สังสรรค์วารสารวันนี้ (บทความนี้ยาวมาก) ขอนำเสนอวารสารที่ลงใน NEJM จากงานประชุมโรคหลอดเลือดสมองภาคพื้นยุโรปสองสัปดาห์ก่อน เกี่ยวกับการใช้ dual antiplatelets ในการรักษาหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ชื่อว่า POINT trial
ความคิดเรื่องการให้ยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดที่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกันมีมานานแล้ว เพื่อทำให้การยับยั้งการเกาะตัวเกล็ดเลือด..กลไกหลักของการอุดตัน..ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เราเห็นกันบ่อยมากในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ให้ทุกรายเลย แต่ว่าในทางกลับกันโอกาสเลือดออกย่อมเพิ่มขึ้น สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจมีการศึกษาแล้วว่าคุ้มกว่าและดีกว่า สำหรับการใช้ DAPT ขอใช้คำนี้แทนการให้ยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดนะครับ
แล้วสำหรับหลอดเลือดสมองล่ะ..
แล้วสำหรับหลอดเลือดสมองล่ะ..
ก่อนหน้านี้มีการศึกษาวิจัยมามากทั้งหลอดเลือดตีบเฉียบพลันและเรื้อรัง ผลออกมาไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจเพราะโอกาสเลือดออกสูงมาก จนกระทั่งปี 2013 มีงานตีพิมพ์ในวารสาร NEJM นี่แหละครับ ชื่อ CHANCE trial ทำการศึกษาในคนจีน 5,170 คน สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดตีบเฉียบพลันชนิดไม่รุนแรงหรือเป็นแล้วหายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง คนกลุ่มนี้แบ่งกลุ่มให้ยา DAPT ใช้ Clopidogrel 300 มิลลิกรัมต่อด้วย 75 มิลลิกรัมวันละครั้งร่วมกับการใช้ยาแอสไพรินขนาด 75 มิลลิกรัมต่อวันทั้งหมด 21 วัน หลังจากนั้นใช้แอสไพรินอย่างเดียว ส่วนอีกกลุ่มให้ยาแอสไพริน 75 มิลลิกรัมตั้งแต่เริ่มอย่างเดียว แล้ววัดผลดูอัตราการเกิดหลอดเลือดแดงตีบซ้ำในเก้าสิบวันและดูเรื่องเลือดออกด้วย
ผลออกมาว่ากลุ่มที่ได้ DAPT ลดอัตราการเกิดหลอดเชือดแดงตีบซ้ำได้มากกว่ากลุ่มแอสไพรินอย่างเดียว 32% และมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอัตราการเกิดเลือดออกน้อยมากและไม่ต่างกันทั้งสองกลุ่ม
ผลออกมาว่ากลุ่มที่ได้ DAPT ลดอัตราการเกิดหลอดเชือดแดงตีบซ้ำได้มากกว่ากลุ่มแอสไพรินอย่างเดียว 32% และมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอัตราการเกิดเลือดออกน้อยมากและไม่ต่างกันทั้งสองกลุ่ม
ด้วยการศึกษานี้ทำให้มีคำแนะนำการใช้ DAPT ในกลุ่มหลอดเอดแดงตีบเฉียบพลันที่อาการไม่มาก วัดโดย NIHSS น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 และกลุ่มหลอดเลือดตีบชั่วคราว (TIA) ที่มีความเสี่ยงการเกิดซ้ำสูง (ABDC2 score มากกว่าหรือเท่ากับ 4)
แต่นี่ทำเฉพาะในคนจีนเท่านั้น ...
แต่นี่ทำเฉพาะในคนจีนเท่านั้น ...
สำหรับการศึกษา POINT มีแนวคิดเดียวกันเลยคือการใช้ยา DAPT ในผู้ป่วยที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันแบบไม่รุนแรงก็คือ TIA หรือ Stroke ที่ไม่ต้องให้ยาสลายลิ่มเลือด ไม่ต้องทำการให้การรักษาทางหลอดเลือด คิดคะแนน NIHSS ไม่เกินสามคะแนน ไม่มีข้อห้ามการใช้ยา ไม่ต้องให้ยาด้วยเหตุผลอื่น ทุกคนได้รับการถ่ายภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วเพื่อแยกภาวะเลือดออก และเข้าสู่กระบวนการยินยอมและจัดกลุ่มตัวอย่าง
แต่ว่ากลุ่มประชากรในการศึกษา POINT นี้จะต่างจากที่ทำในประเทศจีนคือเป็นประชากรจากหลายประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แน่นอนเกือบทั้งหมดเป็นชาวผิวขาว และ 80% ของประชากรอยู่ในอเมริกา ( ตกลง international จริงไหมเนื่ย)
แต่ว่ากลุ่มประชากรในการศึกษา POINT นี้จะต่างจากที่ทำในประเทศจีนคือเป็นประชากรจากหลายประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แน่นอนเกือบทั้งหมดเป็นชาวผิวขาว และ 80% ของประชากรอยู่ในอเมริกา ( ตกลง international จริงไหมเนื่ย)
ถามว่าใครบอกใคร ...บอกยาก การศึกษา POINT เริ่มก่อน แต่ใช้เวลาการศึกษานาน 8 ปีด้วยอุปสรรคเหตุผลที่จะเล่าให้ฟัง ส่วนการศึกษา CHANCE เริ่มช้ากว่ากันเล็กน้อยแต่เสร็จก่อน เป็นธรรมชาติของการศึกษาจากจีนเริ่มง่ายเสร็จเร็ว
เมื่อเข้าเกณฑ์และแบ่งกลุ่มก็จะแบ่งเป็นสองกลุ่มเหมือนกัน การแบ่งกลุ่มทำจากส่วนกลางที่คอยควบคุมการศึกษาเพื่อรับประกันความโน้มเอียงจากการแบ่งกลุ่ม (allocation concealment) กลุ่มที่เป็นกลุ่มควบคุมได้การรักษามาตรฐานและใช้แอสไพรินขนาด 50-325 มิลลิกรัม อันนี้แล้วแต่คุณหมอแต่ละที่จะใช้ขนาดใด แต่คำแนะนำจากผู้ทำวิจัยคือ ให้ในขนาด 162 มิลลิกรัมในช่วงห้าวันแรกและปรับเป็นวันละ 81 มิลลิกรัม (เป็นจุดแปรปรวนอันหนึ่ง และไม่ได้มีการคิดเปรียบเทียบหรือแยกขนาดต่างๆด้วยว่าขนาดต่างๆกัน มีผลต่างกันหรือเปล่า) ร่วมกับยาหลอกที่รสชาติเหมือน clopidogrel เป๊ะเลย ส่วนกลุ่มที่ทดลองจะได้รับยาแอสไพรินเหมือนกันกับกลุ่มควบคุม ร่วมกับให้ยา clopidogrel ในขนาดเริ่มต้น 600 มิลลิกรัม ตามด้วย วันละ 75 มิลลิกรัม
ให้ยาทั้งหมดเก้าสิบวัน แล้วไปใช้การรักษามาตรฐานของแต่ละโรงพยาบาล จะเห็นว่าขนาดยาที่ใช้ศึกษาสูงกว่าการศึกษา CHANCE และให้ในระยะเวลายาวนานกว่าด้วย
ให้ยาทั้งหมดเก้าสิบวัน แล้วไปใช้การรักษามาตรฐานของแต่ละโรงพยาบาล จะเห็นว่าขนาดยาที่ใช้ศึกษาสูงกว่าการศึกษา CHANCE และให้ในระยะเวลายาวนานกว่าด้วย
แล้วดูผลเหมือนกับ CHANCE หรือไม่ ...คำตอบคือ ไม่เหมือนกัน สำหรับการศึกษา POINT จะวัดผลหลักเลยคือ อุบัติการณ์รวม ของ หลอดเลือดสมองตีบ + หลอดเลือดหัวใจตีบ + อัตราตายจากโรคหลอดเลือด (Composite endpoint) เพราะหากคิดแต่ละตัวอาจต้องใช้เวลานานหรือกลุ่มตัวอย่างมาก โดยเฉพาะถ้าอัตราการเกิดโรคที่สนใจมันต่ำมาก จะต้องใช้เวลาและปริมาณตัวอย่างเยอะมากๆเลย จะเห็นว่าการศึกษาปัจจุบันนิยมใช้ composite endpoint
แต่โดยทั่วไปเวลาทำ composite endpoint จะต้องแยกส่วนต่างๆมาคำนวณด้วยว่า ผลรวมที่เกิดขึ้น มันมาจากผลทั้งหมดไปในทางเดียวกันหรือเกิดจากตัวใดตัวหนึ่งดึงผลให้เอียง คือการทำ pre-specified analysis แต่การศึกษานี้กลับแยกส่วนประกอบมาคิดเป็น secondary endpoint แทน
แล้วมันไม่ได้หรือ .. มันก็จะไม่ตรงไปตรงมา เพราะการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ข้อผิดพลาดการทดลองและออกแบบ มันจะออกแบบเพื่ออธิบายวัตถุประสงค์หลัก primary endpoint เท่านั้น อย่างการศึกษานี้สิ่งต่างๆที่คิดออกมาทำเพื่อ ตอบปัญหาผลรวมเหตุการณ์ ไม่ใช่ผลแยกเหตุการณ์
แต่โดยทั่วไปเวลาทำ composite endpoint จะต้องแยกส่วนต่างๆมาคำนวณด้วยว่า ผลรวมที่เกิดขึ้น มันมาจากผลทั้งหมดไปในทางเดียวกันหรือเกิดจากตัวใดตัวหนึ่งดึงผลให้เอียง คือการทำ pre-specified analysis แต่การศึกษานี้กลับแยกส่วนประกอบมาคิดเป็น secondary endpoint แทน
แล้วมันไม่ได้หรือ .. มันก็จะไม่ตรงไปตรงมา เพราะการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ข้อผิดพลาดการทดลองและออกแบบ มันจะออกแบบเพื่ออธิบายวัตถุประสงค์หลัก primary endpoint เท่านั้น อย่างการศึกษานี้สิ่งต่างๆที่คิดออกมาทำเพื่อ ตอบปัญหาผลรวมเหตุการณ์ ไม่ใช่ผลแยกเหตุการณ์
และแน่นอนนอกจากประโยชน์จากการกันหลอดเลือดตีบซ้ำ ผู้วิจัยก็ยังออกแบบดูผลเสียที่สำคัญของ DAPT คือเลือดออกไว้ด้วย โดนเลือดออกรุนแรงคือ เลือดออกในกระโหลก เลือดออกในลูกตา เลือดออกที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เลือดออกที่ต้องชดเชยเลือดมากกว่าสองถุง
สถิติวิจัยในงานนี้นั้น ใช้การวิเคราะห์แบบ Time-To-Events analysis คือติดตามไปเมื่อมีผลที่ต้องการเกิดขึ้น ก็ออกจากการศึกษาแล้วคิดคำนวณไปเรื่อยๆ ซึ่งหากคิดไปต่อเนื่องเวลาเหลือคนที่อยู่ในการศึกษาน้อยลง ค่าจะแปรปรวน จึงให้ Cox Proportional Hazard Models มาตัดความแปรปรวนอันนี้ โดยคิดประสิทธิภาพแบบ intention to treat analysis
โดยแรกนั้น ตั้งเป้าคิดอัตราการเกิดเหตุการณ์ซ้ำเมื่อใช้ตัวเลขการป้องกันด้วยแอสไพรินอย่างเดียวคือ 15% ต้องการให้อัตราการเกิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ 25% (power 90%, 2-side alpha error 0.05) จะคำนวณกลุ่มตัวอย่างออกมาได้ 4,150 คน
แต่การศึกษานี้ไม่ได้ราบเรียบดังกลีบกุหลาบ
โดยแรกนั้น ตั้งเป้าคิดอัตราการเกิดเหตุการณ์ซ้ำเมื่อใช้ตัวเลขการป้องกันด้วยแอสไพรินอย่างเดียวคือ 15% ต้องการให้อัตราการเกิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ 25% (power 90%, 2-side alpha error 0.05) จะคำนวณกลุ่มตัวอย่างออกมาได้ 4,150 คน
แต่การศึกษานี้ไม่ได้ราบเรียบดังกลีบกุหลาบ
เมื่อทำ interim analysis คือการวิเคราะห์ผลการทดลองก่อนจบ อาจทำหลายครั้งเพื่อประเมินประสิทธิภาพ บางทีก็ถึงเป้าแล้วก็หยุดการศึกษาได้ บางทีหากทำการศึกษาต่ออาจอันตรายต่อผู้เข้าร่วมวิจัยก็ต้องหยุด ในการทำ interim ครั้งที่หนึ่ง พบว่าอัตราการเกิดโรคไม่สูง ทางคณะกรรมการจึงปรับยอดตัวอย่างเป็น 5,840 ราย
และเมื่อทำการวิจัยและตรวจสอบด้วย interim ไปเรื่อยๆ พบว่าเมื่อเก็บตัวอย่างแล้ววิเคราะห์ไปประมาณ 86% ของการศึกษาทั้งหมดคือ 4,881 คน คณะกรรมการพบว่าอัตราการเกิดเลือดออกอันตรายในกลุ่มที่ได้รับ DAPT เพิ่มมากกว่ากลุ่มที่ได้รับแอสไพรินอย่างเดียว และเพิ่มต่อเนื่องมาเรื่อยๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คณะกรรมการจึงตัดสินใจ ยุติการศึกษา !!!
และเมื่อทำการวิจัยและตรวจสอบด้วย interim ไปเรื่อยๆ พบว่าเมื่อเก็บตัวอย่างแล้ววิเคราะห์ไปประมาณ 86% ของการศึกษาทั้งหมดคือ 4,881 คน คณะกรรมการพบว่าอัตราการเกิดเลือดออกอันตรายในกลุ่มที่ได้รับ DAPT เพิ่มมากกว่ากลุ่มที่ได้รับแอสไพรินอย่างเดียว และเพิ่มต่อเนื่องมาเรื่อยๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คณะกรรมการจึงตัดสินใจ ยุติการศึกษา !!!
*** อันนี้ซับซ้อนนิดนึงนะครับ ผมพยายามอธิบายให้ง่ายที่สุด ไม่รู้ความหมายจะเปลี่ยนไปบ้างไหม สมารถท้วงติงได้ และใครไม่ได้สนใจวิธีการทางสถิติอาจข้ามไป ***
เอาละสิ หยุดระหว่างกลางแล้วผลที่ได้มันจะเชื่อถือได้ไหม มันไม่ครบ ... ทางผู้วิจัยจึงได้ใช้โมเดลทางสถิติอันหนึ่งที่ชื่อว่า O'Brian and Flemming Procedure มาช่วยตัดความแปรปรวนของการได้ไม่ครบ
ตามปรกติแล้วในงานวิจัยแบบ Clinical Trials เราจะคิดสถิติเมื่อเราเก็บตัวเลขทั้งหมดเสร็จ (ก็ออกแบบมาอย่างนั้น) แต่หากเราไปวิเคราะห์ก่อนครบ สิ่งที่จะเกิดเพิ่มขึ้นคือ type I error ยิ่งวิเคราะห์บ่อยไปเรื่อยๆ ความผิดพลาดอันนี้จะเพิ่มขึ้น
Type I error คือ โอกาสที่เราจะปฏิเสธสมมุติฐาน (null hypothesis) ทั้งๆที่สมมติฐานนั้นจริง อย่างการศึกษาที่ตั้งสมมุติฐานว่า การใช้ DAPT ไม่ต่างจาก Aspirin เราทำการทดลองเพื่อปฏิเสธสมมติฐานนี้และไปเชื่อสมมติฐานรองคือ DAPT ต่างจาก aspirin
เมื่อเราตั้งค่าความผิดพลาดไม่เกิน 0.05 คือเมื่อเราทำการทดลองซ้ำๆกัน 100 ครั้ง โอกาสที่ DAPT จะไม่ต่างจากแอสไพรินจะไม่เกิน 5 ครั้ง นี่คือ alpha error ระดับที่รับได้
ตามปรกติแล้วในงานวิจัยแบบ Clinical Trials เราจะคิดสถิติเมื่อเราเก็บตัวเลขทั้งหมดเสร็จ (ก็ออกแบบมาอย่างนั้น) แต่หากเราไปวิเคราะห์ก่อนครบ สิ่งที่จะเกิดเพิ่มขึ้นคือ type I error ยิ่งวิเคราะห์บ่อยไปเรื่อยๆ ความผิดพลาดอันนี้จะเพิ่มขึ้น
Type I error คือ โอกาสที่เราจะปฏิเสธสมมุติฐาน (null hypothesis) ทั้งๆที่สมมติฐานนั้นจริง อย่างการศึกษาที่ตั้งสมมุติฐานว่า การใช้ DAPT ไม่ต่างจาก Aspirin เราทำการทดลองเพื่อปฏิเสธสมมติฐานนี้และไปเชื่อสมมติฐานรองคือ DAPT ต่างจาก aspirin
เมื่อเราตั้งค่าความผิดพลาดไม่เกิน 0.05 คือเมื่อเราทำการทดลองซ้ำๆกัน 100 ครั้ง โอกาสที่ DAPT จะไม่ต่างจากแอสไพรินจะไม่เกิน 5 ครั้ง นี่คือ alpha error ระดับที่รับได้
แต่ถ้า Type I error สูงคือ เราไม่ยอมรับว่า DAPT ไม่ต่างจากแอสไพริน ทั้งๆที่จริงๆมันก็ไม่ต่างกัน หรือพูดง่ายๆ ไปยอมรับว่า DAPT ต่างจากแอสไพรินทั้งๆที่จริงๆมันไม่ต่าง
การวิเคราะห์ข้อมูลบ่อยๆหลายๆครั้งเมื่อทำการศึกษาไปเรื่อยๆ จะทำให้ความผิดพลาดนี้เพิ่มขึ้นตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยรวมที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละครั้งที่วิเคราะห์ย่อยแบบ interim ดังนั้นต้องใช้วิธีที่จะกำจัดความแปรปรวนตรงนี้ มีหลายวิธีนะครับ ในการศึกษานี้ใช้ O' Brian and Flemming Procedure
การวิเคราะห์ข้อมูลบ่อยๆหลายๆครั้งเมื่อทำการศึกษาไปเรื่อยๆ จะทำให้ความผิดพลาดนี้เพิ่มขึ้นตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยรวมที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละครั้งที่วิเคราะห์ย่อยแบบ interim ดังนั้นต้องใช้วิธีที่จะกำจัดความแปรปรวนตรงนี้ มีหลายวิธีนะครับ ในการศึกษานี้ใช้ O' Brian and Flemming Procedure
แล้วสำคัญอย่างไร ... อย่าลืมนะครับว่าการศึกษานี้ถูกให้เลิกก่อนครบ คือทำได้ 86% เท่านั้น การจะให้สถิติที่ออกแบบมาคิดเมื่อกลุ่มตัวอย่างครบก็จะเกิดความแปรปรวน จึงต้องใช้โมเดลนี้มาลดความแปรปรวนนั่นเอง
ผ่านเรื่องปวดหัวมาแล้ว มาดูผลการวิจัยกัน
ส่วนมากคนที่เข้ามาในการศึกษาอายุเฉลี่ย 65 ปีเป็นชายมากกว่าถึง 55% ส่วนมากมีโรคความดันโลหิตสูงด้วย ใช้แอสไพรินอยู่แล้วเกือบ 60% (นี่อาจเป็นประเด็นสำคัญที่เลือดออกมากก็ได้ ในการศึกษา CHANCE ไม่ได้กล่าวถึวไว้) เป็น TIA พอๆกับ Minor stroke
การแปลผลได้ที่ 86% ของการทดลอง มาดูผลรวมเหตุการณ์ที่สนใจ ในกลุ่มใช้ DAPT เกิด 121 คิดเป็น 5.0% ส่วนคนที่ใช้แอสไพรินอย่างเดียวเกิด 160 คนคิดเป็น 6.5% ถ้าคิดว่ากลุ่ม DAPTมีอุบัติการณ์น้อยกว่า ลดโอกาสการเกิดอันตรายซ้ำลงได้ 25% (Hazard Ratio 0.75 95%CI 0.59-0.95) และมีนัยสำคัญทางสถิติ
แต่หากมาคิด absolute risk reduction คือจำนวนที่ลดลงจริงๆ แค่ 1.5% ไม่มากเลยนะครับ และถ้าจะคิดว่าต้องให้ DAPT กี่คนจึงจะมีประโยชน์ช่วยได้หนึ่งคนที่เรียกว่า Number Needed to Treat คือ 1/ARR เท่ากับ 67 คนเชียวนะ (ค่ากลางๆคือ 50 คน)
ในหมวด secondary endpoint ที่แยกแต่ละประเด็นมาคิด (ย้ำว่าไม่ใช่ pre-specified analysis ของ composite endpoint นะ) จะพบว่ามีแต่อัตราการเกิดหลอดเลือดสมองตีบซ้ำเท่านั้นที่การรักษา DAPT ได้ประโยชน์เหนือกว่าแอสไพรินเดี่ยวๆ อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนผลอื่นๆก็ไม่ได้ต่างจากแอสไพรินอย่างมีนัยสำคัญ
แต่หากมาคิด absolute risk reduction คือจำนวนที่ลดลงจริงๆ แค่ 1.5% ไม่มากเลยนะครับ และถ้าจะคิดว่าต้องให้ DAPT กี่คนจึงจะมีประโยชน์ช่วยได้หนึ่งคนที่เรียกว่า Number Needed to Treat คือ 1/ARR เท่ากับ 67 คนเชียวนะ (ค่ากลางๆคือ 50 คน)
ในหมวด secondary endpoint ที่แยกแต่ละประเด็นมาคิด (ย้ำว่าไม่ใช่ pre-specified analysis ของ composite endpoint นะ) จะพบว่ามีแต่อัตราการเกิดหลอดเลือดสมองตีบซ้ำเท่านั้นที่การรักษา DAPT ได้ประโยชน์เหนือกว่าแอสไพรินเดี่ยวๆ อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนผลอื่นๆก็ไม่ได้ต่างจากแอสไพรินอย่างมีนัยสำคัญ
** นี่คือคิดใช้ O'Brian and Flemming Procedure แล้วนะ**
มาดูอัตราการเกิดเลือดออกบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การศึกษานี้ต้องเลิกก่อนกำหนด อัตราการเกิดเลือดออกในกลุ่ม DAPT คือ 23 ราย (0.9%) เมื่อเทียบกับแอสไพรินเดี่ยวๆ 10 ราย (0.1%) เมื่อคิดเป็น Hazard Ratio จะได้ 2.32 (95%CI 1.10-4.87) เรียกว่ากลุ่ม DAPT เลือดออกมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งถ้าไปดูตัวเลขจริงๆว่าจะต้องให้การรักษา DAPT กี่คนจึงเลือดออก Number Needed to Harm คือ 125 คน (ดูแล้วการใช้ DAPT จะเกิดประโยชน์มากกว่านะ
อันนั้นคือเราคิดแบบใช้ตามอง แต่ถ้าเอามาเทียบกันด้วยวิธีทางสถิติ เราจะพบว่า ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั้งหมด 1000 รายเมื่อตามไป 90 วันจะพบว่า ป้องกันโรคหลอดเลือดซ้ำได้ 15 ราย โดยมีเลือดออกแค่ 5 รายเท่านั้น
และถ้าเรามาดูในเรื่องกรอบเวลาเข้ามาด้วยจะพบว่า ประโยชน์ในการปกป้องหลอดเลือดจะพบตั้งแต่ 7 วันแรกเลยและเพิ่มมากขึ้นตามเวลาที่นานไปจนถึงเก้าสิบวัน แต่อัตราการเกิดเลือดออกจะพอๆกันในเจ็ดวันแรก แต่จะเพิ่มขึ้นใน 8-90 วันหลัง
หรือว่าระยะเวลาในการให้ยา DAPT จะมีผลต่อเลือดออก เพราะใน CHANCE เขาให้แค่ 21 วันเอง การศึกษานี้ให้ตั้ง 90 วัน
หรือว่าระยะเวลาในการให้ยา DAPT จะมีผลต่อเลือดออก เพราะใน CHANCE เขาให้แค่ 21 วันเอง การศึกษานี้ให้ตั้ง 90 วัน
สำหรับการคิดแบบ As Treated คือนับแต่คนที่ได้รับยา ไม่นับคนที่ไม่รับยาหรือคนที่หยุดติดตามเพราะหยุดการศึกษา (ไม่ได้เรียก Per-Protocol analysis เพราะไม่ครบ protocol) ก็พบว่าผลการศึกษาตามสถิติวิจัยก็ออกมาไปทางเดียวกันกับการคิดผลทั้งหมดอย่างที่ตั้งใจ (Intention To Treat analysis)
เหนื่อยไหมครับ เรามาสรุปดีกว่า ก็พบว่าการใช้ DAPT เป็นเวลาเก้าสิบวัน สามารถลดอันตรายของโรคหลอดเลือดที่จะเกิดซ้ำได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการให้แอสไพรินอย่างเดียว โดยเฉพาะหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ แต่ก็ต้องพบกับอัตราการเกิดเลือดออกที่มากกว่าแอสไพรินเช่นกัน
การศึกษานี้มีผลที่ต่างจากการศึกษา CHANCE ที่ทำในจีนหลายประการ ผมได้แทรกไว้ในเนื้อหาแล้ว อีกสองอย่างที่สำคัญคือ เชื้อชาติและยีนของสองกลุ่มการศึกษาที่จะต่างกัน โดยเฉพาะในเอเชียที่มียีนของการจัดการ clopidogrel ที่ผิดปกติมากกว่าฝั่งผิวขาว (CYP2C19 polymorphisms) และขั้นตอนการศึกษาของ POINT ที่ตะกุกตะกัก ไม่เรียบลื่นเหมือนการศึกษาที่จีน มีจุดทำให้เกิดข้อบกพร่องหลายจุด
การศึกษานี้มีผลที่ต่างจากการศึกษา CHANCE ที่ทำในจีนหลายประการ ผมได้แทรกไว้ในเนื้อหาแล้ว อีกสองอย่างที่สำคัญคือ เชื้อชาติและยีนของสองกลุ่มการศึกษาที่จะต่างกัน โดยเฉพาะในเอเชียที่มียีนของการจัดการ clopidogrel ที่ผิดปกติมากกว่าฝั่งผิวขาว (CYP2C19 polymorphisms) และขั้นตอนการศึกษาของ POINT ที่ตะกุกตะกัก ไม่เรียบลื่นเหมือนการศึกษาที่จีน มีจุดทำให้เกิดข้อบกพร่องหลายจุด
ในความเห็นส่วนตัวของผม การใช้ Antiplatelet มากกว่าหนึ่งตัวในการป้องกันหลอดเลือดสมองตีบซ้ำนั้น ยังไม่ได้แสดงให้เห็นผลชัดเจนในระยะยาวและเริ่มแสดงให้เห็นผลเสียคือเลือดออก เพิ่มมากขึ้นในหลายๆการศึกษา
การพิจารณานำไปใช้จึงต้องดูเป็นรายๆไป (ปัจจุบันเป็นคำแนะนำระดับ I หลักฐานความน่าเชื่อถือระดับ B และไม่ควรให้นานกว่าหรือขนาดยามากกว่าในการศึกษา CHANCE ครับ ส่วนการศึกษา POINT จะเปลี่ยนแนวทางหรือไม่ ส่วนตัวผมคิดว่าไม่เปลี่ยนแน่ นอกจากจะไม่ให้ DAPT เพิ่มยังอาจจะลดขนาดและเวลาในการให้ DAPT ลงด้วยซ้ำครับ
การพิจารณานำไปใช้จึงต้องดูเป็นรายๆไป (ปัจจุบันเป็นคำแนะนำระดับ I หลักฐานความน่าเชื่อถือระดับ B และไม่ควรให้นานกว่าหรือขนาดยามากกว่าในการศึกษา CHANCE ครับ ส่วนการศึกษา POINT จะเปลี่ยนแนวทางหรือไม่ ส่วนตัวผมคิดว่าไม่เปลี่ยนแน่ นอกจากจะไม่ให้ DAPT เพิ่มยังอาจจะลดขนาดและเวลาในการให้ DAPT ลงด้วยซ้ำครับ
ก็จบการเล่าเรื่องเพียงเท่านี้ ท่านใดมีความเห็นด้วยเห็นต่างอย่างไร เขียนมาได้นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น