ตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านคงได้ยินข่าวนักฟุตบอลอาชีพเสียชีวิตกระทันหัน บรูโน่ โบบัน ที่ถูกบอลอัดเสียชีวิต ท่านคงจะประหลาดใจว่านักฟุตบอลอาชีพที่ร่างกายฟิตอย่างดี อาหารเป็นเลิศ เหตุใดจึงเกิดโรคแบบนี้ขึ้นมาได้ และยังมีเหตุการณ์แบบนี้มีพอสมควรในอดีต
เรื่องราวทั้งหมดผมก็อ่านมาและมาปะติดปะต่อกัน ใครอยากทราบของจริงคงต้องไปดูผลการตรวจ ผลการชันสูตรจริงๆนะครับ
เรื่องราวทั้งหมดผมก็อ่านมาและมาปะติดปะต่อกัน ใครอยากทราบของจริงคงต้องไปดูผลการตรวจ ผลการชันสูตรจริงๆนะครับ
เรามาว่าถึงเจ้าหนุ่มโบบัน นักเตะชาวโครแอตที่รายงานข่าวว่าถูกบอลอัดกระแทกอกแล้วเสียชีวิต เหตุการณ์แบบนี้มีจริงนะครับเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า commotio cordis
คือปรากฏการณ์ที่มีวัตถุไม่มีคม พุ่งเข้ามากระแทกทรวงอกด้วยความแรงและเร็ว และกระแทกในชั่วเสี้ยววินาที ประมาณความเร็วที่ 30-50 เมตรต่อวินาที หรือ ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาช่วงสั้นๆ 10 milliseconds หรือ หนึ่งในร้อยวินาที เข้าสู่จุดเล็กๆพื้นที่เล็กๆ บริเวณหน้าอก
ด้วยความที่แรงและเร็ว ก็จะเกิดโมเมนตัมมหาศาลส่งผ่านพื้นที่เล็กๆในเวลาสั้นๆ ก็จะส่งแรงลงไปด้านล่าง หากบังเอิญแนวแรงไปตรงกับผนังหัวใจที่อยู่ชิดด้านหน้ามากสุดคือหัวใจห้องล่างซ้าย
ด้วยความที่แรงและเร็ว ก็จะเกิดโมเมนตัมมหาศาลส่งผ่านพื้นที่เล็กๆในเวลาสั้นๆ ก็จะส่งแรงลงไปด้านล่าง หากบังเอิญแนวแรงไปตรงกับผนังหัวใจที่อยู่ชิดด้านหน้ามากสุดคือหัวใจห้องล่างซ้าย
และหากไปกระแทกตรงจังหวะที่หัวใจคลายตัวในระยะต้น ตรงกับช่วงสั้นก่อนที่ T wave จะปรากฏไปจนถึงเริ่มต้นของ T wave แรงกระแทกเฉียบพลันนั้นจะทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ..แวบ..แรงมาก ไปเกิดจังหวะที่หัวใจจะคลายตัว เกิดเป็นความสับสนหัวใจ สามารถเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ ventricular tachycardia หรือ ventricular fibrillation หากช่วยไม่ทันก็เสียชีวิตได้ จะเกิดทันทีเมื่อถูกกระแทกหรืออีกสี่ห้านาทีหลังจากนั้นก็ได้
จะเห็นว่าไม่ได้เกิดง่ายๆนะครับ ต้นแบบคือลูกเบสบอลที่อัดเข้าหน้าอก และกีฬาที่พบบ่อยที่สุดคือเบสบอลนี่เอง แม้แต่ชกมวย ฟุตบอลก็เกิดน้อย เพราะต้องเร็ว แรง และเป็นจุดเล็กๆ (แรงกระทำต่อพื้นที่จะสูงมาก)
หากเกิดจริงก็ต้องใช้การกู้ชีวิต ช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าให้ทันเวลา มีความคิดการใช้เกราะอ่อนใส่ปกป้องในหลายๆชนิดกีฬา แต่ว่าก็ยังไม่มีบทพิสูจน์ว่าการใส่เกราะจะลดอัตราการเกิดโรคนี้ การใส่เกราะอ่อนจึงยังไม่เป็นข้อกำหนดและที่นิยม
หากเกิดจริงก็ต้องใช้การกู้ชีวิต ช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าให้ทันเวลา มีความคิดการใช้เกราะอ่อนใส่ปกป้องในหลายๆชนิดกีฬา แต่ว่าก็ยังไม่มีบทพิสูจน์ว่าการใส่เกราะจะลดอัตราการเกิดโรคนี้ การใส่เกราะอ่อนจึงยังไม่เป็นข้อกำหนดและที่นิยม
...แต่ว่าไม่ใช่เกราะอ่อน ที่สาวๆชอบใส่เพื่อป้องกัน commotio cordis ที่มักจะทำจากฟองน้ำนะครับ...
อ่านเรื่อง commotio cordis ได้ที่นี่
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra0910111
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra0910111
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น