โรคใหลตาย เรื่องราวของปริศนาการตายไร้ร่องรอย
หลายปีก่อน จริงๆก็ 25 ปีก่อนประเทศไทยมีข่าวชายชาวอีสานหลายคน ถึงแก่ความตายแบบปริศนาร่างกายแข็งแรงดีๆ ตอนเช้าพบว่าตายแล้ว ไม่มีบาดแผล ไม่มีร่องรอยการทำร้าย ไม่มีพิษ มักจะเป็นผู้ชายวัยเลขสามปลายๆ ถึงสี่ต้นๆ มักจะเป็นแล้วเป็นอีกในชุมชน เครือญาติ และมีรายงานข่าวชายไทยที่ไปทำงานต่างแดน สิงคโปร์ มาเลย์ ไต้หวัน ตะวันออกกลาง ก็ตายแบบนี้ สมัยนั้นข่าวดังมากว่า "ผีแม่ม่าย" มาเอาตัวชายเคราะห์ร้ายเหล่านั้นไป ถึงขั้นเอาเสื้อสีๆ เขียนประกาศให้คนรู้ว่า บ้านนี้หนามีชายอกหัก...ไม่ใช่ละ..เขียนว่าบ้านนี้มีแต่หมาแมว เอาปลัดขิกอันโตๆมาแขวนหน้าบ้านให้ผีแม่ม่ายเอาปลัดขิกไปแทน..หรือแม้แต่ให้ชายแต่งเป็นหญิงเพื่อหลอกผีแม่ม่ายให้หลงเพศ
....แต่ผีแม่ม่ายก็ยัง เอาชีวิตเขาเหล่านี้ต่อไป..
....แต่ผีแม่ม่ายก็ยัง เอาชีวิตเขาเหล่านี้ต่อไป..
ปี 1992 หรือ พ.ศ. 2535 มีรายงานเคสเหล่านี้มากขึ้น จนได้ไปสะดุดความสนใจของหมอที่กำลังทำวิจัย คือคณะทำงานของอาจารย์สุมาลี นิมมานนิตย์, อาจารย์กัมปนาท วีรกุล และอาจารย์กุลวีร์ เนตรมณี ขณะนั้นท่านอาจารย์สุมาลี ทำการศึกษาเรื่องนิ่วในคนอีสานอยู่พอดี ...ผมได้ทันเรียนกับ อ.สุมาลี ครับ อาจารย์เป็นครูอันประเสริฐจริงๆ... จึงได้ริเริ่มศึกษากลุ่มคนที่เคยรอดจากเหตุใหลตายและครอบครัวก็เริ่มพบคำอธิบาย
ทางคณะทำงานของ อ.กุลวีร์ ได้พบว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจของคนกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ตรงกับที่ professor Pedro Brugada และ Joseph Brugada ได้รายงานผู้ป่วยแบบเดียวกันนี้ 8 ราย คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเดียวกัน ทั้งหมดมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเนื่องจากกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดจังหวะแบบ ventricular tachycardia
และตรงๆกันกับที่รายงานทั้งโลก พบมากในคนเอเชีย หรือในคนเอเชียที่ไปทำงานต่างแดน แรงงานไทย แรงงานลาว ฟิลิปปินส์ ..จึงได้มีการศึกษามากขึ้นจนทราบเรื่องราวของโรคนี้ลึกไปถึงระดับพันธุกรรม ความเสี่ยง และการรักษา เรียกโรคนี้ตามชื่อ สองพี่น้องที่พบโรคนี้ว่า Brugada Syndrome
ทางคณะทำงานของ อ.กุลวีร์ ได้พบว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจของคนกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ตรงกับที่ professor Pedro Brugada และ Joseph Brugada ได้รายงานผู้ป่วยแบบเดียวกันนี้ 8 ราย คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเดียวกัน ทั้งหมดมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเนื่องจากกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดจังหวะแบบ ventricular tachycardia
และตรงๆกันกับที่รายงานทั้งโลก พบมากในคนเอเชีย หรือในคนเอเชียที่ไปทำงานต่างแดน แรงงานไทย แรงงานลาว ฟิลิปปินส์ ..จึงได้มีการศึกษามากขึ้นจนทราบเรื่องราวของโรคนี้ลึกไปถึงระดับพันธุกรรม ความเสี่ยง และการรักษา เรียกโรคนี้ตามชื่อ สองพี่น้องที่พบโรคนี้ว่า Brugada Syndrome
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของช่องทางการนำไฟฟ้าระดับเซล ของกล้ามเนื้อหัวใจ ผิดปกติที่ยีน SCN5A บนโครโมโซมคู่ที่สาม ทำให้เมื่อถูกกระตุ้นหรือวันดีคืนร้าย ก็จะเกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพายุถล่มในหัวใจ จนหยุดเต้น..ใหลตาย
พบในชายมากกว่าหญิงแปดเท่า..ถึงว่าไม่ค่อยมีผีพ่อม่าย.. ประเด็นเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่สำคัญคือ การดื่มเหล้า เกลือแร่ในเลือดที่ผิดปกติมากๆโดยเฉพาะเกลือแร่โปแตสเซียมที่ต่ำบ่อยๆ และแมกนีเซียม ส่วนมากก็จากกินเหล้าอีกแหละครับ และคนที่ไปทำงานต่างแดน ขาดการออกกำลังกาย กินแป้งมาก เหล้ามาก โอกาสใหลตายก็จะเพิ่มมากขึ้น
ประเทศไทยได้ทำการศึกษาสำคัญเลยนะครับ เพราะพบบ่อยนั่นเอง คือการศึกษา DEBUT และ SUDSPAC ส่วนการรักษาและการทดสอบนั้น ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการเขียนครับ บอกว่าพอรักษาและป้องกันได้จากการใส่อุปกรณ์การช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าติดไว้กับตัว (Intracardiac converter defibrillator) มีวารสารตีพิมพ์มากมายที่มาจากประเทศไทยครับ
พบในชายมากกว่าหญิงแปดเท่า..ถึงว่าไม่ค่อยมีผีพ่อม่าย.. ประเด็นเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่สำคัญคือ การดื่มเหล้า เกลือแร่ในเลือดที่ผิดปกติมากๆโดยเฉพาะเกลือแร่โปแตสเซียมที่ต่ำบ่อยๆ และแมกนีเซียม ส่วนมากก็จากกินเหล้าอีกแหละครับ และคนที่ไปทำงานต่างแดน ขาดการออกกำลังกาย กินแป้งมาก เหล้ามาก โอกาสใหลตายก็จะเพิ่มมากขึ้น
ประเทศไทยได้ทำการศึกษาสำคัญเลยนะครับ เพราะพบบ่อยนั่นเอง คือการศึกษา DEBUT และ SUDSPAC ส่วนการรักษาและการทดสอบนั้น ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการเขียนครับ บอกว่าพอรักษาและป้องกันได้จากการใส่อุปกรณ์การช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าติดไว้กับตัว (Intracardiac converter defibrillator) มีวารสารตีพิมพ์มากมายที่มาจากประเทศไทยครับ
ผมทำลิงค์ที่เป็น วารสารรายงานการพบผู้ป่วยครั้งแรกของ professor Brugada, บทความเรื่องการรักษาโดย professor Brugada เขียนเองเลยครับ ในปี 2009, และบทความของ อ.กุลวีร์ เกี่ยวกับเรื่องราวของ brugada ในไทยครับ
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/073510979290253J?via%3Dihub
https://www.escardio.org/Journals/E-Journal-of-Cardiology-Practice/Volume-7/Management-of-patients-with-a-Brugada-ECG-pattern
https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://www.bangkokmedjournal.com/sites/default/files/fullpapers/2010-1-Veerakul.pdf&ved=0ahUKEwiQp72t_M_OAhXLs48KHe6PCHkQFggwMAQ&usg=AFQjCNGAKra453mMKODXL0E1Dbt-onOiAQ&sig2=HD-JVfdtN5x90iHO5s07NQ
ผมเจอผู้ป่วยหนึ่งรายเมื่อสามสัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยเป็นชาวอีสานไปทำงานไต้หว้น เคยวูบๆสามครั้งแล้ว ติดเหล้า กลับมาเยี่ยมบ้านจึงส่งมาปรึกษา เพิ่งอ่าน facebook ของ อ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ ที่ไปคัดกรองโรคนี้ที่อิสราเอล จึงไปศึกษาเพิ่มเติมและเล่าให้ท่านฟังครับ
สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น