ข่าวด่วน..ทลายแก๊งค์ผีแม่ม่าย จับได้คาหลักฐาน ผลงานนักวิจัยไทยจาก มข.
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวเพจง่ายนิดเดียวเคยนำเสนอเรื่องราวของใหลตาย Brugada syndrome มาแล้วในภาพรวมและเรื่องราวความเป็นมา แต่วันนี้เราจะมานำเสนอว่า นักวิจัยไทยและหมอไทย ได้ลงลึกไปถึงการวิจัยเพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากใหลตายได้ เป็นที่น่าภาคภูมิใจโดย อ.ภัทรพงษ์ มกรเวส จากศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น Pattarapong Makarawate
ก่อนไปต่อ ใครยังไม่เคยทราบเรื่องใหลตาย ลองมาอ่านของเดิมก่อนนะครับ ตามลิงค์นี้
https://m.facebook.com/story.php…
แนวคิดเรื่องยีน SCN5A ที่พบในผู้ที่เป็นใหลตาย มีมานานแล้ว คณะผู้วิจัยได้ศึกษาผู้ที่เคยมีประวัติเป็นใหลตายหรือเคยรอดจากใหลตาย มาศึกษา (มักจะเสียชีวิตจากหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลัน)
เมื่อใครรอดจากใหลตาย แสดงว่า ผีแม่ม่ายไม่เอาแล้ว..ไม่ใช่แล้ว..คือช่วยทัน หรืออาการไม่รุนแรงหายเอง นำมาเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 40 คน วิธีการวินิจฉัย Brugada ในการศึกษานี้ชัดเจนคือต้องทำการให้ยาแล้วดูการตอบสนองของคลื่นไฟฟ้าเลยว่าเหมือน Brugada หรือไม่ และการติดคลื่นไฟฟ้านั้นใช้ high intercostal chest leads เรียกว่าเอาให้ชัวร์ให้ชัด
สรุปว่ามีความจำเพาะต่อโรค brugada แน่นอน และ กลุ่มผู้ป่วยนี้ก็ต้องมาทำการคิดเครื่องช็อกหัวใจชนิดฝังในอกเลย เพราะถ้าเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะอีกครั้งอาจไม่รอด
ผู้ทำการศึกษานำผู้ป่วยกลุ่มนี้มาดูว่า ในบรรดาผู้ที่เป็นใหลตายนั้น มีประเด็นที่จะบอกไหมว่าแบบนี้นะหรือแบบนั้นนะที่จะเกิดการช็อกไฟฟ้ามาก (ช็อกแบบสมเหตุสมผลด้วยนะ) นั่นคือแสดงว่าเกิดคลื่นไฟฟ้าผิดจังหวะมาก แสดงว่า..เสี่ยงตายมากนั่นเอง
การศึกษานี้เน้นที่ พันธุกรรมที่ผิดปกติย่อยจาก SCN5A เรียกว่า polymorphisms (คำศัพท์จะยากนิดนึง แต่แปลว่า ตัวบ่งชี้พันธุกรรมชนิดไหนของใหลตาย ที่บอกว่าจะมีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติมาก จะถูกช็อกไฟฟ้ามาก และ โอกาสเสียชีวิตมากนั่นเอง)
ปกติยีนนี้พบประมาณไม่เกิน 0.08% ในประชากรทั่วไป และถ้าคัดกลุ่มคนที่มีอาการใหลตายหรือประวัติครอบครับใหลตายจะพบยีนนี้สูงถึง 25% ดังนั้นการเจอยีนนี้จึงมีความสำคัญมากๆเลย ในการที่จะพยากรณ์โรคและบอกความสำเร็จในการรักษาด้วยเครื่องช็อกหัวใจแบบฝังติดตัว
และส่วนย่อยต่างๆของยีน SCA5A นั้นเป็นอย่างไร มีผลกับโรคอย่างไร
รายละเอียดการศึกษาผมไม่กล่าวถึงนะครับ แต่จะติดลิงค์มาให้ เป็นลิงค์อ่านได้ไม่เสียเงินจาก Journal of American Heart Association เมื่อ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา
http://jaha.ahajournals.org/content/6/6/e005009
สรุปว่าในคนที่เป็นใหลตายแล้ว ถ้าพบยีน SCN5A- R1193Q จะพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดจังหวะได้มาก มีการช็อกไฟฟ้าสูง (สูงกว่า H558R ชัดเจน) และเช่นเดียวกันมีอัตราการรอดน้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่พบยีนแบบนี้ การค้นพบนี้เป็นหนึ่งในการแกะปริศนาใหลตายและช่วยชีวิตคนได้อีกมากมาย โดยเฉพาะโรคนี้ที่มักเกิดในอาเซียนเรา
เอาไปใช้ได้อย่างไร..ในยุคที่เราเข้าถึง การรักษาเฉพาะคน (precision medicine) การที่เราพบยีนที่เฉพาะเจาะจง จะบอกได้ว่ากลุ่มคนกลุ่มนี้คงต้องติดตามหรือเน้นเรื่องการใส่อุปกรณ์การช็อกไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ห้ามขาด และเน้นเรื่องความเสี่ยงการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยเฉพาะเกลือแร่ในเลือดผิดปกติครับ เรียกว่าถ้าพบโรคนี้คงต้องวิเคราะห์กันระดับยีนแล้ว เพื่อวางแผนการรักษา
และยังคงต้องรอการศึกษาขนาดใหญ่กว่านี้ คิดว่าทางกลุ่มผู้วิจัยคงกำลังเดินหน้าทำต่อไป แอบเห็นอาจารย์แฟนเพจที่เคารพคือหนึ่งในผู้วิจัยด้วย Wichittra Tassaneeyakul
เรียกว่า นักวิจัยไทยเรา สามารถยันสู้กับผีแม่ม่ายได้อย่างอาจหาญ และ มีแนวโน้มว่าสงครามนี้ พวกเราจะ..ชนะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น