10 สิงหาคม 2559

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากถ้าป้องกันได้ไม่ดีและวินิจฉัยช้า ถึงแม้วินิจฉัยได้เร็วก็ยังเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากๆอยู่ดี แต่ในทางตรงกันข้ามเรามีวิธีที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้เกือบๆ 100%

สาเหตุหลักๆของการตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้าทั้งๆที่เราสามารถป้องกันได้เกือบๆร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น เป็นสาเหตุในเชิงเทคนิคมากกว่าครับ อย่างแรกคือ เกือบร้อยละ 40ของผู้ติดเชื้อเป็นเด็ก ที่มักจะไม่บอกผู้ปกครองหรือผู้ปกครองก็คิดว่าไม่เป็นอะไร สาเหตุที่ตามมาคือ การดูแลแผลที่ไม่ดี ต้องล้างสบู่ฟอกแผลมากๆ จำไว้เลยครับ และเหตุในเรื่องการเข้าถึงวัคซีน และการฉีดซีรุ่ม เราฉีดซีรุ่มกันน้อยเกินไปทั้งๆที่จำเป็นครับ จริงอยู่ว่าการฉีดวัคซีนนั้นก็จะสามารถป้องกันโรคได้ดีมากแต่ก็ไม่ทั้งหมด กว่าที่เราจะรอให้แอนติบอดีของเราทำงาน บางครั้งก็สายเกินไปโดยเฉพาะกับบาดแผลใหญ่ๆ หรือบาดแผลบริเวณใบหน้าและลำคอ

ในกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น สัตวแพทย์ นักวิจัยสัตว์ ไปรษณีย์ นักเลงเก็บเงินกู้ นักท่องเที่ยวแบ็กแพ็ก ที่เสี่ยงต่อการถูกสุนัขกัดก็อาจจะต้องฉีดวัคซีนเอาไว้ก่อนนะครับ เรื่องการฉีดก่อนนี่ผมจะไม่ได้กล่าวถึงวันนี้ครับ แต่จะมาพูดถึงการฉีดหลังจากถูกกัด
จะแบ่งการสัมผัสสัตว์ออกเป็นสามแบบนะครับ

แบบที่หนึ่ง สัมผัสตามปกติ มีการเลียผิวหนังที่ปิดสนิทดี อันนี้ไม่ต้องฉีดนะครับ
แบบที่สอง ข่วน ขบ กัด เป็นรอยถลอก หรือสัตว์เลียถูกผิวหนังส่วนที่เป็นแผล ให้วัคซีนนะครับ
แบบที่สาม กัดหรือข่วนเป็นแผล สัมผัสน้ำลายของสัตว์ในปากตัวเอง หรือ ถูกสัตว์ที่เชื้อแรงสุดกัด คือ ค้างคาว อันนี้ต้องฉีดทั้งวัคซีนและซีรุ่ม

โอเค สามกลุ่มนี้ต้องล้างแผลด้วยสบู่มากๆๆ และเช็ดด้วยสารละลายโพวิโดนไอโอดีนด้วย ในกรณีที่เคยได้ครับวัคซีนมาแล้วก็แค่ฉีดกระตุ้น เข็มแรกวันที่ถูกกัด เข็มสองในอีกสามวันให้หลัง แต่ถ้ายังไม่เคยฉีดมาก่อน...ย้ำว่าต้องฉีดนะครับ ปัจจุบันในประเทศไทยโดยสภากาชาดไทยนั้น ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้วัคซีนโดยการฉีดใต้ผิวหนังแทนการฉีดด้วยการฉีดเข้ากล้าม ได้ผลดีมากๆนะครับ เป็นงานวิจัยที่ยิ่งใหญ่ได้ทั้งประสิทธิภาพวัคซีนในขนาดสูงและประหยัดไปหลายเท่า ทาง WHO ก็แนะนำให้ใช้สูตรนี้ คือ 2-2-2-0-1-1 ฉีดเข้าใต้ผิวหนังวันแรกสองจุด วันที่สามฉีดสองจุด วันที่เจ็ดฉีดสองจุด ไม่ต้องฉีดวันที่สิบสี่ (เดิมมีฉีดวันที่สิบสี่) วันที่สามสิบฉีดหนึ่งจุด และกระตุ้นอีกหนึ่งเข็มในหกสิบหรือเก้าสิบวัน เข็มหนึ่งแค่ 0.1 ซีซี เองครับไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ VeroLab หรือ Rabipur
ส่วนการฉีดซีรุ่ม ---ถ้าจำเป็นต้องฉีดนะครับ-- ปัจจุบันเราใช้ซีรุ่มที่มาจากการสังเคราะห์ใกล้เคียงซีรุ่มคนมากๆแล้ว ไม่เหมือนแต่ก่อนที่เราเอาซีรุ่มมาจากม้า ปฏิกิริยาที่เกิดจากการฉีดซีรุ่มจึงดลงอย่างมากครับ ปลอดภัยมากขึ้นเยอะเลย ในขนาด 20 iU ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ฉีดวันแรกที่ฉีดวัคซีน แต่ว่าฉีดคนละตำแหน่งกันนะครับ คือจะฉีกรอบแผลที่เหลือก็ลงที่ต้นขา
สำคัญที่ต้องรีบรักษาครับ งูกัดเรายังรีบไปหาหมอได้เลย แต่หมากัดเรากลับละเลย งูกัดถ้าเป็นพิษนั้นร่างกายกำจัดพิษเองได้ แต่หมาแมวกัด ถ้าติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า..ตายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ

ที่มา
Safety and immunogenicity of the intradermal Thai red cross (2-2-2-0-1-1) post exposure vaccination regimen in the Indian population using purified chick embryo cell rabies vaccine. Indian J Med Microbiol. 2005 Jan;23(1):24-8

Rabies Update for Travel Medicine Advisors. Clinical Infectious Diseases 2003; 37:96–100

http://www.who.int/rabies/human/postexp/en/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม