ต่อกันอีกสักเล็กน้อยกับ โรค SpA spondyloarthropathies ที่เราคุยกันเรื่อง โรคของกระดูกแกนกลางคือ กระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกราน ในโรค Ankylosing Spondylitis
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว การรักษาสำคัญคือการออกกำลังกายและกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มการเคลื่อนที่ของข้อ และเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เป็นการรักษาที่ต้องทำไปตลอดไม่ว่าโรคจะดีหรือไม่ดีขึ้น ส่วนเรื่องของการใช้ยานั้น เบื้องต้นจะใช้ยาลดปวดต้านการอักเสบก่อนครับ
นั่นคือ NSAIDs ในแนวทางนั้นอาจใช้มากกว่าหนึ่งตัวด้วยและเมื่อใช้ยามากกว่าหนึ่งตัว ก็จะเป็นความเสี่ยงการเกิดกระเพาะอาหารอักเสบจากยาทันที ควรพิจารณาให้ยาปกป้องกระเพาะ
ไม่ว่าจะได้ NSAIDs แบบเดิมทั้งคู่ หรือ NSAIDs แบบเดิมคู่กับ COX-2 ก็ตามที
นั่นคือ NSAIDs ในแนวทางนั้นอาจใช้มากกว่าหนึ่งตัวด้วยและเมื่อใช้ยามากกว่าหนึ่งตัว ก็จะเป็นความเสี่ยงการเกิดกระเพาะอาหารอักเสบจากยาทันที ควรพิจารณาให้ยาปกป้องกระเพาะ
ไม่ว่าจะได้ NSAIDs แบบเดิมทั้งคู่ หรือ NSAIDs แบบเดิมคู่กับ COX-2 ก็ตามที
และหากยังมีอาการปวดอีกไม่มาก ก็ให้ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอลเสริมเข้าไป หรือยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีนเพิ่มเข้าไป เราคาดหวังว่าจะเพิ่มไม่มากเพราะอาการปวดลดลงจาก NSAIDs ไปมากแล้ว
เอาล่ะ ถ้ายังไม่ดีขึ้นหรือเกิดอันตรายจากการใช้ยา NSAIDs คราวนี้เราก็จะมาพิจารณาการรักษาระดับต่อไป การใช้ยาเพื่อปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค DMARDs และ ยาสเตียรอยด์ ซึ่งการใช้ยาสองกลุ่มนี้จะมีข้อพิจารณาสองอย่าง
1. ข้อที่เป็นเป็นข้อแกนกลางเด่น หรือ มีทั้งแกนกลางและข้อแขนขามือเท้า
2. ใช้การรักษาแบบ target disease activity ไม่ได้ใช้การปรับแบบปวดมากปวดน้อย แต่ใช้คะแนนในการประเมินเพื่อดูมิติของโรคให้ครบ ในโรคนี้จะใช้คะแนนได้สองอย่าง จะเลือกใช้คะแนน BASDAI หรือ ASDAS ก็ได้ ..อันนี้ต้องไปเปิดในกูเกิ้ลดูเองนะ...
เพราะแต่ละยานั้นตอบสนองต่างกัน
1. ข้อที่เป็นเป็นข้อแกนกลางเด่น หรือ มีทั้งแกนกลางและข้อแขนขามือเท้า
2. ใช้การรักษาแบบ target disease activity ไม่ได้ใช้การปรับแบบปวดมากปวดน้อย แต่ใช้คะแนนในการประเมินเพื่อดูมิติของโรคให้ครบ ในโรคนี้จะใช้คะแนนได้สองอย่าง จะเลือกใช้คะแนน BASDAI หรือ ASDAS ก็ได้ ..อันนี้ต้องไปเปิดในกูเกิ้ลดูเองนะ...
เพราะแต่ละยานั้นตอบสนองต่างกัน
มาที่ตัวยาราคาถูกก่อน ถ้ามีข้อปลาย ข้อแขนขาด้วย ในข้อปลายนั้นจะตอบสนองต่อ ยาฉีดสเตียรอยด์เข้าจุดการอักเสบ และ ยา sulfasalazine
ส่วนข้อแกนกลางนั้นยาสองตัวนี้ข้อมูลสนับสนุนไม่มาก แต่ก็อาจจะใช้ได้ (แต่อย่าลืมข้อสนับสนุนไม่มาก) ในข้อแกนกลางการฉีดสเตียรอยด์เข้าที่จุดออกฤทธิ์ทำได้ยาก ก็มีข้อมูลเรื่อง การใช้ยากินสเตียรอยด์ในระยะสั้นๆ ก็พอช่วยได้
ส่วนข้อแกนกลางนั้นยาสองตัวนี้ข้อมูลสนับสนุนไม่มาก แต่ก็อาจจะใช้ได้ (แต่อย่าลืมข้อสนับสนุนไม่มาก) ในข้อแกนกลางการฉีดสเตียรอยด์เข้าที่จุดออกฤทธิ์ทำได้ยาก ก็มีข้อมูลเรื่อง การใช้ยากินสเตียรอยด์ในระยะสั้นๆ ก็พอช่วยได้
แต่ถ้าเป็นข้อแกนกลาง ในกรณีโรคไม่ดีขึ้นก็จะขยับไปใช้ยา biological DMARDs คือยาที่ได้จากการสังเคราะห์มาคล้ายโมเลกุลของมนุษย์ มิใช่สารเคมีเหมือน Sulfasalazine ,Steroid, NSAIDs และยาที่ได้รับการศึกษา มีข้อมูลสนับสนุนมากคือ Anti Tumor Necrotic Factor หรือเรียกกันสั้นๆว่า Anti TNF ได้แก่ Remicade (infliximab), Enbrel (etanercept), Humira (adalimumab), Cimzia (certolizumab pegol) and Simponi (golimumab) แน่นอน แพง มีข้อจำกัดการใช้ ต้องระมัดระวังการติดเชื้อโดยเฉพาะ วัณโรค
หากข้อส่วนปลายไม่ดีขึ้น ก็อาจใช้ยากลุ่มนี้ได้เช่นกัน (อย่าลืมว่า step ยาแพง เราใช้ระบบคะแนนมาประเมินนะครับ)
หากข้อส่วนปลายไม่ดีขึ้น ก็อาจใช้ยากลุ่มนี้ได้เช่นกัน (อย่าลืมว่า step ยาแพง เราใช้ระบบคะแนนมาประเมินนะครับ)
ส่วนสารชีวภาพอีกตัวที่ได้รับการรับรองหากโรคไม่ดีขึ้น คือ anti interleukin 17 คือ Secukinumab หรือจะใช้ anti TNF ตัวใหม่ก็ได้
อย่าลืมว่าใช้ให้โรคสงบ ไม่ได้หาย การเกิดโรคยังดำเนินต่อไปแต่จะช้าลง ไม่รบกวนชีวิตประจำวัน แต่จะรบกวนค่าใช้จ่ายอย่างมากมาย
และเมื่อโรคสงบก็จะค่อยๆปรับลดยา Biological DMARDs และยาลดการอักเสบลงครับ
อย่าลืมว่าใช้ให้โรคสงบ ไม่ได้หาย การเกิดโรคยังดำเนินต่อไปแต่จะช้าลง ไม่รบกวนชีวิตประจำวัน แต่จะรบกวนค่าใช้จ่ายอย่างมากมาย
และเมื่อโรคสงบก็จะค่อยๆปรับลดยา Biological DMARDs และยาลดการอักเสบลงครับ
ข้อมูลนี้ผมนำมาจาก EULAR treatment guideline for Axial spondylitis ฉบับปรับปรุงปี 2016 สามารถอ่านฟรีได้ที่ Ann Rheum Dis 2017;0:1–14 ลองการรักษาฝั่งยุโรปที่ผมว่าคำนึงถึงความเหมาะสมและเงินทองมากกว่าฝั่งทรัมป์ เอ้ย ฝั่งอเมริกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น