาการดีก็จริงแต่เมื่อกระบวนการอักเสบมันยังไม่หยุด โรคก็จะยังเป็นต่อเนื่องต่อไป โดยยาจะไปลดการหลั่งสารสื่อการอักเสบของเซลต่างๆ ประเด็นนี้ทำให้ยังมีการใช้ในปัจจุบันอยู่บ้าง
บางคนก็เชื่อว่าสามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจแข็งแรงขึ้นด้วย กลไกทั้งหมดนี้ใช้ได้กับทั้งหอบหืดและถุงลมโป่งพอง และสำหรับถุงลมโป่งพองเชื่อว่าจะทำให้หลอดลมตอบสนองต่อยาสูดพ่นสเตียรอยด์ดีขึ้นอีกด้วย
แบบแรกคือการขยายหลอดลม (non selective PDE inhibitor) ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม และลดการหลั่งสารคัดหลั่งจากเซลในทางเดินหลอดลม บางส่วนออกฤทธิ์ผ่าน adenosine receptor antagonist แม้จะขยายหลอดลมแต่ทำให้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบที่สองคือ ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการอักเสบระดับเซล เจ้าพวกเซลอักเสบทั้งหลายที่มาก่อการอักเสบนี่แหละคือปัญหาสำคัญเลย บางครั้งอาการดีก็จริงแต่เมื่อกระบวนการอักเสบมันยังไม่หยุด โรคก็จะยังเป็นต่อเนื่องต่อไป โดยยาจะไปลดการหลั่งสารสื่อการอักเสบของเซลต่างๆ ประเด็นนี้ทำให้ยังมีการใช้ในปัจจุบันอยู่บ้าง
บางคนก็เชื่อว่าสามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจแข็งแรงขึ้นด้วย กลไกทั้งหมดนี้ใช้ได้กับทั้งหอบหืดและถุงลมโป่งพอง และสำหรับถุงลมโป่งพองเชื่อว่าจะทำให้หลอดลมตอบสนองต่อยาสูดพ่นสเตียรอยด์ดีขึ้นอีกด้วย
ดูดีจัง แล้วทำไมไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแรกๆของการรักษา
ก็ต้องบอกว่าปัจจุบันการใช้ยาสูดพ่นทั้งขยายหลอดลมและต้านการอักเสบ พัฒนาไปไกลมาก ให้ประสิทธิภาพดีกว่ามากๆ ในเมื่อ theophylline ไม่ก้าวไปข้างหน้าก็โดนแซง ประสิทธิภาพการรักษาของยาสูดพ่นในยุคนี้เรียกว่ามีจุดออกฤทธิ์ชัดเจน ไม่จับฉ่ายเหมือน theophylline และทรงประสิทธิภาพมากกว่าแบบไม่เห็นฝุ่น จึงลดการใช้ theophylline ลง
แต่ว่า แค่ประสิทธิภาพน้อยกว่าไม่น่าจะต้องลดระดับคำแนะนำลงเลย อีกสาเหตุคือ ยาสูดพ่นยุคนี้ผลข้างเคียงใกล้ศูนย์ในขณะที่ theophylline มีผลข้างเคียงมากมาย
แต่ว่า แค่ประสิทธิภาพน้อยกว่าไม่น่าจะต้องลดระดับคำแนะนำลงเลย อีกสาเหตุคือ ยาสูดพ่นยุคนี้ผลข้างเคียงใกล้ศูนย์ในขณะที่ theophylline มีผลข้างเคียงมากมาย
สาเหตุที่มันมีผลข้างเคียงมาก ก็เพราะกลไกการออกฤทธิ์ที่ไม่ชัดเจน ไปทำงานคร่อมสายงานคนอื่น แถมยังไม่สามารถคาดเดาการออกฤทธิ์ที่ชัดเจนได้ในแต่ละคน ยาตัวนี้ถ้าระดับยาต่ำไปก็ไม่ได้ผลแต่ถ้าสูงไปก็เกิดโทษ ...และระดับการออกฤทธิ์ของมันก็แคบมาก 5-10 ต่อลิตรเท่านั้น อยากจะให้ออกฤทธิ์ได้ดีไม่มีโทษก็ต้องวัดระดับยาให้แม่นๆ ซึ่งก็ทำไม่ได้หรอก ด้วยความยุ่งยากตรงนี้บวกกับยาใหม่ที่ดีกว่าตัวมันก็ได้รับความนิยมลดลง
ผลข้างเคียงก็มากมาย คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ไม่สบายท้อง ปัสสาวะบ่อย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชักเกร็ง--ครบตาม Goodman Gilman คัมภีร์เภสัชกรเลย--
ผลข้างเคียงก็มากมาย คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ไม่สบายท้อง ปัสสาวะบ่อย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชักเกร็ง--ครบตาม Goodman Gilman คัมภีร์เภสัชกรเลย--
ปัจจุบันก็นิยมใช้แบบออกฤทธิ์ยาวนานที่เรียกว่า sustained release ขนาด 8 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม แบ่งให้เช้าเย็น ก็ประมาณ เม็ดละ 200 มิลลิกรัมเช้าเย็น แล้วปรับตามอาการ ใช้ในหอบหืดและถุงลมโป่งพองที่ไม่ตอบสนองหรือยังตอบสนองไม่ดีพอ **หลังจากให้ยาสูดพ่นเต็มที่มากกว่าสองชนิด และยืนยันวิธีการสูดพ่นว่าถูกต้องแล้ว** ปัจจุบันมียาสูดพ่นมากมาย เรียกว่ากว่าจะหลุดมาใช้ยา theophylline ก็น้อยมาก สำหรับยาฉีด aminophylline ไม่แนะนำให้ใช้นะครับเพราะต้องใช้ขนาดสูงและให้เร็วอาจเกิดพิษได้
สิ่งที่ต้องคิดถึงเสมอเวลาได้รับยาตัวนี้คือ ปฏิกิริยาระหว่างยา เพราะตัวยามีการเผาผลาญทำลายด้วยเอนไซม์ตับ CYP1A2 หากให้ร่วมกับยาที่ส่งผลยับยั้งเอนไซม์ตัวนี้ ระดับยา theophylline อาจสูงจนเกิดพิษได้ เช่น ยาแก้โรคกระเพาะ cimetidine ยาฆ่าเชื้อ erythromycin ciprofloxacin ยาลดกรดยูริก allopurinol อีกอย่างเมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของ CYP1A2 ลดลงอาจทำให้ยา theophylline เกิดพิษได้เช่นกัน
สิ่งที่ต้องคิดถึงเสมอเวลาได้รับยาตัวนี้คือ ปฏิกิริยาระหว่างยา เพราะตัวยามีการเผาผลาญทำลายด้วยเอนไซม์ตับ CYP1A2 หากให้ร่วมกับยาที่ส่งผลยับยั้งเอนไซม์ตัวนี้ ระดับยา theophylline อาจสูงจนเกิดพิษได้ เช่น ยาแก้โรคกระเพาะ cimetidine ยาฆ่าเชื้อ erythromycin ciprofloxacin ยาลดกรดยูริก allopurinol อีกอย่างเมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของ CYP1A2 ลดลงอาจทำให้ยา theophylline เกิดพิษได้เช่นกัน
แต่เนื่องจากยาราคาถูก มีใช้ทุกที่ ในขณะที่ยาสูดพ่นที่ดีๆนั้นยังราคาแพงและไม่มีทุกโรงพยาบาล การใช้ยา theophylline จึงยังสมเหตุสมผลและสามารถช่วยเหลือผู้คนที่เป็นโรคหอบหืดหรือถุงลมโป่งพองอาการหนักๆได้ ข้อสำคัญคือทั้งหมอและคนไข้ต้องรู้จัก ข้อใช้ ข้อจำกัดและข้อควรระวัง ก็จะสามารถใช้ยาราคาถูกได้อย่างทรงประสิทธิภาพครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น