ฝากคุณพยาบาลทุกท่าน เกี่ยวกับการหล่อสายหลอดเลือดดำ ใช้อะไรดี heparin หรือ normal saline ใส่ก็ยาก เดี๋ยวตันขึ้นมาคุณหมอดุๆก็จะทำตาเขียวใส่ (อาทิ แอดมินเพจ infectious ง่ายนิดเดียว 555 ..อย่าไปบอกเขานะครับ) จะใช้เฮปาริน เลือดจะออกไหม ติดเชื้อรึเปล่า
มาลองฟังสรุปดีๆ จากบอสนะครับ
มาลองฟังสรุปดีๆ จากบอสนะครับ
มีการศึกษาแบบ meta-analysis คือนำการศึกษาที่มีลักษณะคล้ายกันมาวิเคราะห์รวมเพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างทำให้น้ำหนักของการศึกษามากขึ้น เกี่ยวกับการใช้เฮปารินหรือน้ำเกลือในการล็อกสายสวนหลอดเลือดดำ จากการรวบรวม 11 การศึกษา (RCTs) ที่เข้าเกณฑ์จำนวน 2,392 ราย
** การศึกษาแม้จะรูปแบบคล้ายกัน การกระจายตัวของข้อมูลไม่มาก แต่ว่าในการเก็บข้อมูลเรื่องเฮปารินนั้นมีความแปรปรวนมาก จากความเข้มข้นของเฮปารินที่ต่างกันมากในแต่ละการศึกษา**
พบว่า ในกลุ่มที่ใช้เฮปารินในการล็อกสาย มีการอุดตันน้อยกว่ากลุ่มใช้น้ำเกลือ 30% ระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็นการใส่สายฟอกเลือด การใส่สายเพื่อให้สารน้ำ การใส่สายเพื่อวัดค่าต่างๆ ไม่ได้แตกต่างกันนัก ผลออกมาไปทางเดียวกันคือ การใช้เฮปารินล็อกสายจะตันน้อยกว่า
และถ้ามาดูว่า ใช้สารใดล็อกสายจะใช้งานสายได้นานกว่า พบว่าการใช้เฮปารินล็อกสาย ทำให้สายยังคงสภาพใช้งานได้นานกว่าการใช้น้ำเกลือเล็กน้อย (ประมาณหนึ่งวัน) แต่ก็มีนัยสำคัญทางสถิติ
และถ้ามาดูว่า ใช้สารใดล็อกสายจะใช้งานสายได้นานกว่า พบว่าการใช้เฮปารินล็อกสาย ทำให้สายยังคงสภาพใช้งานได้นานกว่าการใช้น้ำเกลือเล็กน้อย (ประมาณหนึ่งวัน) แต่ก็มีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษาสองอย่างนี้เป็นผลการศึกษาหลักที่สนใจ แม้ว่าจะมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานที่คุณภาพสูงและหนักแน่น เพราะยังมีความแปรปรวนเรื่อง ปริมาณเฮปารินที่ใช้นั่นเอง หากมาคำนวณว่า ต้องใช้เฮปารินกี่คนจึงจะเกิดประโยชน์ลดการอุดตันและเพิ่มความคงสภาพของสาย พบว่าต้องใช้เฮปารินหล่อสาย 42 คนจึงจะได้ประโยชน์หนึ่งคน ตรงนี้เอาไปคิดเรื่องความคุ้มค่าคุ้มทุนได้
ผลการศึกษารอง คือ การติดเชื้อจากสายสวนและอัตราการเสียชีวิต พบว่ากลุ่มเฮปารินพบน้อยกว่าแต่ว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลข้างเคียงเรื่องเลือดออกจากการใช้เฮปารินและเกล็ดเลือดต่ำจากการใช้เฮปาริน พบว่าต่างกันเล็กน้อยและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน
สรุปว่าผลการศึกษารองเรื่องความปลอดภัย ไม่ได้ต่างกันมากนัก
สรุปว่าผลการศึกษารองเรื่องความปลอดภัย ไม่ได้ต่างกันมากนัก
แม้งานวิจัยแต่ละอันจะยังมีคุณภาพไม่สมบูรณ์แบบนัก เมื่อนำมารวมกันและวิเคราะห์แบบเป็นระบบก็พบว่า การใช้เฮปารินหล่อสายยังมีประโยชน์สูงกว่าในแง่ป้องกันการอุดตัน โดยผลเสียไม่ได้แย่ไปกว่าการใช้น้ำเกลือ
เป็นหนึ่งในข้อมูลที่จะนำมาคิดประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติว่าจะออกนโยบายหรือมาตรการการหล่อสายสวนอย่างไร โดยต้องไปคิดรวมกับ ราคาเฮปาริน โอกาสจะเกิดข้อผิดพลาดจากการใช้ยา (เช่น ลืมดูดสารหล่อสายออกก่อนให้สารน้ำ คือ การใส่เฮปารินเข้าไปในร่างกายนั่นเอง) จำนวนคนไข้ที่ใช้สายสวนหลอดเลือดดำของแต่ละที่ นำมาคิดประกอบกันด้วยนะครับ
เป็นหนึ่งในข้อมูลที่จะนำมาคิดประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติว่าจะออกนโยบายหรือมาตรการการหล่อสายสวนอย่างไร โดยต้องไปคิดรวมกับ ราคาเฮปาริน โอกาสจะเกิดข้อผิดพลาดจากการใช้ยา (เช่น ลืมดูดสารหล่อสายออกก่อนให้สารน้ำ คือ การใส่เฮปารินเข้าไปในร่างกายนั่นเอง) จำนวนคนไข้ที่ใช้สายสวนหลอดเลือดดำของแต่ละที่ นำมาคิดประกอบกันด้วยนะครับ
การศึกษานี้เป็นการต่อยอดจากการวิเคราะห์แบบเดียวกัน 6 การศึกษาของผู้วิจัยคนเดียวกันนี้เมื่อปี 2014 ก็ยังได้คำตอบคล้ายๆเดิม
สามารถไปติดตามอ่านวารสารฉบับเต็มได้ที่นี่ (เสียเงินนะครับ)
López-Briz E, Ruiz Garcia V, Cabello JB, Bort-Martí S, Carbonell Sanchis R, Burls A. Heparin versus 0.9% sodium chloride locking for prevention of occlusion in central venous catheters in adults. Cochrane Database of Systematic Reviews2018, Issue 7. Art. No.: CD008462. DOI: 10.1002/14651858.CD008462.pub3
López-Briz E, Ruiz Garcia V, Cabello JB, Bort-Martí S, Carbonell Sanchis R, Burls A. Heparin versus 0.9% sodium chloride locking for prevention of occlusion in central venous catheters in adults. Cochrane Database of Systematic Reviews2018, Issue 7. Art. No.: CD008462. DOI: 10.1002/14651858.CD008462.pub3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น