ข่าวสั้นๆเรื่องการคัดกรองมะเร็งไทรอยด์...เช้านี้
วารสาร JAMA ลงบทความเรื่อง ผลการศึกษาของการคัดกรองมะเร็งไทรอยด์ ตกลงมีประโยชน์ไหม โดยการศึกษาจาก USPSTF หน่วยงานเพื่อวางแผนการคัดกรองโรคและป้องกันโรคของอเมริกา
เป็นการรวบรวมการศึกษาที่มีอยู่ประมาณ 700 การศึกษาเอามาวิเคราะห์เพื่อดูภาพใหญ่ภาพรวม เพื่อตอบคำถาม 5 อย่างเรามาดูกันสั้นๆ ใครสนใจฉบับเต็ม หาโหลดได้จากที่นี่ ฟรีเช่นเคย
http://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2625325
1. การคัดกรองสามารถลดอัตราการตาย การพิการ ได้ไหม เมื่อเทียบกับคนไม่คัดกรอง
คำตอบที่ได้คือ ยังไม่มีการศึกษาที่ออกแบบโดยตรงมาตอบคำถามตรงนี้ แต่จากการรวบรวมตอนนี้ ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าการคัดกรองจะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
2. วิธีใดที่แม่นยำ คำตอบคือ การใช้อัลตร้าซาวนด์ที่ต้องการดูความผิดปกติของมะเร็งโดยเฉพาะร่วมกับการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ เป็นวิธีคัดกรองที่ไวที่สุด แต่ทว่า กลุ่มการศึกษายังไม่มากพอที่จะตอบคำถามในคนหมู่มาก และเนื่องจากมันไวมาก โอกาสที่จะวินิจฉัยเกินก็สูง เพราะไม่จำเพาะเจาะจงเท่าไร
3. แล้วการคัดกรองที่ว่า มันอันตรายไหม ก็ไม่มีอันตรายรุนแรง เพียงแต่นำพาไปสู่การตรวจเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
4.แล้วถ้าเอาคนที่คัดกรองว่าใช่ มารักษาแล้ว อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งไทรอยด์ลดลงไหม คำตอบคือ ยังไม่มีการศึกษาที่ออกแบบหาความคุ้มค่าที่ชัดเจนแบบนั้น แต่จากข้อมูลที่มี ยังไม่ลดอัตราการเสียชีวิตหรือพิการ เพราะที่เจ้ามาในการศึกษาส่วนมากเป็นมะเร็งที่การพยากรณ์โรคดี จะคัดหรือไม่คัดกรอง ผลก็ยังดี
5. แล้วจากข้อสี่ ผลดีไม่ปรากฏ ผลเสียมีไหม ปรากฏว่าผลเสียทั้งจากการผ่าตัดและการรักษาด้วยการกลืนแร่นั้น มีผลข้างเคียงบ้างแต่ก็ไม่ได้มากไปกว่าอัตราการเกิดตามปกติ ข้อมูลที่ได้ยังมีความแปรปรวนและไม่ได้ออกแบบมาสังเกตผลเสียอย่างตรงๆ
สรุปว่ายังไม่เห็นผลประโยชน์จากการคัดกรองมะเร็งไทรอยด์กับทุกๆคนที่ไม่มีอาการ **ในขณะนี้** และอาจมีผลเสียคือ ได้รับการรักษาที่ไม่จำเป็นและการตรวจเพิ่มที่ไม่จำเป็น โดยไม่ได้ประโยชน์มากขึ้น ถึงผลเสียของการคัดกรองและการรักษาจะไม่ได้รุนแรงก็ตาม
ยังไม่แนะนำให้คัดกรองในผู้ที่ไม่มีอาการครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
เล่าเรื่องเชื้อดื้อยา มนุษย์เราได้มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมาตั้งแต่ยุคของอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง จนถึงปัจจุบันก็ยังต้องพัฒนาต่อไป เพร...
-
คำถามจากทางบ้าน : น้ำอสุจิมีมดตอม แบบนี้ เป็นเบาหวานไหม อย่างแรกคนที่ถามคำถามนี้เป็นสุภาพสตรี ต้องนับถือในความช่างสังเกตสิ่งรอบตัวจริง ๆ ค...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น