ใครแต่งงานแล้ว แต่ยังไม่มีลูก .. ไม่ต้องไปหาขนมจีนน้ำยาให้เมื่อยแล้ว วันนี้เรามาตรวจน้ำยากัน
ข่าวลงทั้ง CNN,BBC,FOXnews,NHS เกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านการตรวจอันใหม่ ลงพิมพ์ในวารสาร Science Translational Medicine โดยคณะนักวิจัยจากฮาร์วาร์ด เกี่ยวกับวิธีการวัดน้ำยา..วัดคุณภาพน้ำอสุจิโดยใช้สมาร์ทโฟน
วิธีมาตรฐานคือการวัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ และ การใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ (CASA) ในการศึกษานี้บอกว่าสองวิธีนี้ใช้เวลา ทักษะและทรัพยากร (ในไทยอาจไม่เปลืองเพราะไม่ค่อยมีใครตรวจ) จึงอาจเป็นอุปสรรคกับประเทศที่ยากจน
แต่อุปสรรคที่สำคัญยิ่งคือ กำแพงทางใจ เหล่าราชสีห์เหล่านั้งทั้งหลาย ไม่เคยคิดว่าเป็นเพราะตัวเองไม่มีคุณภาพ มักจะไปโทษปี่โทษกลอง งานยุ่ง เครียด อายุมาก อากาศร้อน แท็กซี่ขึ้นราคา และไม่ยอมไปตรวจด้วย กลัวว่าผลการตรวจจะออกมาว่า mai me num ya (คือคุณภาพอสุจิไม่ดี)
ตัวเลขออกมาว่า 45 ล้านคู่ ที่มีปัญหาการมีบุตรยาก กลุ่มนี้เกิดจากผู้ชาย 40% หรือคิดเป็น 12% ของประชากรผู้ชายทั้งโลก ที่มีปัญหามีบุตรยากจากน้ำอสุจิคุณภาพไม่ดี (ไม่น้อยนะครับ) ถ้ากลุ่มคนกลุ่มนี้ทราบปัญหาและได้แก้ไขโดยใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ ก็อาจแก้ไขปัญหาได้ครับ
ผู้วิจัยจึงได้คิดค้นแอนดรอยด์แอปพลิเคชั่น อุปกรณ์เสริมกล้องพิเศษ และแถบตรวจใช้แล้วทิ้ง เอามาใช้ตรวจสอบคุณภาพอสุจิที่สามารถทำได้ง่าย ราคาถูก หรือแม้แต่ทำเองตามคู่มือ เขาจึงทำการทดสอบความแม่นยำเทียบกับวิธีมาตรฐาน เทียบว่าผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทำกับคนทั่วไปทำตามคู่มือจะต่างกันไหม ด้วยกรรมวิธีที่ละเอียดมากครับ ผมทำลิงค์วารสารฉบับเต็มมาให้ด้านล่างนะครับ
วัดทั้งปริมาณ ความเข้มข้น การเคลื่อนที่ เทียบกันทั้งจากอสุจิแช่แข็งและอสุจิสดใหม่ โดยมาตรฐานการเก็บและละลายของ WHO ของชาย 25-45 ปีครับ
ผลปรากฏว่ามีความไว 98% จำเพาะเจาะจง 90% แม่นยำ 97% ไม่มีความแตกต่างกันของผู้ใช้ที่ได้รับการฝึกสอน และ ผู้ใช้ที่อ่านตามคู่มือ
สรุปว่าผลการทดสอบด้วยวิธีนี้ ทำได้ง่ายและแม่นยำครับ สามารถเข้าถึงคนที่มีปัญหาได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงเป็น start up อีกอย่างหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่ค่อยเกี่ยวกับอายุรศาสตร์เท่าไหร่ แต่ว่าพาดหัวใน health topic ของทุกๆสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ จึงลองไปอ่านมาเล่าสู่กันฟัง
แต่ไม่ได้บอกว่า ถ้าตรวจพบอสุจิไม่มีคุณภาพจะทำอย่างไรต่อไป คุณๆกวางน้อยคงต้องเลือกเอาว่าจะใช้เทคโลโลยีผสมเทียม หรือ...
...
... หาสิงโตตัวใหม่
http://stm.sciencemag.org/content/9/382/eaai7863/tab-pdf
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
เล่าเรื่องเชื้อดื้อยา มนุษย์เราได้มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมาตั้งแต่ยุคของอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง จนถึงปัจจุบันก็ยังต้องพัฒนาต่อไป เพร...
-
คำถามจากทางบ้าน : น้ำอสุจิมีมดตอม แบบนี้ เป็นเบาหวานไหม อย่างแรกคนที่ถามคำถามนี้เป็นสุภาพสตรี ต้องนับถือในความช่างสังเกตสิ่งรอบตัวจริง ๆ ค...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น