ค่าการกรอง ใช้ปรับขนาดยาด้วย ไม่ใช่แค่วินิจฉัยไตเสื่อม
ยาที่ต้องขับออกทางไต เมื่อค่าการกรองลดลง ยาจะถูกกรองออกลดลงและอยู่ในร่างกายเรายาวนานขึ้น อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องดี เพราะสิ่งที่สำคัญคือมันจะเกินขนาดต่างหาก เช่นเราให้ยาฆ่าเชื้อตัวหนึ่ง ขนาด a มิลลิกรัม ทุกๆ b ชั่วโมง ขนาดยานี้คือคนที่มีการกรองปรกติ (แค่เกิน 60 มิลลิลิตรต่อนาทีเราก็ค่อนข้างโล่งอก) แต่หากการกรองลดลง เราอาจต้องให้ยาน้อยกว่า a มิลลิกรัม หรือลดความถี่การให้ยา หรือทำทั้งสองอย่าง
เพื่อให้เห็นภาพ ตัวอย่างการให้ยาฆ่าเชื้อ imipenem ในขนาดการทำงานของไตปรกติคือ 500 มิลลิกรัมทุก 6 ชั่วโมง แต่ถ้าค่าการกรอง Creatinine clearance (ประมาณเท่า eGFR ค่าการกรอง) ลดลงเหลือน้อยกว่า 10 มิลลิลิตรต่อนาที ขนาดยาจะลดลงเหลือ 125-250 มิลลิกรัม และให้ด้วยความถี่ลดลงเป็นทุก 12 ชั่วโมง
หากเราให้ยาด้วยขนาดและความถี่เดิม ยายังไม่ทันถูกกรองออก ก็เติมใหม่เข้าไปอีก ประโยชน์ของยาไม่ได้เพิ่มมากนัก แต่จะมีผลข้างเคียงมากขึ้นครับ
หากเราให้ยาด้วยขนาดและความถี่เดิม ยายังไม่ทันถูกกรองออก ก็เติมใหม่เข้าไปอีก ประโยชน์ของยาไม่ได้เพิ่มมากนัก แต่จะมีผลข้างเคียงมากขึ้นครับ
ไม่ใช่แค่ยาฆ่าเชื้อ ยาหลายชนิดก็ต้องปรับ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด dabigatran, apixaban ยาลดไขมัน simvastatin, atorvastatin ยาลดกรดยูริก allopurinol ทั้งหมดเป็นแค่ตัวอย่าง ยังมียาอีกหลายชนิดที่ต้องปรับลดเมื่อการทำงานของไตลดลง
อย่างที่เราอ่านเรื่องการกรองของไตไปก่อนหน้านี้ ว่าค่าการกรองไม่ใช่แค่ค่าผลเลือดครีอะตินีน ต้องเข้าสมการคำนวณออกมา หนึ่งในปัจจัยสำคัญคืออายุ หากเข้าสมการคำนวณจะเห็นว่าในขณะที่ยังหนุ่มแน่น อายุ 40 ปี ค่าครีอะตินีน 1.0 ทำเป็นค่า eGFR จะยังไม่ต่ำ แต่เมื่อคุณอายุมากขึ้น 70 ปี ค่าครีอะตินีนเท่ากับหนึ่งเหมือนเดิมนี้ เมื่อคำนวณแล้วค่า eGFR จะลดลงมหาศาลเลยทีเดียว
การใช้ค่า eGFR ค่าการกรองของไตจึงมีความสำคัญครับ
ก่อนหน้านี้เคยเขียนบทความกึ่งๆวิชาการไปว่าการปรับยาในผู้ป่วยไตเสื่อมควรทำอย่างไร อ่านได้ที่ลิงค์ครับ ส่วนบทนี้จะอธิบายง่ายๆ ไม่วุ่นวายนัก
ลิงค์ไปที่บทความเดิม ออกจะวิชาการนะครับ
http://medicine4layman.blogspot.com/2016/…/blog-post_22.html
http://medicine4layman.blogspot.com/2016/…/blog-post_22.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น