เรามารู้จักหมอชาวเยอรมันอีกคนนะครับ Richard von Volkmann ผู้บรรยายสภาพโรค Volkmann's ischemic contracture
ลักษณะของมือที่งอที่ข้อมือ ข้อนิ้ว ตามรูป เกิดจากการบวม การอักเสบ การตายตามมาด้วยการเป็นพังผืดของกล้ามเนื้อกลุ่ม "flexor" กลุ่มที่ใช้งอข้อมือข้อศอกที่จะอยู่ด้านท้องแขน จุดกำเนิดอยู่บริเวณกระดูกแขน ข้ามไปเกาะกระดูกมือ กระดูกนิ้ว มีหน้าที่ดึงข้อให้งอ ซึ่งจะทำงานตรงข้ามกับกล้ามเนื้อกลุ่ม "extensor" ด้านหลังแขนที่จะคอยเหยียดข้อเหยียดนิ้ว เป็นการสอดรับประสานการทำงานอย่างละเอียดของกล้ามเนื้อแบบ prime mover และ antagonism ทำงานสลับกัน เมื่ออันหนึ่งทำงาน(หดตัว) อีกอันหนึ่งจะไม่ทำงาน (คลายตัว)
ทำไมจึงเกิดการบาดเจ็บจนขาดเลือดและกล้ามเนื้อตายเป็นพังผืดแบบนี้ กลไกหลักคือการขาดเลือด
ทำไมจึงเกิดการบาดเจ็บจนขาดเลือดและกล้ามเนื้อตายเป็นพังผืดแบบนี้ กลไกหลักคือการขาดเลือด
การขาดเลือดก็มีสองกรณี แบบแรกที่พบบ่อยคือมีกระดูกต้นแขนหักและเกิดการเคลื่อนที่ของกระดูกส่วนที่หัก ไปกดเบียดหลอดเลือดแดงของแขนทำให้เกิดการขาดเลือด การแก้ไขต้องทำการจัดกระดูกให้เข้าที่โดยหลีกเลี่ยงอันตรายต่อหลอดเลือด ในอดีตอาจมีคนที่ไม่ได้ไปหาหมอไม่ได้จัดการกระดูกหักให้ดี ก็จะเกิดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อและดึงรั้งแบบนี้ได้
การขาดเลือดแบบที่สองเกิดจากการบวม เมื่อกล้ามเนื้อหรือกระดูกมีการบาดเจ็บ อาจจะมีเลือดคั่งหรือมีการบวมเกิดขึ้น การบวมของกล้ามเนื้อในพื้นที่ปิดล้อมด้วยปลอกหุ้มกล้ามเนื้อ เหมือนมีลูกโป่งสองลูกอยู่ในกล่อง หากลูกใดลูกหนึ่งบวมมากอีกลูกจะถูกกดเบียดให้บี้แบนไป
อีกสาเหตุการบวมคือใส่เฝือกที่รัดแน่นเกินไป เมื่อกล้ามเนื้อบวมก็ไม่สามารถขยายออกได้ ไปกดเบียดหลอดเลือดแทน
การขาดเลือดแบบที่สองเกิดจากการบวม เมื่อกล้ามเนื้อหรือกระดูกมีการบาดเจ็บ อาจจะมีเลือดคั่งหรือมีการบวมเกิดขึ้น การบวมของกล้ามเนื้อในพื้นที่ปิดล้อมด้วยปลอกหุ้มกล้ามเนื้อ เหมือนมีลูกโป่งสองลูกอยู่ในกล่อง หากลูกใดลูกหนึ่งบวมมากอีกลูกจะถูกกดเบียดให้บี้แบนไป
อีกสาเหตุการบวมคือใส่เฝือกที่รัดแน่นเกินไป เมื่อกล้ามเนื้อบวมก็ไม่สามารถขยายออกได้ ไปกดเบียดหลอดเลือดแทน
การป้องกันคือใส่เฝือกให้มีช่องว่างเล็กน้อย กระชับแต่ไม่รัดรึง และหมั่นตรวจสอบอาการขาดเลือดบริเวณปลายต่อจุดใส่เผือกเช่น สีซีดลง อุณหภูมิเย็นลง ปวด คลำชีพจรไม่ได้ ชา เมื่อมีอาการเหล่านี้ก็สงสัยมีการบวมและกดรัดที่เรียกว่า compartment syndrome ต้องรีบคลายเฝือก
แต่ถ้าเกิดจากการบวมของกล้ามเนื้อรัดด้วยปลอกหุ้ม ต้องทำการเปิดปลอกหุ้มบางส่วนเพื่อระบายความดันชั่วคราวที่เรียกว่า fasciotomy (fascia = เยื่อหุ้ม ในที่นี้ก็หุ้มกล้ามเนื้อ, -tome ตัด, fasciotomy = ตัดเลย ตัดเลย ชั้บชั้บชั้บ)
และหากเริ่มมีการยึดรั้งของพังผืดกล้ามเนื้อ ก็ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
แต่ถ้าเกิดจากการบวมของกล้ามเนื้อรัดด้วยปลอกหุ้ม ต้องทำการเปิดปลอกหุ้มบางส่วนเพื่อระบายความดันชั่วคราวที่เรียกว่า fasciotomy (fascia = เยื่อหุ้ม ในที่นี้ก็หุ้มกล้ามเนื้อ, -tome ตัด, fasciotomy = ตัดเลย ตัดเลย ชั้บชั้บชั้บ)
และหากเริ่มมีการยึดรั้งของพังผืดกล้ามเนื้อ ก็ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
คุณหมอ Richard von Volkmann(1830-1889) เป็นทั้งศัลยแพทย์ชื่อดังของเยอรมัน นักประพันธ์ จบการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์เบอร์ลิน ทำงานที่ Halle เมืองใหญ่ทางภาคอีสานของเยอรมัน เป็นผู้บรรยายรอยโรคนี้เป็นครั้งแรกในงานตีพิมพ์ non-Infective Ischemic conditions of various fascial compartments in the extremities
ช่วงนี้เรื่องราวของเยอรมันจะเยอะครับ เพราะต้องลุ้นเข้ารอบ แหม...อยากอ่านภาษาเยอรมันได้จัง สงสัยต้องไปเยือนแผ่นดินเยอรมัน และเกี้ยวสาวเยอรมันมาเป็นแม่ศรีเรือนเสียแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น