trimethylamine N-oxide (TMAO) เป็นสารโปรตีนเราพบมากในสัตว์ทะเลโดยเฉพาะในปลาทะเลน้ำลึก นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเชื่อว่านี่เป็นโปรตีนที่ทำให้ร่างกายสมดุลจากการที่อยู่ในทะเลแล้วต้องมีการสร้างโปรตีนยูเรียขึ้นมา จึงต้องมีโปรตีนนี้คอยสมดุลกัน การศึกษาและวิจัย TMAO นั้นมีมานานแล้วแต่ส่วนมากทำในสัตว์ และพบว่าการย่อยสลาย TMAO ไปเป็น TMA ในสัตว์ทะเลคือเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์ทะเลมีกลิ่นของอาหารทะเล คือกลิ่นจาก TMA นั่นเอง
ในคนเราก็พบ TMAO เช่นกัน เรามีโรค trimethylaminuria คือปัสสาวะ เหงื่อ ลมหายใจมีกลิ่นสัตว์ทะเล โดยเฉพาะปลาทะเลเนื่องจาก เอ็นไซม์ FMO3 ในตับ (flavin containing monooxygenase 3) บกพร่องไป ร่างกายจึงไม่สามารถเปลี่ยนTMA ไปเป็น TMAO ได้ เราจึงมีกลิ่นของสัตว์ทะเล
แล้วร่างกายคนเรามี TMA และ TMAO ได้อย่างไร ก็เพราะว่า gut microbiota จะย่อยสลาย phosphatidylcholine, carnitine ในอาหารไปเป็น TMA หลังจากนั้นเอนไซม์ FMO3 จากตับจะเปลี่ยน TMA ไปเป็น TMAO
phosphatidylcholine หรือ lecithin และ carnitine ก็จะพบในเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อแดง ถั่วเหลือง อาหารเสริม เครื่องดื่มให้พลังงาน ไข่แดง และยังพบอีกว่าปริมาณเส้นใยในผักผลไม้ จะช่วยลด TMAO ลงได้
*** หยุดตรงนี้ก่อน จะเห็นว่า TMAO ในร่างกายมาจากหลายขั้นตอน อาจเกิดจากอาหารที่เข้าไปมาก หรือ เหลือ phosphatidylcholine ไปถึงลำไส้มาก หรือ แบคทีเรียมันมาก (โดนเฉพาะกลุ่ม Clostridias และ Ruminococcus) หรือร่างกายสังเคราะห์ TMAO ผิดพลาดจากระบบเอนไซม์***
ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา เรามีงานวิจัยที่ออกมามากมายว่าเราพบ "ความสัมพันธ์" ของระดับ TMAO ที่สูงขึ้น กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด พบ TMAO ที่สูงขึ้นในผู้ป่วยหัวใจวายที่แย่ลง พบ TMAO ที่สูงขึ้นในผู้ป่วยไตเสื่อม
หมายความว่ากลุ่มคนที่แย่ลงจากโรคพวกนี้ พบระดับ TMAO ที่สูงกว่าคนที่ไม่แย่ลง อย่างชัดเจน เป็นไปในทางเดียวกันในทุกๆการศึกษาไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ และการพบระดับ TMAO ที่สูงก็ไปด้วยกันกับการเกิด atherosclerosis คือหลอดเลือดแดงแข็งตัว จากไขมัน จากการอักเสบทั้งหลาย เช่น หลอดเลือด internal carotid ที่คอที่หนาขึ้น เช่นระดับไลโปโปรตีนสำคัญที่ก่อโรคหัวใจสูงขึ้น
งานวิจัยโดยคนไทย อ.วิชัย เส้นทอง พบว่าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง ที่พบ TMAO ในเลือดสูงจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มที่ TMAO ปรกติถึง 4 เท่า
งานวิจัยต่างๆเหล่านี้บอกได้ถึง "ความสัมพันธ์" ที่ชัดเจนของโรคหลอดเลือด กับ ระดับ TMAOในเลือด แต่ยังไม่ได้บอกความเป็นเหตุเป็นผลที่ชัดเจน ยังคงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และเมื่อศึกษามากขึ้นหลายๆงานก็พบ TMAO เกี่ยวข้องกับอัตราการเสียชีวิตมากขึ้นในโรคปอดอักเสบติดเชื้อโดยไม่เกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือ phosphatidylcholine,lecithin ในอาหารที่ต่างชนิดกัน ก็ไม่ได้สางผลต่อหัวใจและหลอดเลือดเหมือนกันเสียหมด เมื่อทำเป็นกลุ่มย่อยๆลงไป
คงยังบอกได้แต่เพียงว่า "ระดับ" ของ TMAO มี "ความสัมพันธ์" กับการเกิดโรคหลอดเลือดอย่างชัดเจน
ยังคงต้องรอการศึกษาอีกมาก (แต่ก็ไม่ง่ายเพราะการวัดระดับ TMAO ไม่ง่ายเอาเสียเลยและราคาวิจัยแพงมาก) และต้องรอการศึกษาว่าถ้าเราลด TMAO ลงจะพบอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดและหัวใตลดลงหรือไม่ และการลดลงนั้นเป็นจาก TMAO ที่ลดลงไม่ว่าวิธีใด หนลรือว่าจะเฉพาะเจาะจงกับวิธีใดวิธีหนึ่ง อันนี้คงต้องรอกันต่อไปนะครับ จะยังมีการศึกษาออกมาอีกมาก ทาง Thai Heart คงจะเกาะติดสถานการณ์แน่นอน
เมื่ออ่านจบแล้วก็อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเนื้อแดงไม่ดี ไข่แดงมันแย่ และพาลไม่รับประทานนะครับ เพราะอย่างที่แจ้งยังต้องศึกษาในรายละเอียดอีกหลายขั้นตอน และถึงแม้เราจะเชื่อจริง พิสูจน์จริงว่า TMAO มันคือสาเหตุ ไม่ได้หมายความว่าการลด TMAO อย่างเดียงแล้วโรคจะลดลง อย่าลืมสิ่งที่ควรจะทำซึ่งพิสูจน์แล้ว อาทิ การลดไขมันอิ่มตัว การลดไขมันทรานส์ การกินปลาทะเลสัปดาห์ละสองถึงสามครั้ง การงดบุหรี่ เลิกเหล้า ลดน้ำหนักให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์พอดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินยา statin เมื่อมีความจำเป็น
ประโยชน์อื่นๆของเนื้อนมไข่ ก็ยังมีนะครับ และมีมากด้วย
ที่มา
1.TMAO and Prognosis in a COURAGE-Like Cohort ORIGINAL RESEARCH Senthong et al J Am Heart Assoc. 2016;5:e002816 doi: 10.1161
2.Trimethylamine N-Oxide: The Good, the Bad and the Unknown. Toxins 2016, 8, 326
3.Prognostic Value of Elevated Levels of Intestinal Microbe-Generated Metabolite Trimethylamine-N-Oxide in Patients With Heart Failure. JACC VOL. 64, NO. 18, 2014
4.Trimethylamine N-Oxide as a Novel Therapeutic Target in CKD.J Am Soc Nephrol 27: 8–10, 2016.
5.Suzuki T, Heaney LM, Bhandari SS, et al .Trimethylamine N-oxide and prognosis in acute heart failure .Heart Published Online First: 11 February 2016. doi: 10.1136/heartjnl-2015-308826
6.wikipedia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น