มารู้จักระบบการรายงานก้อนไทรอยด์ตามเกณฑ์ของ American Colleges of Radiology ระบบ thyroid imaging report and data system (TI-RADS)
ระบบนี้สร้างขึ้นเพื่อประเมินก้อนไทรอยด์ด้วยวิธีทึ่ไม่รุกล้ำก่อน และได้ทำวิจัยเพื่อเทียบภาพที่เห็นกับลักษณะทางพยาธิวิทยาที่ได้จากการเจาะตรวจก้อน ว่ามีความสัมพันธ์กันแบบใด และการทำอัลตร้าซาวด์จะ "ช่วย" การตัดสินใจรักษาและพยากรณ์โรคอย่างไร แต่การตัดสินใจสุดท้ายคงต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ
การตรวจและรายงานนี้ใช้การทำอัลตร้าซาวนด์ เพื่อประเมินลักษณะของก้อนว่าเนื้อในเป็นอย่างไร รูปร่าง ขอบเขต การสะท้อนคลื่นเสียง มาคำนวณระดับคะแนน 1-5 (TI-RADS 1-5)
TR 1 : benign เป็นเนื้องอกแบบไม่ร้ายแรง
TR 2: ไม่สงสัยเนื้อร้าย
TR 3: สงสัยเนื้อร้าย ระดับเล็กน้อย
TR 4: สงสัยเนื้อร้าย ระดับปานกลาง
TR 5: สงสัยเนื้อร้าย ระดับอย่างยิ่ง
โดยคำแนะนำของ ACR คือ
TR 1 และ TR 2 : ยังไม่ต้องเจาะก้อนตรวจ
TR 3 หากก้อนขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตรให้เจาะตรวจ หากขนาดเกิน 1.5 แต่ไม่ถึง 2.5 เซนติเมตร ให้ติดตามที่ 1, 3 และ 5 ปี
TR 4 หากก้อนใหญ่กว่า 1.5 เซนติเมตรให้เจาะตรวจ หากก้อนใหญ่กว่า 1.0 เซนติเมตรและไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร ให้ติดตามที่ 1,2,3 และ 5 ปี
TR 5 หากก้อนขนาดใหญ่กว่า 1.0 เซนติเมตรให้เจาะตรวจ หากก้อนใหญ่กว่า 0.5 เซนติเมตรและไม่เกิน 1 เซนติเมตร ให้ติดตามทุกปีจนครบ 5 ปี
โดยติดตามไปหากขนาดก้อนเพิ่มมากกว่าเดิม 20% หรือปริมาตรเพิ่มจากเดิม 50% ถือว่ามีนัยสำคัญคงต้องเจาะตรวจ
เป็นหนึ่งในข้อมูลที่นำมาช่วยตัดสินใจการดูแลรักษาก้อนไทรอยด์ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น