การศึกษาตีพิมพ์ใน NEJM พร้อมกับงานประชุม ISTH 2019 ที่ออสเตรเลีย ตีพิมพ์งานวิจัยของประเทศออสเตรเลียเรื่อง การใช้ IVC fliter ในการป้องกัน pulmonary embolism ในผู้ป่วยอุบัติเหตุและมีข้อห้ามใช้ anticoagulant prophylaxis (เอาใจเจ้าภาพเหมือนกันนะ)
เกริ่นก่อน..จากข้อมูลการศึกษาเดิม ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเมื่อเข้ารับการรักษาต้องนอนนิ่ง ๆ ด้วยสาเหตุใดก็ตาม โอกาสเกิดลิ่มเลือดดำอุดตันที่ขา 18% โอกาสหลุดไปที่ปอด 11% เกิดในสี่วันแรก 37% ถ้าหลุดไปอุดแล้วตาย 1-4% (แต่เป็นข้อมูลในอเมริกาและแคนาดานะ) การป้องกันลิ่มเลือดที่ดีคือการให้ยากันเลือดแข็งกับคนที่เสี่ยง เช่นเคยเป็นมาก่อน หรือนอนนาน ๆ แต่ว่าหากเลือดออกล่ะ เราจะให้ยากันเลือดแข็งได้หรือ หลายที่ใช้ IVC filter คือตาข่ายดักลิ่มเลือดไม่ให้ลิ่มเลือดจากขาเคลื่อนไปที่ปอดและหัวใจได้ ตามปรกติแล้วเราจะใช้ IVC เมื่อมีข้อห้ามใช้ยากันเลือดแข็ง แต่การใส่ IVC filter มันก็ไม่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายสูง โอกาสเกิดผลแทรกซ้อนก็มี
โอเค ข้อมูลที่ผ่านมามันก็พอใช้ป้องกันได้ หากแต่เป็นข้อมูลแบบ observation คราวนี้นักวิจัยออสเตรเลียเขาตั้งใจทำ Randomised Controlled Trial เลยครับ
โอเค ข้อมูลที่ผ่านมามันก็พอใช้ป้องกันได้ หากแต่เป็นข้อมูลแบบ observation คราวนี้นักวิจัยออสเตรเลียเขาตั้งใจทำ Randomised Controlled Trial เลยครับ
เขานำผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีคะแนนความรุนแรงตั้งแต่ 15 คะแนนขึ้นไป คะแนนความรุนแรงให้ตามระบบอวัยวะตั้งแต่ศูนย์ถึง 75 โดย 75 คือรุนแรงสูงสุด ในการศึกษานี้คะแนนเฉลี่ยคือ 27 และมีข้อห้ามในการให้ยากันเลือดแข็งเพื่อป้องกันลิ่มเลือดใน 72 ชั่วโมงแรก นำมาแบ่งกลุ่มใส่ IVC filter และไม่ใส่ อันนี้เป็น open-labelled เพราะไม่มีกลุ่ม sham (คือแทงสายสวนแต่ไม่ใส่ IVC filter)
หลังจากนั้นติดตามโดยใช้อัลตร้าซาวนด์ดูหลอดเลือดดำที่ขาทุกสองสัปดาห์ ถ้ามีข้อบ่งชี้จะไปทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกเพื่อตรวจหา VTE ที่ปอด
หลังจากนั้นติดตามโดยใช้อัลตร้าซาวนด์ดูหลอดเลือดดำที่ขาทุกสองสัปดาห์ ถ้ามีข้อบ่งชี้จะไปทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกเพื่อตรวจหา VTE ที่ปอด
วัดผลคือ ลิ่มเลือดไปอุดตันที่ปอดและตาย (composite endpoint) ที่ระยะเวลา 90 วันหลังจากเริ่มการศึกษา ต้องการตัวอย่าง 240 คน คิดที่โอกาสเกิดลิ่มเลือด 9% และเมื่อให้การรักษาจะมีความแตกต่างอย่างน้อย 8.5% (80% power)
ผลที่ได้คือ ได้มา 240 คนเป๊ะ drop out ไม่สูง, cross over ไม่เกิน, adherence ดีตลอดการศึกษา ในกลุ่มไม่ได้ใส่ filter เกิด 14.4% กลุ่มใส่ filter เกิด 13.9% คิด HR 0.99 (95% CI 0.51-1.94) ผลข้างเคียงเลือดออกไม่ต่างกัน อันตรายจากการใส่ไม่มาก
สำหรับการศึกษานี้ก็แสดงให้เห็นว่าในคนที่มีข้อห้ามการใช้ยาต้านการแข็งตัวเลือด การใช้ IVC filter ไม่ได้ลดการเกิด VTE เมื่อการตัดสินใจใส่หรือไม่ใส่เกิดในช่วงแรก ๆ ของอุบัติเหตุเลย หากพิจารณาเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ โดยเฉพาะนานกว่า 72 ชั่วโมงผลอาจจะต่างออกไป เพราะระยะเวลามีความสำคัญต่อการเกิดลิ่มเลือด จากการศึกษานี้ ถ้าไปเจาะกลุ่มดูคนที่ยังมีข้อห้ามการให้ยาหลังจากผ่าน 7 วันแรกไปแล้วนั้น กลุ่มที่ใส่ IVC filter เกิดลิ่มเลือดไปที่ปอดน้อยกว่า ..time is matter
ตัวเต็มเปิดได้ที่นี่ แน่นอน ไม่ฟรี
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1806515
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1806515
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น