31 ตุลาคม 2561

ภาพแสดงลิ่มเลือดลอยไปอุดตันในหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ปอด

ลิ่มเลือดลอยไปอุดตันในหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ปอด acute pulmonary embolism
หนึ่งในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนทางอายุรกรรมที่วินิจฉัยยากที่สุดและอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด รับรองติด 10 อันดับอย่างแน่นอน เพราะอาการ อาการแสดงมันไม่มีความเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
เป็นสิ่งที่ต้องคิดเอาไว้ในใจตลอดเวลา หากมีผู้ป้วยระบบหายใจและหัวใจล้มเหลว
...
ภาพด้านซ้ายคือ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดทรวงอก ที่วงสีเหลืองคือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ปอดด้านซ้ายและขวา ที่ปกติดี ไม่มีลิ่มเลือดไปอุด
ส่วนภาพด้านขวา เป็นภาพเอ็กซเรย์จริงจากผู้ป่วย แสดงให้เห็นว่าในหลอดเลือดมันไม่เต็ม ๆ สวย ๆ และมีอะไรสีเทา ๆไปอุดไว้ แม้จะไม่ได้ตัน 100 % แต่ก็อุดเกือบตัน สิ่งนั้นคือลิ่มเลือดที่ไปอุดถึงสองข้างในเวลาเดียวกัน
ผู้ป่วยอายุประมาณ 70 มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด มีอารการเหนื่อย ๆ เวลาออกแรงมาแล้ว 3 วัน วันนี้เหนื่อยมาก เจ็บหน้าอก ตรวจร่างกายพบหัวใจโต ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเหมือนมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจจากการขาดเลือด ตรวจเอนไซม์ที่ไวต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ขึ้นสูงเล็กน้อย
เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป๊ะเลย .... ความอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้ว 77% ให้ออกซิเจนมากสุด ขึ้นมาที่ระดับ 85% เท่านั้น
เหลือบมองคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบลักษณะที่ตำราชอบเขียน แต่พบไม่บ่อยคือ S1Q3T3 และผลตรวจ d-dimer สูงมาก (แสดงว่าเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย) และไปถ่ายเอ็กซเรย์พบลิ่มเลือดอุดตันดังภาพ
เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตยังทำงานได้ดี จึงไม่เรียกว่า massive pulmonary embolism เป็นการใช้ศัพท์ที่ไม่ตรงนัก massive ที่ควรแปลว่าขนาดใหญ่ หรือจำนวนมาก แต่กลับไม่ใช่ในโรคนี้ จะเรียกว่า massive เมื่อระบบไหลเวียนโลหิตเริ่มผิดปกติ ซึ่งถ้าผิดปกติต้องผ่าตัดหรือรักษาผ่านสายสวนหรือให้ยาละลายลิ่มเลือด
แต่ถ้าไม่ massive ให้ประคับประคองและให้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวต่อเนื่องต่อไป รวมทั้งหาสาเหตุการเกิดลิ่มเลือดด้วย
ดูเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม