ถ้าคุณมีพรวิเศษ ไปคุยหรือไปเรียนกับปรมาจารย์ท่านใดก็ได้ในอดีต เป็นเวลาหนึ่งวัน หนึ่งคน คุณจะไปพบใคร
มิตรสหายได้ให้หนังสือเล่มนี้มาครับ 48 ปีแพทยสภา ภายในมีเรื่องราวของแพทย์ที่ได้รับยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของวงการแพทย์ไทย ผมเคยทำภาพนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง ตอนนั้นหาข้อมูลจนต้องหยอดตาเลย แต่ตอนนี้ทั้งหมดมาอยู่ในมือ...เศร้า.. เอาละ ช่างมัน ความรู้ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องหาเองครับ มีฟรีๆบ้างในเพจเวิ่นเว้อบางเพจแถวๆนี้
อย่างที่ผมตั้งคำถาม ผมมีตัวเลือกในใจเยอะมาก คัดออกมาแล้วก็ยังมาก นั่นคือ อาจารย์ประเสริฐ กังสดาลย์ (PK ของ อายุรแพทย์) ,อาจารย์วิกิจ วีรานุวัตติ์ แม้แต่ต่างชาติก็ยังอยากเรียนอยากคุย คือ Sir Wiliam Osler, Tinsley Harrison ในหนังสือเล่มนี้ ได้พบประวัติของ อาจารย์วีกิจ และ จึงเอามาฝากย่อๆครับ
อาจารย์วีกิจ อาจารย์เป็นเลิศทุกด้านครับ ตั้งแต่นักเรียนเหรียญทองจากเทพศิรินทร์ มายังมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ การได้เหรียญทองที่หนึ่งตลอดหลักสูตร ไม่ง่ายนะครับ กับการเรียนที่ยากลำบากในสมัยนั้น ท่านเป็นศิษย์ของอาจารย์ประเสริฐ วิลเลี่ยม ออสเลอร์ เมืองไทย เรียนอายุรศาสตร์ตั้งแต่จบ และไปต่อที่อเมริกา ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ได้รับเลือกเข้า delta omega society คือ กลุ่มเกียรติยศ ที่ทำงานและมีผลงานอย่างโดดเด่นด้านการสาธารณสุข ท่านกลับมาปั้น..หน่วยโรคทางเดินอาหาร คนเดียวตั้งแต่ต้น..เป็นปรมาจารย์ทางเดินอาหาร ริเริ่มการนำกล้องส่องตรวจมาใช้ในเมืองไทย ได้รับเกียรติยศเป็นแพทย์ไทยกิตติมศักดิ์คนแรกของราขวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน และ กลาสโกว์ เก่ามากและศักดิ์ศรีสูงมากครับ
ท่านเก่งเต้นรำ เล่นกีฬา โดยเฉพาะเทนนิส ร้องเพลง แต่งตำรา และที่เก่งที่สุดคือการสอนหนังสือและการสอนข้างเตียง อาจารย์หลายท่านบอกว่าเป็นการสอนที่วิจิตร ล้ำลึกแต่ง่ายดาย สนุกสนาน เกร็ดความรู้มากมาย และท่านก็เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ตัวผมเองไม่มีบุญพอจะได้เรียนกับท่าน ได้แต่ฟังอาจารย์เล่าให้ฟังต่อๆมา และอ่านในหนังสือเท่านั้น
ท่านได้เป็น หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ และได้เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 สิริอายุ 78 ปี ท่านถึงแก่อนิจกรรมตรงกับวันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช พอดี
ส่วนเรื่องราวของศาสตราจารย์ประเสริฐ กังสดาลย์ ขอเวลาค้นคว้าครับ ใครมีข้อมูลช่วยใจดีส่งมาให้จะขอบคุณเป็นอย่างสูง สำหรับ William Osler ตอนนี้ซื้อหนังสือจากอเมซอนมาสามเล่ม ขออ่านก่อนนะครับ แล้วจะทยอยมาเล่าให้ฟัง
แล้วคุณล่ะครับ..อยากไปพบ ไปคุย ไปเรียนกับใคร ในเวลาวิเศษ หนึ่งวัน
02 มีนาคม 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
เล่าเรื่องเชื้อดื้อยา มนุษย์เราได้มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมาตั้งแต่ยุคของอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง จนถึงปัจจุบันก็ยังต้องพัฒนาต่อไป เพร...
-
คำถามจากทางบ้าน : น้ำอสุจิมีมดตอม แบบนี้ เป็นเบาหวานไหม อย่างแรกคนที่ถามคำถามนี้เป็นสุภาพสตรี ต้องนับถือในความช่างสังเกตสิ่งรอบตัวจริง ๆ ค...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น