modified centor score เครื่องมือง่าย ๆ ที่ช่วยแยกการติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ ออกจากเชื้ออื่น ๆ
อย่างที่บอกหลายครั้ง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เกือบทั้งหมดเป็นไวรัส เรามีระบบคะแนนเซ็นทอร์ไว้เพื่อดูว่ารายใดไม่น่าใช่แบคทีเรีย หรือรายใด "น่าจะ เป็นเชื้อแบคทีเรีย
เรามาดูกันทีละข้อ
1. อุณหภูมิกายมากกว่า 38 องศาเซลเซียส คือ ตัวร้อนแบบจับก็รู้ครับ แบบครั่นตัว ไม่สบายตัว ตัวรุม ๆ แบบนี้ไม่นับนะ
2. ไม่มีอาการไอ หมายถึงไม่มีอาการไอ ไม่มีอาการน้ำมูกเป็นอาการเด่น อาจจะมีเล็กน้อยมากเท่านั้น
3. ทอนซิลบวมมาก แดง หรือ มีจุดหนองที่ทอนซิล อันนี้ส่องในกระจกก็พอเห็นได้ ความจริงแล้วมีหนอง นี่สำคัญมากเลยครับ
4. ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโต กดเจ็บ นับว่าโตคือตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไปครับ ใช้การคลำดูก็รู้ และอาจโตสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้
5. อายุ ให้คะแนนตามลำดับ จะเห็นว่าในผู้ใหญ่นั้น ส่วนมากเป็นศูนย์หรือติดลบนะครับ เพราะโอกาสติดแบคทีเรียในผู้ใหญ่มันน้อยครับ
แต่ละข้อให้หนึ่งคะแนน ส่วนอายุนั้นถ้าเกิน 44 ก็ติดลบหนึ่งด้วยนะ เมื่อรวมคะแนนแล้วถ้าไม่เกินหนึ่งคะแนน โอกาสเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียต่ำมากเลยครับ
ตามเกณฑ์นั้นถ้าคะแนนสองหรือสาม แนะนำให้เก็บสิ่งส่งตรวจลำคอไปตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรียแบบด่วน ถ้าเจอหลักฐานแบคทีเรียจึงรักษา จะเห็นว่าขนาดคะแนนสูงโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียยังไม่ถึงครึ่ง
แต่บ้านเราแทบไม่มีการตรวจ วิธีที่ผมแนะนำนะครับคือการติดตามอาการ เพราะหากติดตามอาการไปหลังจากเกิดไข้ 4-5 วัน จะแยกโรคได้แม่นยำ คะแนนจะเฉพาะเจาะจงสูง
ถึงแม้คะแนนตั้งแต่สี่คะแนน โอกาสติดเชื้อแบคทีเรียก็ประมาณ 50% เท่านั้น
ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถใช้ระบบคะแนนได้แพร่หลาย ให้ความรู้ให้คนไข้ยอมรับ ภาครัฐผลักดันนโยบาย และบรรดาผู้ประกอบวิชาชีพหันมาคิดและพูดภาษาเดียวกัน เราจะแก้ไขปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลได้แน่นอนครับ
อย่าลืมนะครับ สมัยหน้า เลือกลุงหมอ เบอร์ตอง จำง่าย บริการดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น