19 พฤศจิกายน 2563

การตรวจตัวอย่างอุจจาระเป็นสิ่งสำคัญมากในการวินิจฉัยภาวะท้องเสียเรื้อรัง

 การตรวจตัวอย่างอุจจาระเป็นสิ่งสำคัญมากในการวินิจฉัยภาวะท้องเสียเรื้อรัง

ถ่ายเหลวเรื้อรัง : ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างน้อย 4 สัปดาห์

การเก็บอุจจาระไปตรวจจะช่วยแยก

- การอักเสบโดยการตรวจหาเม็ดเลือดขาวในอุจจาระหรือการตรวจ stool calprotectin ข้อที่นิยมใช้คือถ้าตรวจไม่พบ ไม่น่ามีการอักเสบ

- ตรวจหาไขมันในอุจจาระ เพราะทำให้ท้องเสียเรื้อรังได้ แต่ก็จะตรวจได้เมื่อผู้ป่วยรับประทานไขมันตามปรกติ การตรวจที่นิยมใช้คือการย้อม sudan 3 เพราะการเก็บอุจจาระ 72 ชั่วโมงเพื่อมาวัดปริมาณไขมันในอุจจาระนั้นไม่สะดวกเสียเลย

- ตรวจทางเคมีของอุจจาระคือการตรวจเกลือแร่และค่าความเป็นกรดด่าง ใช้แยกการถ่ายเหลวจากการขับสารต่าง ๆ มากเกิน (secretory diarrhea) และจากสารที่ทำให้ถ่ายเหลว (osmotic diarrhea) ได้พอสมควร

- ตรวจหาเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะเชื้อพยาธิ

อย่าแปลกใจ ถ้าไปหาหมอแล้วหมอให้เก็บอุจจาระมาตรวจซ้ำ ๆ กันหลายวัน เพราะภาวะถ่ายเหลวเรื้อรังนี้ ต้องไ้ดข้อมูลมากพอที่จะวินิจฉัยครับ เป็นหนึ่งในภาวะที่วินิจฉัยและรักษายากที่สุดอันหนึ่งของอายุรศาสตร์เลยทีเดียว

ที่มา
บทความเรื่อง ภาวะท้องเสียเรื้อรัง โดย อ. จุลจักร ลิ่มศรีวิไล ใน หนังสืออายุรศาสตร์ทันยุค 2562 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม