หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงของแนวทางการกู้ชีพปี 2020 คือ ให้ epinephrine ให้เร็วที่สุด
ตามแนวทางการช่วยเหลือ ให้ทำการกดหน้าอก และอาจช่วยหายใจถ้าทำได้ แต่การกดหน้าอกสำคัญกว่า และเมื่อเครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้ามาถึง ให้ทำการช็อกหัวใจทันทีและกู้ชีพต่อไป รวมทั้งให้สารน้ำและ "ให้ยาอีพิเนฟรีนทันที"
แต่หากใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าตรวจดูแล้ว เป็นคลื่นไฟฟ้าที่ช็อกไม่ได้ ให้รีบ"ฉีดอิพิเนฟรีนทันทีให้เร็วที่สุด"
การให้ยาอิพิเนฟรีนให้เร็วที่สุด จึงมีความสำคัญมากในการกู้ชีวิต รถฉุกเฉินทุกคัน จุดให้ยาทุกจุดในโรงพยาบาลจะมีอิพิเนฟรีนพร้อมใช้เสมอ ในขนาดความเข้มข้น 1:1000 หลอดละ 1 ซีซี หักแล้วใช้ได้เลย ให้ทางหลอดเลือดดีที่สุด ต่อมาคือให้ทางกระดูก ส่วนการให้ทางท่อช่วยหายใจ ใข้เมื่อหมดหนทางเท่านั้น และใช้ครั้งละ 1 ซีซี อาจผสมน้ำเพื่อให้ฉีดคล่อง แต่ละครั้งของการฉีดไม่ต้องให้มากกว่านี้ ไม่เกิดประโยชน์
ทำไมการให้ยาอีพิเนฟรีนจึงสำคัญขนาดนี้
การศึกษาสำคัญคือการศึกษา PARAMEDIC 2 ที่เปรียบเทียบการให้อิพิเนฟรีนนอกโรงพยาบาล กับยังไม่ให้ พบว่าแม้อัตราการเสียชีวิตและผลทางระบบสมองจะไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ Return Of Spontaneous Circulation การกลับมาทำงานของระบบไหลเวียนเลือดโดยไม่ต้องช่วย จะมีโอกาสสูงกว่าในกลุ่มให้ยาอิพิเนฟรีนเร็ว
มีการวิเคราะห์ผลการศึกษาทั้งการรายงานเคส การเฝ้าสังเกตหลายการศึกษา เห็นตรงกันว่า การให้ยาอิพิเนรีนเร็ว จะช่วยเพิ่มโอกาส ROSC อย่างชัดเจน ทุกการศึกษาจะให้ยาอิพิเนรีนทันทีที่ทราบว่า ไม่สามารถช็อกหัวใจได้ หรือให้ทันทีเมื่อช็อกหัวใจเสร็จ โดยเฉพาะการให้ยาตั้งแต่ก่อนมาถึงโรงพยาบาล
แม้ผลเรื่องอัตราการรอด หรือ ผลลัพธ์ทางระบบประสาทและสมอง ว่าจะฟื้นสภาพหรือไม่ ผลอันนี้ดูไม่ต่างกันในกลุ่มให้ยาทันที ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล เพราะมันมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง แต่หากเราสามารถทำให้เกิด ROSC ได้เร็ว โอกาสจะช่วยให้สำเร็จต่อไปจะเพิ่มขึ้น
ในแนวทางการกู้ชีพ 2020 จึงเขียนไว้ชัดเจนว่า ให้ epinephrine "as soon as possible"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น