ติดบุหรี่...เป็นมะเร็ง...รหัสพันธุกรรม
บุหรี่ส่งสารเผาไหม้ น้ำมันดิน โลหะหนัก สารก่อมะเร็ง เข้าสู่ปอดผู้สูบและคนรอบข้าง ส่งผลก่อมะเร็งและโรคร้ายต่างๆ ส่งนิโคตินเข้าสู่สมองเพื่อให้ผู้สูบติดบุหรี่ บริโภคควันและนิโคตินต่อไปอย่างไม่จบสิ้น แต่ทุกคนก็ไม่ได้อยู่ในกฏนี้ 100%
ความก้าวหน้าทางวิชาการโดยเฉพาะเรื่องรหัสพันธุกรรม ช่วยให้เราไขปริศนาโรคต่างๆได้มากมาย แต่ละคนมีรหัสต่างๆกัน ก็จะมีแนวโน้ม มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน นั่นคือการรักษาก็จะออกแบบให้แต่ละคนที่แตกต่างกันถึงแม้จะโรคเดียวกันก็ตาม
นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทางการแพทย์ได้ค้นพบ กลุ่มรหัสพันธุกรรม (gene cluster) ที่เกี่ยวข้องกับ การติดนิโคตินและการเกิดมะเร็ง กลุ่มยีน CHRNA5-CHRNA3-CHRNB4 อยู่บนโครโมโซมมนุษย์คู่ที่สิบห้า
นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทางการแพทย์ได้ค้นพบ กลุ่มรหัสพันธุกรรม (gene cluster) ที่เกี่ยวข้องกับ การติดนิโคตินและการเกิดมะเร็ง กลุ่มยีน CHRNA5-CHRNA3-CHRNB4 อยู่บนโครโมโซมมนุษย์คู่ที่สิบห้า
งานวิจัยของการศึกษายีน CHRNA5 พบว่าถ้าหากมีการกลายพันธุ์ของยีนนี้ จะทำ ให้เราเลิกบุหรี่ได้ยากขึ้น คือ ติดนิโคตินรุนแรงนั่นเอง
พันธุกรรมในยีนคู่ของมนุษย์ หากกลายพันธุ์แค่ยีนเดียวก็ไม่รุนแรงเท่ากลายพันธุ์ทั้งสองยีน ยีนนี้ก็เช่นกัน หากกลายพันธุ์คู่ก็จะเลิกบุหรี่ยากกว่าปกติ 1.5 เท่า และหากติดบุหรี่ตั้งแต่ อายุน้อยๆก็จะเลิกยากมากขึ้น ระยะเวลาที่คนมียีนนี้แบบกลายพันธุ์ทั้งสองยีนจะเลิกช้าและยากกว่าคนทั่วไป 4 ปี หากการเลิกเป็นไปอย่างจริงจัง
ในขณะที่ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน CHRNA5 นี้ก็จะสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย มีการศึกษาว่าผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนนี้จะตรวจพบมะเร็งปอดเร็วกว่าคนที่ปรกติถึง 4 ปี
และกลุ่มยีน CHRNA5-CHRNA3-CHRNB4 ก็สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอดอย่างชัดเจน เป็นการไขกุญแจเรื่องพันธุกรรมกับมะเร็งปอดอย่างที่อธิบายไปเมื่อครั้งก่อนนี้ครับ
และกลุ่มยีน CHRNA5-CHRNA3-CHRNB4 ก็สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอดอย่างชัดเจน เป็นการไขกุญแจเรื่องพันธุกรรมกับมะเร็งปอดอย่างที่อธิบายไปเมื่อครั้งก่อนนี้ครับ
ยีนทั้งสองตัวน่าจะเป็นตัวเชื่อมต่อว่า ทำไมบางคนสูบบุหรี่จัดแล้วไม่เป็นมะเร็ง หรือ การสูบบุหรี่ลดลงแต่อุบัติการณ์ของมะเร็งปอดไม่ได้ลดลงตามกันมากเท่าใดนัก และช่วยโยงความสัมพันธ์เรื่องบุหรี่กับมะเร็งที่ชัดเจนขึ้น ระบุผู้ที่เสี่ยงการเกิดมะเร็งเพื่อวางแผนคัดกรองอย่างเหมาะสม
และไปถึงขั้นการรักษาด้วย
และไปถึงขั้นการรักษาด้วย
อนาคตการเลิกบุหรี่ คงต้องดูยีนและการกลายพันธุ์ด้วย เพื่อบ่งชี้ความยากง่ายในการเลิก การใช้สารชดเชยนิโคตินว่าจำเป็นแค่ไหน และ ออกแบบยาใหม่ๆที่ไปออกฤทธิ์ที่ยีน หรือเฉพาะผู้ที่มียีนกลายพันธุ์ ทำให้ความสำเร็จในการเลิกนิโคตินสูงขึ้น ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงการทดลองเช่น AZD8529, CERC-501
Welcome to Future Medicine..
ที่มา
Arch Gen Psychiatry 2012, Aug 69(8)
Trends Neurosci 2016, Dec:39(12)
Journal of National Cancer Institute May, 2015; 107(5)
Nature Neuropsychopharmacology 2015 :40; 2813-21
Arch Gen Psychiatry 2012, Aug 69(8)
Trends Neurosci 2016, Dec:39(12)
Journal of National Cancer Institute May, 2015; 107(5)
Nature Neuropsychopharmacology 2015 :40; 2813-21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น