สำหรับผู้หญิงอย่างเราๆนั้น ปัญหาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะถือว่าพบบ่อยทีเดียว เพราะโครงสร้างทางกายวิภาคที่ท่อปัสสาวะสั้นมาก จากปากท่อเดินทางแป๊ปเดียวถึงกระเพาะปัสสาวะแล้ว โอกาสติดเชื้อย้อนกลับขึ้นไปง่ายมาก ส่วนผู้ชายนั้นท่อยาวและซับซ้อนกว่า (บางคนก็ท่อ "สั้น") แถมทางออกท่อปัสสาวะยังอยู่ใกล้ชิดกับช่องคลอดและทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อถึงกันได้ง่าย ในเชิงกรานก็ยังมีอวัยวะเพิ่มมาอีกหนึ่งอย่างคือมดลูกที่อาจจะตะแคงหน้าตะแคงข้าง ลังกาเกลียว มากดเบียดทางเดินปัสสาวะได้
ยังมีหน้าที่การทำงานอีกที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่ว่าเลือดประจำเดือนที่ออกมาทุกเดือน ช่วงนั้นก็จะมีความอับชื้นและเชื้อโรคมากขึ้น หรือการต้องตกเป็นฝ่ายรับเวลาทำกิจกรรมเข้าจังหวะ ก็จะเกิดการบาดเจ็บได้บ่อย ทำบ่อยไม่ว่าและหลังทำควรทำความสะอาดด้วยนะ
ยังไม่นับสุขนิสัยที่รักสะอาด ห้องน้ำไม่สะอาด หนูยอมกลั้นถึงบ้านค่ะ หรือว่า กำลังดักตีรัมมี่ได้ ขืนลุกไปจะเสียที กลั้นอีกหน่อย และเป็นกุลสตรีจะเก็บดอกไม้แต่ละทีก็ต้องมีลีลา กาลเทศะ ใช่จะควักปืนมายิงกระต่ายพร่ำเพรื่อแบบผู้ชาย อันนี้ต้องแก้ไขนะสาวๆ ให้ถือคติ #อยากฉี่ต้องได้ฉี่#
ยังไม่นับสุขนิสัยที่รักสะอาด ห้องน้ำไม่สะอาด หนูยอมกลั้นถึงบ้านค่ะ หรือว่า กำลังดักตีรัมมี่ได้ ขืนลุกไปจะเสียที กลั้นอีกหน่อย และเป็นกุลสตรีจะเก็บดอกไม้แต่ละทีก็ต้องมีลีลา กาลเทศะ ใช่จะควักปืนมายิงกระต่ายพร่ำเพรื่อแบบผู้ชาย อันนี้ต้องแก้ไขนะสาวๆ ให้ถือคติ #อยากฉี่ต้องได้ฉี่#
ปัจจัยต่างๆนี้ทำให้สุภาพสตรีติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าและง่ายกว่าสุภาพบุรุษ เมื่อใดที่ท่านสุภาพบุรุษติดเชื้อทางเดินปัสสาวะต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากความผิดปกติหรือไม่ เช่น นิ่ว ลูกหมากโต ติดโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยคือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ) ที่เรียกกันติดปากว่ากระเพาะปัสสาวะอักเสบ จริงๆไม่อยากให้เรียกแบบนี้นะครับเพราะการอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อก็ได้ เช่น เลือดออกจากการใช้ยา cyclophosphamide
อาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ก็จะเป็นอาการเกี่ยวกับฉี่เสียส่วนใหญ่
อาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ก็จะเป็นอาการเกี่ยวกับฉี่เสียส่วนใหญ่
ฉี่แล้วแสบ (อย่าถามว่าแสบอะไร) โดยเฉพาะตอนที่จะสุดสายปลายฉี่
ฉี่ไม่สุดต้องลุกไปฉี่หลายรอบ ก็คือฉี่บ่อย
ฉี่กระปริบกระปรอย จากการหดเกร็งกล้ามเนื้อหูรูด
ฉี่ไม่ออก
ฉี่มีตะกอนขุ่น ฉี่มีเลือดปน
ฉี่มีกลิ่นฉุนมากๆๆ
กดเจ็บบริเวณหัวเหน่า ...อย่าจำผิดเป็นหัวเข่านะ เดี๋ยวคนไข้ปัสสาวะขัดๆมา กดเข่าเฉยเลย
ฉี่ไม่สุดต้องลุกไปฉี่หลายรอบ ก็คือฉี่บ่อย
ฉี่กระปริบกระปรอย จากการหดเกร็งกล้ามเนื้อหูรูด
ฉี่ไม่ออก
ฉี่มีตะกอนขุ่น ฉี่มีเลือดปน
ฉี่มีกลิ่นฉุนมากๆๆ
กดเจ็บบริเวณหัวเหน่า ...อย่าจำผิดเป็นหัวเข่านะ เดี๋ยวคนไข้ปัสสาวะขัดๆมา กดเข่าเฉยเลย
แน่นอนการตรวจที่ควรทำคือ การตรวจปัสสาวะ ต้องเก็บให้ถูกวิธีนะ ถ้าผิดวิธีก็จะมีการปนเปื้อนแปลผลผิดได้ ล้างให้สะอาด ฉี่ส่วนแรกทิ้งไปก่อน เก็บฉี่ตรงกลางๆ รีบส่งตรวจ อย่าลืมล้างมือนะครับ การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะมีหลายอย่างที่บ่งชี้การติดเชื้อ เช่นพบเซลเม็ดเลือดขึ้นสูง เม็ดเลือดขาวก็อย่างน้อย 5 ตัวในปัสสาวะปั่น (คือ centrifuged นะครับ ไม่ใช่ปั่นแบบกาแฟปั่น) หรือเกิน 10 ตัวในปัสสาวะไม่ปั่น เรียกว่า significance pyuria
การตรวจพบแบคทีเรียจากการปั่นย้อมหรือการเพาะเชื้อ พบมากกว่า 10ยกกำลังห้า CFU (ในผู้ชายรับได้ที่ 10 ยกกำลังสี่)
การตรวจอื่นๆเช่น leucocyte esterase หรือ nitrite ผลบวก แค่ช่วยสนับสนุนเพราะอาจมีผลบวกปลอมลบปลอมได้ การถ่ายภาพรังสีต่างๆทำเมื่อสงสัยโรคอื่นๆ
การตรวจพบแบคทีเรียจากการปั่นย้อมหรือการเพาะเชื้อ พบมากกว่า 10ยกกำลังห้า CFU (ในผู้ชายรับได้ที่ 10 ยกกำลังสี่)
การตรวจอื่นๆเช่น leucocyte esterase หรือ nitrite ผลบวก แค่ช่วยสนับสนุนเพราะอาจมีผลบวกปลอมลบปลอมได้ การถ่ายภาพรังสีต่างๆทำเมื่อสงสัยโรคอื่นๆ
แต่โดยทั่วไปมาตรวจผู้ป่วยนอกเราก็ไม่ได้เพาะเชื้อ หรือเพาะเชื้อแต่ก็ไม่ได้มาฟังผล (จริงๆไม่ดีนะครับ) เรารักษาแบบ empirical คือครอบคลุมเชื้อที่คิดเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนหรือในผู้ชายควรติดตามผลเพาะเชื้อเสมอนะครับ
เชื้อส่วนมากก็เชื้อในทางเดินปัสสาวะนั่นเอง E.coli, K.pneumoniae, enterococci ยาที่นิยมใช้คือ ofloxacin, ciprofloxacin, levofloxacin เป็นเวลาสามวัน นี่คือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแบบอาการไม่รุนแรง ไม่สงสัยการติดเชื้อดื้อยาหรือมีโครงสร้างผิดปกตินะครับ ในกรณีไม่แน่ใจก็มาฟังผลเพาะเชื้อและปรับยา
หรือยากลุ่ม beta lactam เช่น cefdinir, cefditoren, cefixime, amoxicillin-clavuronic acid ก็ใช้ได้สามวันเช่นกัน
เชื้อส่วนมากก็เชื้อในทางเดินปัสสาวะนั่นเอง E.coli, K.pneumoniae, enterococci ยาที่นิยมใช้คือ ofloxacin, ciprofloxacin, levofloxacin เป็นเวลาสามวัน นี่คือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแบบอาการไม่รุนแรง ไม่สงสัยการติดเชื้อดื้อยาหรือมีโครงสร้างผิดปกตินะครับ ในกรณีไม่แน่ใจก็มาฟังผลเพาะเชื้อและปรับยา
หรือยากลุ่ม beta lactam เช่น cefdinir, cefditoren, cefixime, amoxicillin-clavuronic acid ก็ใช้ได้สามวันเช่นกัน
หากมีการติดเชื้อซ้ำหรือติดเชื้อใหม่ต้องมาติดตามและหาสาเหตุ ไม่ว่ามีความผิดปกติโครงสร้าง ยาไม่เหมาะสม เชื้อดื้อยา หรือ มีปัจจัยเสี่ยงข้างต้นไม่แก้ไขสักที
เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก...วันนี้อินเนอร์ชั้นแร้งงงสสส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น