28 สิงหาคม 2561

การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (cesarean delivery) กับการใช้ยาฆ่าเชื้อ

การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (cesarean delivery) กับการใช้ยาฆ่าเชื้อ
ในยุคที่การผ่าตัดคลอดเกิดมากขึ้น เราชาวอายุรศาสตร์ก็แอบไปอ่านแนวทางของทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยามาด้วย เรื่องการให้ยาก่อนผ่า
ทำไมต้องให้ยาก่อนผ่า การผ่าตัดแม้ไม่ได้ผ่านเข้าไปในลำไส้แต่ก็มีโอกาสที่เชื้อเฉพาะถิ่นในช่องคลอดจะแพร่ขึ้นมาได้ เพื่อลดการติดเชื้อหลังผ่าตัด ทางสมาคมสูติศาสตร์อเมริกาได้แนะนำการใช้สารฆ่าเชื้อจาก alcohol หรือ chlorhexidine ทาหน้าท้องก่อนผ่า และให้ยาฆ่าเชื้อ cefazolin หรือ cefoxitin ขนาดหนึ่งกรัมก่อนผ่าตัด หรือหากแพ้ยากลุ่ม penicillins /cephalosporins ก็ใช้ยา clindamycin กับ gentamicin ก่อนผ่าได้
(ถ้าน้ำหนักเกิน 80 กิโลกรัม "อาจจะ" ใช้ขนาดสองกรัม และหากผ่าตัดยาวนานหรือเสียเลือดมาก "อาจจะ" เพิ่มการให้ยาอีกหนึ่งครั้ง)
ใช้ chlorhexidine ความเข้มข้นต่ำทำความสะอาดช่องคลอด ในกรณีปวดท้องคลอดหรือน้ำเดินก่อน
มีการใช้ azithromycin 500 มิลลิกรัมทางหลอดเลือด หลังตัดสายสะดือว่าช่วยลดอัตราการติดเชื้อ แต่เป็นการศึกษาที่เดียว แม้เป็น RCTs ระดับคำแนะนำเป็นอาจจะใช้ได้
สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจที่จำเป็นต้องป้องกันการติดเชื้อของลิ้นหัวใจ ... ตรงนี้เป็นเกณฑ์ที่ต้องท่องจำได้นะครับ เกณฑ์ของ ACC/AHA ที่ผมทำลิงค์เรื่อง adult congenital heart disease ให้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะใช้อ้างอิงไปทุกแนวทาง... ตามแนวทางนั้นหัตถการทางสูติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องให้ยา แต่ทาง ACOG ให้คำแนะนำระดับ expert opinion ว่าควรให้ยา ในกรณีลิ้นหัวใจเทียมหรือโรคหัวใจแต่กำเนิดแบบเขียว เพราะกลุ่มนี้จะเกิดอันตรายต่อหัวใจมาก ยาก็ตัวเดียวกันกับการป้องกันตามปรกติ (ดูงงๆ ดีปรกติก็ให้อยู่แล้ว)
มีอีกหลายคำแนะนำครับ สามารถตามไปอ่านจากลิ้งค์นี้ แต่วารสารฉบับเต็มต้องลงทะเบียนนะครับ และขอขอบคุณเพจ OBG social conference ต้นเรื่องน่าสนใจนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม