เขียนได้ตรงใจดีครับ ในมุมมองผม ไม่มีหมอคนไหนด้อยกว่ากัน หมอทั่วไปก็รักษาคนไข้ หมอเฉพาะทางก็รักษาคนไข้ พยาบาลก็รักษาคนไข้ เภสัชก็รักษาคนไข้ จุดหมายปลายทางของบุคลากรสาธารณสุขไม่ว่าระดับใด คือ ชีวิตและคุณภาพชีวิตของคน ไม่ว่าจะเป็นคนไข้ หรือ คนทั่วไป โดยใช้ศาสตร์ๆหนึ่ง ...เรามาแบ่งแยกกันเองว่านี่เป็นศาสตร์หมอ ศาสตร์พยาบาล ศาสตร์เภสัช แล้วพวกเราเองก็ยังแยกกันเองไปอีก ว่าเป็นศาสตร์อายุรกรรม ศาสตร์อายุรกรรมวิกฤต ศาสตร์อายุรกรรมวิกฤติสาขาทางเดินหายใจ.... เราป็นคนแยกเองทั้งนั้นเพื่อสะดวกในการเรียน..นะครับ แต่เวลารักษาเราใช้ศาสตร์รวมนี้แหละแค่ศาสตร์เดียว
GP...คือแพทย์เช่นกัน ผมเองก็ไม่ได้ทำคลอดเก่งกว่า GP จริงๆแย่กว่าเสียอีก ไม่ได้เย็บแผล ผ่าตัดไส้ติ่งเก่งกว่า GP เคยเห็นน้อง GP ตรวจเด็กเขียน dose ยาเด็ก แล้วยังทึ่ง
ในขณะเดียวกัน GP ก็ดูแลคนไข้เบาหวานไม่ได้ด้อยกว่าผม ดูแลผู้ป่วย stroke ได้ดี ดูแล rheumatoid ก็ใช้ guideline เดียวกัน
ในขณะเดียวกัน GP ก็ดูแลคนไข้เบาหวานไม่ได้ด้อยกว่าผม ดูแลผู้ป่วย stroke ได้ดี ดูแล rheumatoid ก็ใช้ guideline เดียวกัน
แพทย์เฉพาะทางจึงไม่ได้ .."สูงส่ง"..จาก GP ฟังนะครับ ไม่ได้สูงกว่า รู้บางส่วน ..ลึกกว่าเท่านั้นเอง และเราก็ไม่ได้ความลึกรักษาคนไข้ทุกราย เราให้ความเสมอกันในแนวราบที่พื้นราบ ที่เรายืนอยู่ รักษาคน
แพทย์ทุกคน พยาบาล เภสัช นักเทคนิก ทุกคนใช้ความรู้พื้นราบนี้ เท่าๆกัน ไม่มีใครเหนือกว่ากัน
แพทย์ทุกคน พยาบาล เภสัช นักเทคนิก ทุกคนใช้ความรู้พื้นราบนี้ เท่าๆกัน ไม่มีใครเหนือกว่ากัน
คุณลองสังเกตดู ถ้าทีมใด คิดว่า เขาไม่ได้อยู่บนพื้นราบเดียวกัน..คิดว่า..นะครับ (เพราะความจริงมันเท่ากัน) ทีมนั้นมักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการดูแลรักษา ศัพท์ทางเทคนิคเขาเรียก GAP
ตามเพจจ่ามานาน...เพิ่งแชร์ให้เขาก็วันนี้แหละ
"แพทย์เวชปฎิบัติทั่วไป" คำนี้เป็นประเด็นที่คนไทยเข้าใจผิดกันมานาน
คิดว่า เป็นหมอทั่วไป มันจะสู้หมอเฉพาะทางได้เหรอวะ ปะ ไปเรียนต่อเฉพาะทางกันให้หมด
อันนี้จากประสบการณ์ตรงนะ พอบอกไปว่า หมอทั่วไปครับ คนถามก็ทำหน้าเหรอหรา หมอทั่วไปนี่มันหมออะไรน่ะ ไม่เรียนต่อเฉพาะทางเหรอ ไม่ต่อเฉพาะทางแล้วรายได้จะพอเหรอ บลาๆ ไรงี้
(น่าเบื๊อน่าเบื่อคำถามพวกนี้ ถถถถถถถ)
วันนี้เลยอยากอธิบายแบบง่ายๆให้เข้าใจแพทย์เวชปฎิบัติทั่วไปหรือ GP กันซักหน่อย แพทย์เวชปฎิบัติทั่วไปนี่คือ หมอที่ไม่ได้ต่อเฉพาะทาง บทบาทหน้าที่ของหมอทั่วไปคือ ให้การดูแลรักษาโรคทั่วไป และโรคเรื้อรัง พวกเบาหวาน ความดัน ไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคไต เส้นเลือดในสมอง
งานของหมอทั่วไปจะเป็นงานจับฉ่ายที่ครอบคลุมชีวิตคนตั้งแต่เกิดยันตาย คือต้องทำคลอดเป็น หัตถการทั่วไปเกี่ยวกับการทำคลอดต้องได้ เช่น ล้วงรก เจาะถุงน้ำคร่ำ ทำคลอด ขูดมดลูก และให้การรักษาคนไข้ที่มีอาการวิกฤติฉุกเฉินเบื้องต้นได้ คือ ใส่ท่อช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจ ใส่ท่อระบายเลือดในปอด ให้อาการคนไข้คงที่ ก่อนที่จะส่งไปให้ถึงมือของแพทย์เฉพาะทาง
ถ้าเปรียบเทียบกัน งานของหมอเฉพาะทางจะเป็นงานเฉพาะด้านที่ต้องรู้ลึกอย่างถ่องแท้ในสาขานั้นๆ ส่วนแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องรู้ลึกขนาดนั้น แต่ต้องรู้จับฉ่ายรอบด้าน
ดังนั้นไม่ควรบอกว่าอะไรต่ำอะไรสูงกว่า เพราะหมอทั้งสองแบบล้วนมีความจำเป็นให้ระบบสาธารณสุขบ้านเรามันขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างเป็นระบบ
ไม่ใช่แค่หมอเท่านั้น ยังรวมไปถึง จนท สาธารณสุข หมอชาวบ้าน จนท อนามัย จนท ที่ทำงานที่ รพสต พยาบาล บลาๆ ที่เปรียบได้กับกองทัพที่ทำงานกันเป็นกองพัน มี จนท ที่ รพสต (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) เป็นทัพหน้า สัมผัสกับคนไข้และประชาชนเป็นหน่วยแรกๆ ถ้าเกินศักยภาพก็ไปต่อที่ รพ ชุมชน เจอหมอทั่วไป ถ้าโรคหนักเกินศักยภาพ รพช อีกก็ส่งไปเจอหมอเฉพาะทางที่ รพ ศูนย์ ทำกันเป็นระบบแบบนี้แล ซึ่งในแต่ละระดับก็จะมีความรู้ตามที่จำเป็นต้องใช้ในฟิลด์นั้นๆ
ส่วนเรื่ององค์ความรู้ ไม่ควรบอกว่าเพราะเป็นแพทย์ทั่วไปจึงรู้น้อย
เพราะอย่างที่อธิบายว่าแพทย์ทั่วไปกับแพทย์เฉพาะทาง ความรู้กว้างรู้ลึกมันคนละชนิดกัน
ส่วนความรู้ของแพทย์แต่ละคนจะเป็นเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับความใฝ่เรียนของแพทย์แต่ละคนหลังเรียนจบ
เพราะความรู้ทางการแพทย์มันไม่ใช่ว่าเรียนจบแล้วจบเลย แต่มันวิ่งไปข้างหน้าเรื่อยๆ เราต้องวิ่งตาม ต้องเรียนกันไปตลอดชีวิต ตามไม่ทันก็ตกขบวน
อย่างเมื่อก่อนบอกว่าแมงกะพรุนต่อยให้ราดน้ำส้มสายชู อีกไม่นานอาจจะยกเลิกให้ไม่ต้องใช้แล้วก็ได้เพราะมีงานวิจัยแย้งว่าไม่มีประสิทธิภาพ ไรงี้ ถ้าจบมาห้าปีสิบปี แล้วไม่อัพเดทข้อมูลเพิ่มเติม คุณอาจจะสู้หมอรุ่นใหม่ๆที่เพิ่งจบไม่ได้ก็เป็นได้ ดังนั้นไปประชุมวิชาการกันบ่อยๆนะจ๊ะ จะได้อัพเดทความรู้ให้เป็นปัจจุบันกัน จุฟจุฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น