เมื่ออาหารและยา อยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ : tyramine foods and MAOI
มีเรื่องเล่าอยู่ว่าช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีกระทาชายชาวอังกฤษนายหนึ่ง ประกอบอาชีพเภสัชกร เขาสังเกตว่าภรรยาของเขามักจะมีอาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบเวลาที่กินชีส เขาจึงสังเกตต่อไป ก็ได้รายละเอียดเพิ่มขึ้นว่า อ่อ...ไม่ใช่เพราะชีสอย่างเดียว มันเกิดขึ้นเมื่อภรรยาเขากินชีสร่วมกับยากลุ่มหนึ่ง ยาที่ชื่อว่า MAOI (monoamine oxidase inhibitors) เขาจึงเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า cheese effect
ตกลงว่ามันคืออะไร เป็นจากยา เป็นจากชีส หรืออีตานี่วางแผนร้ายต่อภรรยา อะฮ้า
เราต้องมารู้จักสารตัวหนึ่งก่อนชื่อ tyramine เป็นกรดอะมิโน tyrosine มาเอาใส่หมู่เอมีนเข้าไป กลายเป็น ไทรามีน .. ช่างมันเถอะครับ เอาเป็นว่า ไทรามีน มันจะมีอยู่มากในอาหารบางอย่าง เช่น เนื้อสัตว์ที่ผ่านการหมัก ย่าง รมควัน หรือเอาไปถนอมอาหารเช่นแฮม ไส้กรอก, ผลิตภัณฑ์นมแปรรูป เช่น โยเกิร์ต ชีส, ถั่วหลายชนิด ที่พบมากคือถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า,ผลอาโวกาโด, ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เจ้า tyramine มันเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาทอัตโนมัติ และการหลั่งสารสื่อประสาทอัตโนมัติ (catecholamine releasing agent) ทำให้มีการหลั่งสาร catecholamine ไปส่งสัญญาณกระแสประสาทอัตโนมัติเพิ่มขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติที่ถูกกระตุ้นคือ ระบบประสาทซิมพาเธติก ทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจ บีบหลอดเลือด หายใจเร็ว เพิ่มความดัน เพิ่มชีพจร เตรียมสู้รบ เตรียมวิ่งหนี
แต่ในธรรมชาติเราจะมีเอนไซม์มาสลายสารสื่อประสาท catecholamines ไม่ให้ออกฤทธิ์กระตุ้นนานต่อเนื่อง ร่างกายจะล้าและบาดเจ็บ (เหมือนซูเปอร์ไซย่าไง) เอนไซม์นั้นคือ MAO, COMT, Aldehyde dehydrogenase เริ่มเห็น MAO แล้วนะครับ monoamine oxidase ว่ามันเป็นตัวควบคุมปฏิกิริยาในร่างกาย
มีโรคบางอย่างที่เราไปยับยั้ง MAO โดยใช้ยา MAOI ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะกลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตเวช เพื่อหวังผลให้ระบบประสาททำงานมากขึ้นมารักษาคนไข้ แล้วถ้าเกิด MAOI มันทำงานมากเกินไป แน่นอนย่อมเกิดผลเสีย
มีโรคบางอย่างที่เราไปยับยั้ง MAO โดยใช้ยา MAOI ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะกลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตเวช เพื่อหวังผลให้ระบบประสาททำงานมากขึ้นมารักษาคนไข้ แล้วถ้าเกิด MAOI มันทำงานมากเกินไป แน่นอนย่อมเกิดผลเสีย
เมื่อเราทราบว่าอาหารที่มี tyramine สูงจะกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท catecholamines และยา MAOI ก็ยับยั้งการทำลาย catecholamines ผลลัพธ์คือ ระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้นรุนแรง ทำให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจเต้นแรงและเร็ว เกิดความดันโลหิตพุ่งสูงถึงขีดระดับอันตรายได้ เกิดใจสั่นรุนแรงหรือไมเกรนได้เหมือนดังภรรยาของกระทาชายผู้นั้น
และเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องเล่าทางทฤษฎีเท่านั้น มีรายงานกรณีคนไข้ที่กินชีสพร้อมกับยา MAOI มีรายงานกรณีคนไข้กินแฮมรมควันมาก ๆพร้อมยา MAOI แล้วเกิดความดันโลหิตสูงรุนแรงมาแล้ว จึงเป็นที่มาให้ทางองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้มีคำเตือนให้ระวังปฏิกิริยาของอาหารที่มี tyramine สูงกับยาที่มีฤทธิ์ยับยั้ง MAOI ซึ่งได้แก่ Phenelzine (ตัวนี้มีรายงานมากสุด), isocarboxazid, Tranylcypromine แต่ทั้งหมดนี้ผมก็ไม่เคยได้ยินได้ใช้เลย ยาอีกชนิดคือ MAOI-B เช่น Selegiline, Rasagiline ที่ใช้รักษาโรคพาร์คินสัน
ยาอื่น ๆ ที่มีผลกับ MAOI อาจส่งผลเมื่อกินร่วมกับอาหาร tyramine ได้อีกคือ isoniazid ที่ใช้รักษาวัณโรค, ยา linezolid ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกดื้อยาและเป็นยาสูตรพิเศษสำหรับวัณโรคดื้อยาอีกด้วย
ดังนั้นเป็นข้อควรระวังหากต้องใช้ยากลุ่มนี้กับอาหารที่มี tyramine สูง แต่คิดว่าในโลกแห่งความเป็นจริงคงเกิดน้อยครับ อันตรายจะเป็นปฏิกิริยาระหว่างยาเสียมากกว่าโดยเฉพาะกับยาต้านโรคซึมเศร้ากลุ่มอื่น ๆ และยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูกจมูกบวม แพทย์และเภสัชกรคงต้องเพิ่มความห่วงใยตรงนี้และผู้ที่ใช้ยาก็ไม่ควรใช้ยาอื่นโดยไม่ได้ปรึกษาครับ
กินข้าวกินยาต้องตรึกคิด เพราะกินผิดชีวิตอาจจบสิ้น
ถ้าอยากกินแบบสบายแบบฟิน ให้กินแอดมินรับรอง..ไม่หิว..หยิวสุดซอย
ถ้าอยากกินแบบสบายแบบฟิน ให้กินแอดมินรับรอง..ไม่หิว..หยิวสุดซอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น