ก้อนที่เห็น อาจไม่ใช่ ก้อนที่เป็น ... เรื่องราวของ Incidentalomas
incidentaloma คือ ก้อนที่พบโดยบังเอิญ หรือก้อนที่พบแต่ว่าไม่สามารถอธิบายโรคที่เกิดได้ หลายครั้งที่พบก้อนนี้แล้วเกิดคำถาม ยกตัวอย่างเช่นการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องเพื่อดูตับแล้วไปพบก้อนที่ต่อมหมวกไต หรือการทำเอ็มอาร์ไอหัวใจแล้วไปเจอก้อนที่ปอด
คำถามที่ว่าคือ ก้อนนั้นคืออะไร ร้ายแรงไหม จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ถ้าตรวจจะใช้วิธีใด คุ้มค่าไหม โอ...คำถามมากมาย และยังไม่นับความไม่สบายใจของคนไข้อีก
คำถามที่ว่าคือ ก้อนนั้นคืออะไร ร้ายแรงไหม จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ถ้าตรวจจะใช้วิธีใด คุ้มค่าไหม โอ...คำถามมากมาย และยังไม่นับความไม่สบายใจของคนไข้อีก
สุดท้ายปลายทางมักจะได้ทำการสืบค้นที่ราคาแพง เจ็บตัว ประโยชน์น้อย บางทีเกิดผลข้างเคียงอีกด้วย
ก่อนจะไปดูสรุปการศึกษา เรามาตั้งแนวคิดใหม่ก่อนว่า ข้อมูลจากประวัติ การตรวจร่างกายและความเสี่ยงต่างๆ เราคิดถึงการวินิจฉัยอะไรตามลำดับความน่าจะเป็น และจะส่งตรวจเพื่อหาคำตอบที่ยังสงสัยหรือยืนยันสิ่งนั้น
ดังนั้น หากสิ่งที่ได้มาจากการตรวจไม่ได้อยู่ในเขตที่เราสนใจ โอกาสที่จะไม่ได้เป็นโรคจะสูงขึ้น ถึงสูงมาก การไปตรวจอะไรเพิ่มจึงไม่ได้เพิ่ม ..ความถูกต้องในการวินิจฉัยเลย
ดังนั้น หากสิ่งที่ได้มาจากการตรวจไม่ได้อยู่ในเขตที่เราสนใจ โอกาสที่จะไม่ได้เป็นโรคจะสูงขึ้น ถึงสูงมาก การไปตรวจอะไรเพิ่มจึงไม่ได้เพิ่ม ..ความถูกต้องในการวินิจฉัยเลย
เรียกว่าการสืบค้นทั้งหลาย รวมทั้งเอ็กซเรย์นั้นต้องแปลผล "ประกอบ" กับประวัติและตรวจร่างกายเสมอ หากบังเอิญเจอก้อน ข้อมูลจากการสรุปของสรุปงานวิจัยอีกทีนึงเป็นอย่างไร เรามาดูกัน
1. โอกาสที่จะพบก้อนโดยบังเอิญ มีไม่มากนัก เอ็กซเรย์ธรรมดามักไม่ค่อยพบ จะพบบ่อยในการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ทั้ง CT scan และ MRI รวมไปถึง PET CT scan การฉีดน้ำตาลกัมมันตภาพรังสีแล้วถ่ายภาพการทำงานของร่างกาย เนื่องจากการถ่ายภาพพวกนี้ละเอียดสูง โอกาสเจอสิ่งแปลกปลอมที่ไม่เป็นโรคที่เราสนใจจึงเยอะขึ้น
และอัตราพบก็ขึ้นกับพื้นที่ที่เราทำการตรวจ ยกตัวอย่าง ถ้าเราไปเอ็กซเรย์แขนโอกาสจะพบก้อนอื่นๆก็น้อยกว่าช่องท้องจริงไหมครับ อวัยวะในช่องท้องมันมากกว่านั่นเอง
โอกาสพบหลากหลายตั้งแต่ 2%-45% สูงสุดคือการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก ตามมาด้วยการเอ็กซเรย์ลำไส้ใหญ่ ส่วนการทำเอ็กซเรย์ไฮเทคแบบ PET จะมุ่งดูก้อนที่ผิดปกติจริงๆ โอกาสเจอก้อนโดยบังเอิญก็ลดลงเหลือ 2%-4%
และอัตราพบก็ขึ้นกับพื้นที่ที่เราทำการตรวจ ยกตัวอย่าง ถ้าเราไปเอ็กซเรย์แขนโอกาสจะพบก้อนอื่นๆก็น้อยกว่าช่องท้องจริงไหมครับ อวัยวะในช่องท้องมันมากกว่านั่นเอง
โอกาสพบหลากหลายตั้งแต่ 2%-45% สูงสุดคือการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก ตามมาด้วยการเอ็กซเรย์ลำไส้ใหญ่ ส่วนการทำเอ็กซเรย์ไฮเทคแบบ PET จะมุ่งดูก้อนที่ผิดปกติจริงๆ โอกาสเจอก้อนโดยบังเอิญก็ลดลงเหลือ 2%-4%
2. แล้วโอกาสที่ก้อนที่พบจะเป็นเนื้อร้ายมากแค่ไหน การศึกษาก็รวบรวมก้อนที่พิสูจน์แล้วมาเทียบสัดส่วนกับก้อนที่พบโดยบังเอิญนี้ พบว่าโอกาสเป็นมะเร็งก็ไม่เท่ากัน มากที่สุดคือก้อนที่เต้านมมีโอกาสเป็นมะเร็งประมาณ 40% (ไม่ถึงครึ่งนะครับ ถ้าคิดว่ามาจากโอกาสตรวจพบที่น้อยมากแล้ว โอกาสเจอมะเร็งในการตรวจพบที่น้อยๆก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก) ตามมาด้วย รังไข่ ต่อมลูกหมากและลำไส้ใหญ่ ในระดับไม่เกิน 30%
ส่วนอวัยวะอื่นๆ โอกาสตรวจพบก้อนโดยบังเอิญก็น้อยมาก และโอกาสเป็นมะเร็งยิ่งน้อยลงในระดับไม่ถึง 10% เช่นต่อมหมวกไต สมอง ไทรอยด์
ส่วนอวัยวะอื่นๆ โอกาสตรวจพบก้อนโดยบังเอิญก็น้อยมาก และโอกาสเป็นมะเร็งยิ่งน้อยลงในระดับไม่ถึง 10% เช่นต่อมหมวกไต สมอง ไทรอยด์
แต่การศึกษานี้ยังหลากหลายและแปรปรวนมาก การทำ umbrella analysis คือวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์รวม อีกที (เพราะโอกาสเกิดโรคมันก็น้อยมากๆ) ดังนั้นเรามาวิเคราะห์สิ่งที่แปรปรวนมากซ้ำอีก มันจะขยายผลความแปรปรวนมากขึ้น
ในทางปฏิบัติ คุณหมออาจเลือกติดตามอาการ ตรวจซ้ำในเวลาต่อมา ซักประวัติหาข้อมูลอื่นสนับสนุน หรือใช้วิธีอื่นตรวจก็ได้ ในรายที่สงสัยมากก็อาจต้องตรวจชิ้นเนื้อ (จะมีไม่มาก) แต่ว่าจริงๆคนไข้จะวิตกกังวลสูงมาก คนไข้อาจไปตรวจอีกหลายที่เพื่อเทียบกัน (มันก็เจอทุกที่แหละครับก็มันก้อนของจริง) การตรวจวิธีเดียวกันหลายสิบครั้งไม่สามารถแยกโรคที่เป็นอันตรายออกจากกันได้นะครับ
ปัจจุบันมีแนวทางทางเวชปฏิบัติเรื่องการดูแลก้อนโดยบังเอิญนี้มากมายว่าจะทำอย่างไร จะได้ไม่ตกใจและตรวจเพิ่มโดยไม่จำเป็นมากนัก
ปัจจุบันมีแนวทางทางเวชปฏิบัติเรื่องการดูแลก้อนโดยบังเอิญนี้มากมายว่าจะทำอย่างไร จะได้ไม่ตกใจและตรวจเพิ่มโดยไม่จำเป็นมากนัก
อีกอย่างคือการตรวจสืบค้นโดยไม่จำเป็น ไม่สัมพันธ์กับอาการ หรือไม่ได้คิดไว้ก่อนว่าตรวจพบจะทำอย่างไร หรือตรวจไม่พบแปลความว่าอย่างไร ต้องลดการตรวจอันไม่จำเป็นลงไปด้วยครับ
สรุปว่า โอกาสพบก้อนโดยบังเอิญไม่มากมายเท่าไร และที่พบโอกาสเป็นมะเร็งก็น้อยมากเสียด้วย การตรวจหว่านแหทุกอย่างนอกจากไม่เกิดประโยชน์แล้วยังทำให้เครียดและต้องตรวจเพิ่มเติมอีกมากมายด้วยครับ
สามารถโหลดวารสารต้นฉบับไปศึกษาต่อได้ครับ
O’Sullivan Jack W, Muntinga Tim, Grigg Sam, Ioannidis John P A. Prevalence and outcomes of incidental imaging findings: umbrella review BMJ 2018;361 :k2387
O’Sullivan Jack W, Muntinga Tim, Grigg Sam, Ioannidis John P A. Prevalence and outcomes of incidental imaging findings: umbrella review BMJ 2018;361 :k2387
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น