27 กรกฎาคม 2563

พิษเห็ด

ถ้าคุณไม่ใช่มาริโอ้ คุณก็ต้องหยุดคิดก่อนกินเห็ดป่า

ฤดูฝน การเก็บเห็ด การกินเห็ด เป็นของคู่กันมานาน แต่สิ่งที่ทุกคนลืมคือ พิษเห็ดที่ยังมีรายงานทุกปี และเห็ดที่มีรายงานมากสองชนิดคือ เห็ดระโงก กับ เห็ดหัวกรวดครีบเขียว (ท่านสามารถเปิดดูรูปจาก google ได้)

เห็ดหัวกรวดครีบเขียว จะมีพิษทางเดินอาหารแต่ไม่เสียชีวิต ลักษณะคล้ายเห็ดนกยูง แต่ครีบใต้ดอกจะมีสีคล้ำเมื่อแก่ ตอนต้นอ่อนแยกยากมาก

เห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก เห็ดไข่ตายซาก **อันนี้ถึงตายนะครับ** รูปร่างจะคล้ายเห็ดระโงกขาว เห็ดไข่ห่าน แต่เห็ดพิษนั้น หมวกจะขาวล้วน ส่วนเห็ดกินได้จะมีสีเหลืองปน แต่หากเป็นต้อนอ่อนแทบแยกกันไม่ออก ต้องผ่าออกดูเห็ดพิษจะขาวล้วน ไม่มีสีเหลืองปน

⚠️⚠️ถ้าคุณไม่เชี่ยวชาญจริง .. อย่าเก็บเห็ดป่ามากินเอง โดยเฉพาะเห็ดอ่อน แยกยากมาก

⚠️⚠️ถ้าคุณซื้อมา ..สำหรับเห็ดป่า ก็ต้องมั่นใจ ตรวจสอบบ้าง โดยเฉพาะต้องผ่าดูก่อนปรุงเสมอ

⚠️⚠️ถ้าคุณไม่อยากเสี่ยง ... กินเห็ดที่รู้จักดีก็ได้ครับ เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดเข็มทอง เห็ดเผาะ

หากเกิดพิษ รีบพาส่งโรงพยาบาล เห็ดระโงกหินจะมีพิษ อาม่าท็อกซิน (amatoxin) ที่ไปยับยั้งกระบวนการสร้างโปรตีน อันตรายที่พบมากคือ ระยะแรก ปวดท้องอาเจียนถ่ายเหลวรุนแรงมากจนขาดน้ำ ต่อมาจะมีอาการตับอักเสบรุนแรง และต่อมาคือตับวายไตวายครับ

ยังไม่มียาต้านพิษที่ดี รักษาโดยการประคับประคองและให้ร่างกายจัดการกำจัดพิษ หากกำจัดไม่ได้อาจต้องปลี่ยนตับเปลี่ยนไต การศึกษาเรื่องยาต้านพิษทั้งหลายยังไม่อยู่ในระดับดีพอที่จะรับรองเป็นมาตรฐานการรักษาหลัก ไม่ว่าจะเป็น silymarin, penicillin G, N acetylcysteine, thioctic acid (สำหรับผู้สนใจแนะนำไปค้นกลไกการออกฤทธิ์และการศึกษาต่อไปนะครับ)

ระวังกันด้วยนะครับ

ขอขอบคุณ ข้อมูลเห็ดจาก สวทช. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม