decompression sickness อันตรายแฝงเร้นจากการดำน้ำ
ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่องนี้มาแล้วหนึ่งรอบว่าผู้ที่เคยเป็นลมรั่วในปอดอาจต้องระวังเวลาโดยสารเครื่องบิน เพราะความดันอากาศต่ำ คราวนี้เรามาดูเรื่องที่ตรงข้ามกันคือความดันอากาศสูงใต้น้ำบ้าง เวลาดำน้ำ ภาพลงในวารสาร NEJM เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ชายชาวจีนอายุ 42 ปี ไปดำน้ำแบบ scuba ลึก 26 เมตร แล้วขึ้นมาเร็วเกินไป ถูกนำส่งโรงพยาบาลเพราะใจสั่น ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียนมาก ตรวจผิวหนังก็เป็นลายๆสีม่วงๆดังภาพ หอบ ตรวจเลือดพบเลือดเป็นกรด (กรดแลคติก) ถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นสีดำๆ เต็มเนื้อตับ สีดำๆคือลมและบริเวณที่เป็นสีดำๆนั้นจริงๆ ไม่ควรมีลมอยู่เลยควรเป็นสีเทาๆคล้ายๆเนื้อเยื่อข้างๆ เพราะตำแหน่งนั้นคือ หลอดเลือดดำในตับ !! ในหลอดเลือดไม่ควรมีลม
ชายชาวจีนอายุ 42 ปี ไปดำน้ำแบบ scuba ลึก 26 เมตร แล้วขึ้นมาเร็วเกินไป ถูกนำส่งโรงพยาบาลเพราะใจสั่น ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียนมาก ตรวจผิวหนังก็เป็นลายๆสีม่วงๆดังภาพ หอบ ตรวจเลือดพบเลือดเป็นกรด (กรดแลคติก) ถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นสีดำๆ เต็มเนื้อตับ สีดำๆคือลมและบริเวณที่เป็นสีดำๆนั้นจริงๆ ไม่ควรมีลมอยู่เลยควรเป็นสีเทาๆคล้ายๆเนื้อเยื่อข้างๆ เพราะตำแหน่งนั้นคือ หลอดเลือดดำในตับ !! ในหลอดเลือดไม่ควรมีลม
อากาศที่อยู่ในถังอากาศดำน้ำเป็นอากาศที่ถูกอัดให้ขนาดแก๊ซเล็กลง เวลาอยู่ใต้น้ำความดันอากาศก็สูง เพราะลึกกว่าระดับน้ำทะเลและมีน้ำดันรอบด้าน แก๊ซในตัวจึงถูกบีบอัดเป็นลูกเล็กๆ แถมแก๊ซไนโตรเจนยังแทรกตัวไปอยู่ในเนื้อเยื่อไขมันและสมองด้วย
โอเค ในบรรยากาศแบบนั้นก็สมดุลดี แต่พอขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ความดันบรรยากาศกลับมาเป็นปรกติ แก๊ซที่เล็กๆก็ขยายขนาดใหญ่ทันที จนอาจอุดตันหลอดเลือดได้ แก๊ซไนโตรเจนก็เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อด้วย โดยเฉพาะสมอง เกิดอาการที่เรียกว่า decompression sickness และ nitrogen narcosis แต่อาการไม่เกิดทันทีนะครับ มักจะเกิดหลังจากขึ้นสู่บรรยากาศปกติแล้ว 3-6 ชั่วโมง
โอเค ในบรรยากาศแบบนั้นก็สมดุลดี แต่พอขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ความดันบรรยากาศกลับมาเป็นปรกติ แก๊ซที่เล็กๆก็ขยายขนาดใหญ่ทันที จนอาจอุดตันหลอดเลือดได้ แก๊ซไนโตรเจนก็เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อด้วย โดยเฉพาะสมอง เกิดอาการที่เรียกว่า decompression sickness และ nitrogen narcosis แต่อาการไม่เกิดทันทีนะครับ มักจะเกิดหลังจากขึ้นสู่บรรยากาศปกติแล้ว 3-6 ชั่วโมง
**การลงดำน้ำ การขึ้นสู่ผิวน้ำ ต้องทำตามคำแนะนำและครูฝึกอย่างเคร่งครัด**
สีผิวที่เกิดแบบนี้คือ หลอดเลือดใต้ผิวหนังผิดปกติ เรียกว่า cutis marmorata มีการตีบและขยายไม่สามัคคีกัน marmor คือ marble คือ ลายเหมือนหินอ่อนครับ ในกรณีนี้ก็เกิดจากอันตรายจากแก๊ซในเลือดนั่นเอง ทำให้ตีบขยายไม่พร้อมกัน มีการไหลของเลือดไปทางลัดอื่นๆ ภาวะนี้พบได้อีกหลายอย่างนะครับ แต่ถ้ามาพบในคนที่ดำน้ำก็ต้องคิดถึงโรค decompression sickness นี่ด้วย
ลมที่ไปอยู่ในหลอดเลือดนี้อันตรายนะครับ จากภาพที่เห็นลมที่ไปอยู่ในหลอดเลือดที่ตับที่เรียกว่า portal system ก็จะทำลายเนื้อตับรอบข้างมีตับอักเสบรุนแรงได้ จากการขาดเลือดและการอักเสบของผนังหลอดเลือด
ลมที่ไปอยู่ในหลอดเลือดนี้อันตรายนะครับ จากภาพที่เห็นลมที่ไปอยู่ในหลอดเลือดที่ตับที่เรียกว่า portal system ก็จะทำลายเนื้อตับรอบข้างมีตับอักเสบรุนแรงได้ จากการขาดเลือดและการอักเสบของผนังหลอดเลือด
นอกจากนี้ยังมีอาการหลากหลายขึ้นกับแก๊ซนั้นไปอุดตันและไปทำอันตรายอยู่ที่อวัยวะใด ที่พบบ่อยๆคืออาการปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ อาการทางระบบประสาทและทางผิวหนัง โรคแบ่งความรุนแรงได้สองแบบคือ รุนแรงน้อย (type I) และ รุนแรงมาก (type II) พวกที่รุนแรงมากคือมีอาการหลายๆระบบพร้อมๆกัน และต้องมีอาการทางระบบประสาท และ อาการทางเดินหายใจเช่นหายใจขัด แน่นจนถึงหายใจลำบาก และ ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว
การพยากรณ์โรคแบบรุนแรงจะไม่ดี อาจเสียชีวิตถ้าช่วยไม่ทัน
การพยากรณ์โรคแบบรุนแรงจะไม่ดี อาจเสียชีวิตถ้าช่วยไม่ทัน
อีกประการคืออาจเกิดลมขนาดใหญ่ไปตามหลอดเลือดแดง ไปอุดอวัยวะไหน อวัยวะนั้นก็จะขาดเลือดและตายไป เช่น แขนขา สมอง หรือ ลำไส้
การรักษา ใช้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยเปอร์เซนต์ และให้เข้าเครื่องอุปกรณ์ออกซิเจนแรงดันสูง Hyperbaric Oxygen Chamber เพื่อลดขนาดแก๊ซที่มีปัญหาให้ละลายน้ำละลายเลือดได้ เอามาปล่อยออกที่ปอด ใช้การแทนที่ไนโตรเจนด้วยออกซิเจน เพราะร่างกายจัดการออกซิเจนได้ดีกว่า ไนโตรเจนจึงถูกขับออกมาทางเลือดและไปสู่ปอด (อ่านทบทวนเรื่องนี้ ได้อ่านฟิสิกส์มัธยมปลายซ้ำเลยนะครับ) เพื่อลดอาการที่จะเกิดเพิ่มและรักษาอาการเกิดแล้วให้ดีขึ้น
แต่ว่าอัตราการเสียชีวิตและพิการจะมากน้อยนอกจากขึ้นกับความรุนแรงแล้วยังขึ้นกับ การประคับประคองอาการ การให้สารน้ำ การส่งออกซิเจนไปที่เนื้อเยื่อต่างๆ การช่วยหายใจ
แต่ว่าอัตราการเสียชีวิตและพิการจะมากน้อยนอกจากขึ้นกับความรุนแรงแล้วยังขึ้นกับ การประคับประคองอาการ การให้สารน้ำ การส่งออกซิเจนไปที่เนื้อเยื่อต่างๆ การช่วยหายใจ
ชายคนนี้ได้รับการรักษาโดยเข้าห้องปรับแรงดันออกซิเจนสองครั้ง อาการทั้งหมดก็หายเป็นปรกติ
"ดำน้ำมีแก๊ซดัน อยากมันส์มีแอดมิน"
โพสต์เดิมเกี่ยวกับอันตรายจากความดันแก๊ซในปอดในคนที่เคยเป็นลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดมาแล้ว
http://medicine4layman.blogspot.com/2017/09/blog-post_9.html
http://medicine4layman.blogspot.com/2017/09/blog-post_9.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น