20 มีนาคม 2564

การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน

 สั้น ๆ กับโรคกรดไหลย้อน จากแนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน 2020


"ผู้ป่วยที่มีอาการจำเพาะต่อโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ อาการแสบร้อนกลางอกหรือเรอเปรี้ยวเป็นอาการเด่นตรวจร่างกายปกติ และไม่มีสัญญาณเตือน (alarm features)สามารถให้การวินิจฉัย
เบื้องต้นและรักษาโรคกรดไหลย้อนได้โดยไม่จำเป็นต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม"

ท่านอาจสงสัยว่าทำไมหมอจึงให้การรักษาเลย พราะข้อมูลจากการศึกษาและรวบรวม ออกมาว่า ในผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนกลางอกหรือเรอเปรี้ยว มีจำนวนน้อยที่เป็นผู้ป่วยที่มีรอยโรคในหลอดอาหาร (erosive esophagitis) เมื่ออาการสองอันนี้ค่อนข้างจำเพาะ บวกกับอุบัติการณ์ของหลอดอาหารอักเสบมีน้อย จึงให้การรักษาไปก่อนได้ครับ  แต่ต้องซักประวัติหาอาการเตือนเช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ น้ำหนักลด 

การให้การรักษาใช้ยาลดกรด proton pump inhibitor (-prazole) ในขนาดมาตรฐาน ระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ต่อเนื่อง เมื่ออาการดีแล้วสามารถหยุดยา แล้วรักษาแบบมีอาการค่อยกินยาเป็นครั้งคราวไป (on demand therapy)  

เมื่อประเมินจากประวัติ ไม่มีอาการเตือน และให้การรักษาแบบนี้ เกือบทั้งหมดอาการจะดีขึ้น มีเพียงบางส่วนที่อาการยังคงรุนแรง รบกวนชีวิตประจำวัน ที่จะต้องสืบค้นต่อเนื่องหรือให้การปรับยา (และมีข้อมูลด้วยว่าที่ไม่ได้ผล ส่วนใหญ่คือ กินยาไม่ถูกต้อง) 

สำคัญคือ กินยาให้ถูกต้อง นานพอ ปฏิบัติตัวให้เหมาะสม ส่วนใหญ่จะหายและไม่ต้องสืบค้นอันไม่จำเป็นครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม