เรื่องของ 'ค่าตอบแทน'ในการมารับวัคซีน
วารสาร NEJM กล่าวว่า การให้ความรู้อาจจะจูงใจไม่พอ มีการเพิ่มแรงจูงใจ ไม่ว่า แจกพันธบัตร แจกเบียร์ แจกล็อตเตอรี่ ก็เพิ่มตัวเลขคนเข้ามารับวัคซีนได้ระดับหนึ่ง
ในวารสารกล่าวว่า น่าจะนำไปใช้กับการรักษาสุขภาพอื่น ๆ เช่นการเลิกเหล้า เลิกบุหรี่
ค่าตอบแทนเหล่านี้ ได้รับการบวกลบคูณหารมาแล้วว่า คุ้มค่ากว่าทรัพยากรที่ต้องใช้ในการป่วยจากโรคแน่นอน ในการวิจัยเรื่องเลิกบุหรี่หลายชิ้นงานที่มีค่าตอบแทนให้ หากรายงานการสูบในการศึกษา หรือมารับอุปกรณ์เลิกบุหรี่ตามกำหนด
แต่ในวารสารกล่าวว่ามันควรจะเป็นกลยุทธสำหรับ สิ่งที่ใช้ครั้งเดียวได้ผล และในระยะสั้น ต่อไปควรสร้างสิ่งอื่นที่ถาวรและจริงใจกว่านี้ ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะ
เราไม่ควรมีสุขภาพที่ดีเพราะสิ่งตอบแทน แต่เราควรอยากมีสุขภาพที่ดี เพราะเราจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถมีเรี่ยวแรงดูแลตัวเอง ครอบครัว และสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติได้
อย่างวัคซีนงูสวัด รอบเดียวจบ อาจใช้ได้ ไม่ต้องแจกเงินหรอก เอาไปลดหย่อนภาษีได้ก็พอ หรือได้ส่วนลดในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ในปีนั้น ชักจูงไปเสริมสุขภาพต่อยอดได้อีก (ตำแหน่ง รมต. คงอีกไม่นานแล้วเรา)
แต่ถ้าเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ต้องต่อเนื่อง เช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เช่นการตรวจตาในโรคเบาหวาน แบบนี้หากใช้ค่าตอบแทน จะทำให้เขา 'ติด'ค่าตอบแทน มากกว่าความต้องการรักษาสุขภาพที่ดี
ความจริงโอกาสนี้เราน่าจะรณรงค์และทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพ เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย (เวลาพ้นช่วงระบาดอาจใส่ตอนที่ตัวเองป่วย)รวมถึงวัคซีน
ในอดีต วัคซีนไข้หวัดใหญ่เข้ามาฉีดฟรี ปีละ 5-6 ล้านโด๊ส ยังเหลืออีกมาก ซื้อเองก็ 500-800 บาทต่อเข็มต่อปี มีคนสนใจน้อยมาก
พอโควิดมา วัคซีนทางเลือกเข็มละหลายพัน วัคซีนฟรีก็หมด เราเห็นความสำคัญของมันไงครับ
ลองอ่านดูครับ ฟรีจาก NEJM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น