ใครรับประทานยาสเตียรอยด์..คุณ..เสี่ยง..กระดูกพรุน
แบบง่ายๆ ภาษาไทย สไตล์ลุงหมอ
ออกมาแล้วและแชร์กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ สำหรับ แนวทางการดูแลโรคกระดูกพรุนอันเกิดจากยาสเตียรอยด์ จาก วิทยาลัยแพทย์โรคข้ออเมริกา american colleges of rheumatology ละเอียดมากครับ เอาล่ะละเอียดๆต้องอ่านเอง หรือ ไปตามลิงค์ด้านล่าง จาก ต้องตรวจต่อมครับ
https://www.rheumatology.org/Portals/0/Files/Guideline-for-the-Prevention-and-Treatment-of-GIOP.pdf
สำหรับประชาชนทั่วไปเราต้องรู้อะไรบ้าง เอ้า..มาดูกัน
1. ไม่ว่าท่านจะเป็นหญิงเป็นชายเป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ เมื่อใดก็ตามมีการใช้ยาสเตียรอยด์ ก็ต้องประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนเสมอนะครับ ส่วนว่าประเมินแล้วทำอย้างไรต่อก็ว่ากันต่อไป แต่ละกลุ่มอายุและเพศประเมินต่างกันเล็กน้อย
2. ใช้ยามาก ใช้ยาน้อย ใช้ยาสั้น ใช้ยานาน ต่างกันไหม ... ต่างกันนะครับ ใช้มากใช้นาน ก็เสี่ยงมากกว่า แต่ว่าใช้น้อยๆก็ยังเสี่ยงนะครับ ปัจนุบันก็นิยมให้มากให้เร็วแล้วถอนออกมากกว่า แต่ว่าแค่ใช้สั้นๆสามเดือนหกเดือน ก็เพิ่มความเสี่ยงแล้ว น้อยที่สุดตามแนวทางคือ กินยา prednisolone มากกว่าวันบะครึ่งเม็ดต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 เดือน
3. ใช้ข้อมูลหลายอย่างมาประเมิน เช่นอายุ เพศ ขนาดยาสเตียรอยด์ ระยะเวลา โรคร่วม ค่ามวลกระดูก โอกาสล้ม (WHO FRAX score) เพื่อแยกกลุ่มว่าต้องรักษาหรือไม่ตามความเสี่ยงที่เกิด
4. การรักษาเป็นการชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียของการเกิดกระดูกพรุนกระดูกหัก และ การใช้ยาในระยะยาวนาน ผลข้างเคียง ราคายา จึงต้องคุยกับแพทย์ผู้รักษานะครับ เพราะนี่คือการป้องกันโรคที่ยังไม่เกิดแต่ว่าอาจจะเกิดในอนาคต และป้องกันก็อย่างน้อย 5 ปี หรือจนกว่าจะหยุดยาสเตียรอยด์และเสี่ยงต่ำๆด้วย จะเห็นว่า กลุ่มคนที่ต้องใช้ยาจะมีมากกว่าไม่ต้องใช้ยานะครับ
5. อย่าลืมการรักษาพื้นฐาน เลิกบุหรี่ ลดเหล้า(แหมไม่อยากใช้คำนี้เลย อยากใช้คำว่าหยุดมากกว่า ในแนวทางเขียนถ้าดื่มมากว่า 2 ดื่มมาตรฐานจึงเสี่ยง แต่ผมว่าถ้าจะหยุดเสี่ยงก็หยุดเหล้าเถอะ) ออกกำลังกายกลางแจ้ง โดนแดดบ้าง กินอาหารครบห้าหมู่ วิตามินดีและแคลเซียมต้องพอ (แนะนำ นม ครับ หาง่ายราคาถูก)
6. ยาเม็ดแคลเซียมและวิตามินดี (อาจใช้วิตามินรวมได้) คือพื้นฐานของการรักษาในกรณีได้รับยาสเตียรอยด์ และในการให้ยาอื่นๆก็ต้องได้แคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอด้วย อาจใช้แคลเซียมและวิตามินดีอย่างเดียวได้ในกรณีเสี่ยงต่ำและอายุน้อย
6. ยาที่ใช้รักษาหลักคือ ยา bisphosphonates ยาที่ทรงพลังมากในการรักษาและป้องกัน ในคำแนะนำจะใช้ยากินก่อนจะครับ อาทิเช่น residronate alendronate หาได้ง่าย ราคาไม่แพง ผลข้างเคียงไม่มากนัก ถ้าใช้ไม่ได้หรือมีข้อที่จะเปลี่ยนจึงเปลี่ยนจึงเปลี่ยนเป็น ยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำเช่น zoledronate หรือใช้ยากลุ่มอื่น teriperatide หรือยาแพง monoclonal antibody ชื่อ denozumab หรือยากลุ่มฮอร์โมนคือ Raloxifene
7. ใช้ยาไป ประเมินไป วัดมวลกระดูกซ้ำ ประเมินความเสี่ยงซ้ำ ถ้าหยุดยาสเตียรอยด์และเสี่ยงกระดูกหักต่ำๆ ก็พิจารณาหยุดยากระดูกพรุน ถ้าเสี่ยงสูงต้องให้ยาต่อ ถ้ายังได้สเตียรอยด์ก็ประเมินต่อ ให้ยาต่อ สำคัญคือต้องประเมินความเสี่ยง ประโยชน์และโทษจากยาสม่ำเสมอครับ
8. แนวทางนี้ออกมาชัดเจนกว่าแต่ก่อน และ มีรูปแบบการจำกัดความ การประเมิน การตรวจ และการรักษา ชนิดของยา ชัดเจนมาก มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องนานๆ เช่น โรคเอสแอลอี โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคไตอักเสบเรื้อรัง
ซึ่งแต่ก่อนไม่ชัดเจนแบบนี้ครับ
9.ถ้ากระดูกพรุนและหักแล้ว..ก็ไม่ต้องมาประเมินความเสี่ยงนี้ เพราะต้องรักษาตามมาตรฐานกระดูกพรุนอยู่แล้ว และถ้ายังใข้ค่อก็จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงทันที ต้องประเมินทุกครั้งไป
10. อยากจัดมีตติ้งอีกจังเลย นิทานสนุกๆ ประวัติศาสตร์การแพทย์มันๆ ดีไม๊น้าา
สำหรับรายละเอียดที่ย่อยแล้ว ก็ต้องนี่เลยครับ ต้อง ตรวจ ต่อม สรุปมาครบและใช้ได้จริง ขอทำลิงค์มาให้นะครับ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1897378107199530&id=1731812183756124
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น