แนะนำการใช้ยาเล็กน้อย สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น จะใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนเท่านั้น ยาแต่ละตัวมีลักษณะและข้อควรระวังเฉพาะ มีการติดตามประสิทธิภาพและผลข้างเคียงที่ไม่เหมือนกัน
การใช้ยาต้องปรึกษาความจำเป็น ประโยชน์และข้อควรระวังเสมอ
ยาที่ใช้แบ่งออกเป็นสองอย่างคือ การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงฮอร์โมนเพศชาย โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดฮอร์โมนก่อนวัยอันควรไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม เช่น ตัดรังไข่
ส่วนยาอีกกลุ่มจะไปควบคุมการสร้างและการทำลายกระดูกยากลุ่มนี้มีหลากหลาย แต่ที่ใช้มากที่สุด มีหลักฐานสนับสนุนมากคือยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (bisohosphonates) กลไกหลักคือลดการทำลายกระดูก ยาที่ได้รับการรับรองคือ alendronate, residronate, ibandronate, zoledronate ข้อใช้อีกอย่างของยากลุ่มนี้คือการรักษาแคลเซียมในเลือดสูงที่ขนาดและวิธีใช้จะต่างจากข้อบ่งชี้กระดูกพรุน
การใช้ยาจะมีทั้งแบบกินวันละเม็ด กินแบบสัปดาห์ละเม็ด เดือนละครั้ง หรือปีละครั้ง
สิ่งที่ต้องระวังคือตัวยาจะมีการระคายเคืองกระเพาะอาหารและหลอดอาหารพอสมควร กินแล้วอย่าเพิ่งล้มตัวลงนอน กอดหมอนน้ำตาพร่างพรู อาจจะนั่งเล่นนอนเล่นไปก่อน
ผลที่พบได้ไม่มากแต่ดูน่าตกใจคือ
osteonecrosis of jaw มีการขาดเลือดและอักเสบของกระดูกกราม โดยเฉพาะบริเวณรากฟัน จุดที่ฟันผุ ก็ต้องระวังหากกินนาแล้วมีอาการแถว ๆ นี้ และควรตรวจฟันทำฟันให้เรียบร้อยก่อนใช้ยา
เพิ่มโอกาสการเกิดกระดูกต้นขาหัก (atypical femoral fracture) และต้องระวังการใช้ในภาวะไตเสื่อม
osteonecrosis of jaw มีการขาดเลือดและอักเสบของกระดูกกราม โดยเฉพาะบริเวณรากฟัน จุดที่ฟันผุ ก็ต้องระวังหากกินนาแล้วมีอาการแถว ๆ นี้ และควรตรวจฟันทำฟันให้เรียบร้อยก่อนใช้ยา
เพิ่มโอกาสการเกิดกระดูกต้นขาหัก (atypical femoral fracture) และต้องระวังการใช้ในภาวะไตเสื่อม
สิ่งที่ต้องการให้ทราบมากที่สุดคือ ไม่ใช่ทุกคนที่กระดูกพรุนจะต้องได้ยานะครับ และหากได้ยาต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยครับ
ยากลุ่มอื่นและทริกแบบอื่น ไว้มีอารมณ์แล้วจะเขียนต่อครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น