ของฝากจากแนวทาง "ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้น" จากยุโรป 2024
1.มีการศึกษาและยืนยันเรื่องความเสี่ยงการเกิดโรคที่ระดับความดันต่าง ๆ ตั้งแต่เกิน 120/70 ดังนั้นในยุคปัจจุบันจึงไม่ได้ 'ยึดติด' ที่ค่าตัวเลข ต้องประเมินอันตรายระยะยาวโรคร่วมและความเสี่ยงอื่น ๆ แม้ค่าความดันจะต่ำกว่า 140/90 แต่ถ้าคุณเริ่มเกิดความเสียหายจากความดันโลหิตสูงหรือมีความเสี่ยงจากโรคอื่น คุณควรปฏิบัติ 'เสมือน'ป่วยเป็นโรคความดันสูง
2.อายุเกิน 40 วัดความดันอย่างน้อยปีละครั้งนะคุณ ๆ (แนะนำอย่าวัดตอนเสียภาษี)
4. การควบคุมความดันเมื่อรักษา พยายามให้ได้ประมาณ 120-129/ ส่วนค่าความดันตัวล่าง ไม่ใช่เป้าหมายหลัก แต่ก็ไม่ควรเกิน 80 ไม่ว่าจะอายุเท่าใด ต่ำกว่านี้ได้แต่ต้องไม่เกิดอันตรายเช่นวูบ หน้ามืด แต่ถ้ากดต่ำกว่านี้ไม่ได้จริง ๆ ก็ใช้ค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่ 'เหมาะสม' จึงไม่มีค่าที่เป็น magic number ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป … อย่าเอาค่าความดันเราไปเทียบกับค่าความดันเขา
5.ยาหลัก มี ACEI (-pril) ARB (-sartan) CCB (ที่ใช้บ่อยคือ –dipine) และ thaizide-liked diuretics แนะนำ chlorthalidone หรือ indapamide … ไม่มี beta blocker (-olol) แล้วนะ จะไปจัดกลุ่มรวมกับยาอื่นที่เพิ่ม เมื่อยาหลักใช้ไม่ได้ผล
6.ถ้าจะวัดที่บ้าน ใช้เครื่องวัดความดันที่วัดตรงต้นแขนนะครับ นั่งพักบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก เท้าติดพื้น แขนวางรอง อย่าลืมตรวจแบตเครื่องวัดด้วย
7.การประเมินความเสี่ยง ใช้ Thai CV Risk score ดาวน์โหลดฟรี กดใช้จากเว็บฟรี …แต่แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงของประเทศไทย ไม่ฟรี
8.แนะนำใช้ยาหลายชนิดในขนาดต่ำ ช่วยกันทำงานและลดผลข้างเคียง สามารถใช้ยาเม็ดรวมได้ (ใช้ได้ แต่ไม่ได้ จำเป็น) และควรปรับยาให้ได้เป้าหมายภายใน 3 เดือน (oh my god !!)
9.อายุมากกว่า 85 หรือโรคร่วมเยอะ ๆ ให้พิจารณาการรักษาเป็นรายบุคคล ทั้งระดับความดัน ยาที่ใช้ ระยะเวลาการติดตาม อย่าไปยึดติดกับแนวทางจนเกินไป
10.ใครที่รักษาดีแล้ว คงที่แล้ว ก็รักษาและติดตามต่อไปนะครับ อาจไม่ต้องปรับตามทุกอย่าง เอาให้พอดี ๆ ส่วนรายใหม่จะใช้ข้อมูลใหม่นี้ตั้งแต่แรกเลยก็ได้ครับ แนวทางคือแนวทาง สุดท้าย ผู้ป่วย ผู้รักษา ญาติ และสตางค์ในกระเป๋า ต้องมาปรึกษาร่วมกันว่าจะทำอย่างไรทั้งระยะสั้นและยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น