กดหน้าอกอย่างเดียว เวลาหยุดหายใจพอไหม..
เราได้รับข่าวการจากไปของนักร้องชื่อดังคุณ โจ บอยสเก๊าต์ เอาละเราก็จะไม่ไปพูดถึงว่าเขาป่วยหรือเสียชีวิตจากสาเหตุใด นั่นคงต้องได้รับการพิสูจน์ทางนิติเวชต่อไป แต่สิ่งที่อยากจะมาบอกวันนี้คือ เรื่องการช่วยชีวิตพื้นฐาน
เมื่อสัปดาห์ก่อน สมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกาได้พิมพ์แนวทางการช่วยชีวิตที่ปรับปรุงจากของปี 2015 และได้พูดถึงเรื่องนี้พอดี เรามาดูหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ออกมาแล้วกัน
เมื่อสัปดาห์ก่อน สมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกาได้พิมพ์แนวทางการช่วยชีวิตที่ปรับปรุงจากของปี 2015 และได้พูดถึงเรื่องนี้พอดี เรามาดูหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ออกมาแล้วกัน
คำถามที่สำคัญที่สุดคือ ถ้าเจอเหตุการณ์จริงๆ ต้องทำอย่างไร ...คำตอบคือสิ่งที่ต้องทำคือ ร้องขอความช่วยเหลือทันที จากคนรอบข้างหรือ 1669 ทันที และรีบประเมินและช่วยเหลือทันที การช่วยเหลือนั้นต้องอยู่ในที่ปลอดภัยด้วย ไม่ว่านำผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือออกมาจากที่ปลอดภัย ไม่ใช่ไปช่วยกันกลางถนนมอเตอร์เวย์ หรือบนทางรถไฟ
การขอความช่วยเหลือ หากมีคนรอบข้างให้คนรอบข้างช่วยเรียกด้วย
การขอความช่วยเหลือ หากมีคนรอบข้างให้คนรอบข้างช่วยเรียกด้วย
ถ้าเราไม่เคยมีประสบการณ์การช่วยเหลือมาก่อน ไม่ต้องคิดอะไรมาก ประสานมือกดหน้าอกอย่างเดียว ไม่ต้องช่วยหายใจที่สำคัญคือพยายามอย่าให้การกดหน้าอกถูกรบกวน ให้กดไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีคนที่เชี่ยวชาญกว่ามารับช่วงต่อ ในแนวทางปรับปรุงนั้นได้เน้นเรื่องนี้และให้ความสำคัญมาก
อ้าว...ไม่ต้องช่วยหายใจแล้วหรือ แนวทางปรับปรุงนี้บอกชัดเจน ถ้าช่วยไม่เป็นหรือไม่สะดวกในการช่วยหายใจ ไม่ต้องทำครับ การพยายามจะไปช่วยหายใจโดยทำให้การกดหน้าอกสะดุดหยุดลงมีผลเสียมากกว่าผลดี (Class I; Level of Evidence C-LD)
แล้วถ้าเคยฝึกช่วยชีวิต เคยฝึกช่วยหายใจมาก่อนล่ะ ต้องทำไหม.... ควรจะทำครับ จากคำแนะนำเป็นควรจะทำ เพราะถ้าทำได้จะมีประโยชน์มากกว่ากดหน้าอกอย่างเดียวนะครับ (Class IIa; Level of Evidence C-LD) ในอัตราส่วนกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับช่วยหายใจสองครั้ง
อ้าว...ไม่ต้องช่วยหายใจแล้วหรือ แนวทางปรับปรุงนี้บอกชัดเจน ถ้าช่วยไม่เป็นหรือไม่สะดวกในการช่วยหายใจ ไม่ต้องทำครับ การพยายามจะไปช่วยหายใจโดยทำให้การกดหน้าอกสะดุดหยุดลงมีผลเสียมากกว่าผลดี (Class I; Level of Evidence C-LD)
แล้วถ้าเคยฝึกช่วยชีวิต เคยฝึกช่วยหายใจมาก่อนล่ะ ต้องทำไหม.... ควรจะทำครับ จากคำแนะนำเป็นควรจะทำ เพราะถ้าทำได้จะมีประโยชน์มากกว่ากดหน้าอกอย่างเดียวนะครับ (Class IIa; Level of Evidence C-LD) ในอัตราส่วนกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับช่วยหายใจสองครั้ง
แม้กระทั่งเมื่อผู้เชี่ยวชาญกว่ามาถึงก็ยังแนะนำให้ช่วยหายใจสลับกดหน้าอกด้วยอัตราส่วน 30:2 ก่อนที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ
เอาล่ะเมื่อถึงมือผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าเขาก็จะจัดการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและช็อกไฟฟ้าถ้าช็อกได้ กดหน้าอกและช่วยหายใจ จนเมื่อใส่อุปกรณ์ท่อช่วยหายใจแล้วก็จะช่วยหายใจในอัตราส่วนสิบครั้งต่อนาที โดยที่ไม่หยุดกดหน้าอกเพื่อช่วยหายใจ
ประเด็นสำคัญคือ
ประเด็นสำคัญคือ
1.การกดหน้าอกไม่ควรจะถูกระงับสะดุดหยุดลงหากไม่จำเป็น
2.เข้าช่วยเหลือทันทีเมื่อเราไม่สามารถตรวจพบชีพจร
3.อย่าทำคนเดียวให้ขอความช่วยเหลือเสมอ
2.เข้าช่วยเหลือทันทีเมื่อเราไม่สามารถตรวจพบชีพจร
3.อย่าทำคนเดียวให้ขอความช่วยเหลือเสมอ
สุดท้ายนี้ ผลประโยชน์ใดๆจากบทความนี้ ขออุทิศให้แด่คุณธเนศ ฉิมท้วม หรือ "โจ บอยสเก๊าต์" ของพวกเราครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น