หนึ่งในยาที่เรียกผิดมากที่สุด..ยากันเลือดแข็ง กับ ยาต้านเกล็ดเลือด
ยาที่ใช้กันมากในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็งและมีไขมันในหลอดเลือดคือ ..ยาต้านเกล็ดเลือด antiplatelet ครับ วันก่อนเราได้รู้จักยาละลายลิ่มเลือดไปแล้ว วันนี้มายาต้านเกล็ดเลือดบ้าง
ใช้บ่อยๆก็ aspirin, clopidogrel, prasugrel, ticagrelor, dipyridamole, cilostazol ส่วนที่ใช้ในโรงพยาบาลในห้องปฏิบัติการต่างๆเช่น eptifibatide, cangrelor ที่เป็นแบบฉีด
ใช้บ่อยๆก็ aspirin, clopidogrel, prasugrel, ticagrelor, dipyridamole, cilostazol ส่วนที่ใช้ในโรงพยาบาลในห้องปฏิบัติการต่างๆเช่น eptifibatide, cangrelor ที่เป็นแบบฉีด
แล้วทำไมต้องต้านมันด้วย .. เรียกให้ถูกคือทำให้มันหมดสมรรถภาพดีกว่า เอาละ ทำตัวให้เล็กแล้วมุดไปที่หลอดเลือดหัวใจกัน...แว๊บบบบบ
เกล็ดเลือดปกตินั้น ทำหน้าที่คอยอุดรูรั่ว รูฉีกขาดของผนังหลอดเลือดเปรียบเสมือนดินน้ำมันที่อุดรู เพียงแต่อุดจากด้านในเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ดี อุดแล้วไม่พอเรียกเพื่อนมาช่วยกันอุดแถมใช้กาวซีเมนต์คือสารแข็งตัวเลือดฉาบซ้ำด้วย
แต่ในภาวะที่หลอดเลือดแดงแข็ง ไขมันตัวร้ายสูง มีการเกาะของไขมันที่ผนังหลอดเลือด พอกหนาขึ้น ซอกซอนไปใต้ผิวหลอดเลือด หลังจากนั้นด้วยกระบวนการอักเสบและการเกิดกระแสเลือดหมุนวน คล้ายๆน้ำวนเวลามีอะไรไปขวางทาง ก็จะทำให้เกิดรอยฉีกขาดเป็นแผล เปรี๊ยะ....
แต่ในภาวะที่หลอดเลือดแดงแข็ง ไขมันตัวร้ายสูง มีการเกาะของไขมันที่ผนังหลอดเลือด พอกหนาขึ้น ซอกซอนไปใต้ผิวหลอดเลือด หลังจากนั้นด้วยกระบวนการอักเสบและการเกิดกระแสเลือดหมุนวน คล้ายๆน้ำวนเวลามีอะไรไปขวางทาง ก็จะทำให้เกิดรอยฉีกขาดเป็นแผล เปรี๊ยะ....
เกล็ดเลือดมาแล้ว ไวปานกามนิตหนุ่ม ไปซ่อมทันทีพาเพื่อนมาอุดพอกไว้ แต่ว่าไขมันก็ยังคงมาพอกต่อไป มีรอยฉีดขาดต่อไป อุดต่อไป วนไปวนไป ก้อนก็หนาขึ้น จนถึงวันดีคืนร้าย ด้วยเหตุผลใดยังไม่ปรากฏชัด มันแตกและหลุด..แคร๊กกกก
พุ่งไปอุดหลอดเลือด..กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...กล้ามเนื้อหัวใจตาย..หัวใจวาย..ไร้ซึ่งคนดูแล..ทำให้ท้อแท้ยามชรา
อย่ากระนั้นเลย อย่าทำให้เกิดดีกว่า นอกจากลดไขมัน ลดการอักเสบด้วย statin แล้วก็มาลดการจับเกาะของเกล็ดเลือดด้วยยาต้านเกล็ดเลือดนี่ไง
พุ่งไปอุดหลอดเลือด..กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...กล้ามเนื้อหัวใจตาย..หัวใจวาย..ไร้ซึ่งคนดูแล..ทำให้ท้อแท้ยามชรา
อย่ากระนั้นเลย อย่าทำให้เกิดดีกว่า นอกจากลดไขมัน ลดการอักเสบด้วย statin แล้วก็มาลดการจับเกาะของเกล็ดเลือดด้วยยาต้านเกล็ดเลือดนี่ไง
เอาล่ะ วาร์ปออกมาจากหลอดเลือดได้ มาฟังสบายๆ
ยาต้านเกล็ดเลือดจึงทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดมาจับตัวกัน เปรียบเสมือนเราเอาหมากฝรั่งไปอุดตะขอและรูเสียบ มันย่อมจับตัวกันไม่ได้ก็ไม่เกิดเป็นก้อนเกล็ดเลือดไส้ไขมันที่จะไปอุดได้ง่ายๆ
ดีไหมครับ..ไม่มีอะไรไปอุด แต่อย่าลืมนะเวลาเกิดบาดแผลที่ต้องการการทำงานของเกล็ดเลือดมันก็ง่อยเช่นกัน เป็นที่มาว่าผู้ที่กินยาต้านเกล็ดเลือดก็จะมีเลือดหยุดยากกว่าปกติ (เลือดออกง่ายเท่าๆเดิมนั่นแหละ แต่หยุดยาก) อาจต้องหยุดยาเวลาผ่าตัด ทำฟัน เป็นต้น
ดีไหมครับ..ไม่มีอะไรไปอุด แต่อย่าลืมนะเวลาเกิดบาดแผลที่ต้องการการทำงานของเกล็ดเลือดมันก็ง่อยเช่นกัน เป็นที่มาว่าผู้ที่กินยาต้านเกล็ดเลือดก็จะมีเลือดหยุดยากกว่าปกติ (เลือดออกง่ายเท่าๆเดิมนั่นแหละ แต่หยุดยาก) อาจต้องหยุดยาเวลาผ่าตัด ทำฟัน เป็นต้น
ยาแต่ละตัวก็ออกฤทธิ์ต่างกัน ผมขอกล่าวถึงแต่แอสไพรินนะครับเพราะใช้มากที่สุด ยาแอสไพรินขนาดที่ใช้บ่อยคือ 81 มิลลิกรัม (มีหลายขนาดนะครับ) ตามแนวทางที่บอกว่าให้ใช้ขนาด 80 มิลลิกรัมขึ้นไป แอสไพรินนี่จะจับเกล็ดเลือดไม่ปล่อยเลยจนกว่าจะตายจากกันไป 7-10 วัน แถมตัวมันยังมีอานุภาพเป็นยาต้านการอักเสบที่ทำให้เลือดออกทางเดินอาหารได้
ปัญหาที่พบบ่อยมากของแอสไพรินคือ เลือดออกทางเดินอาหารนั่นเองครับ ถ้ามีเลือดออกจนอันตรายอาจต้องใช้ยาต้านเกล็ดเลือดตัวอื่นหรือใช้ยาลดกรดช่วยป้องกัน การใช้ยาโดยที่ยังไม่เกิดโรคจึงไม่เป็นที่นิยมครับ ต้องคำนึงถึงประเด็นนี้มากๆ โดยเฉพาะผู้สูงวัย ผู้ที่เคยเลือดออกทางเดินอาหารมาก่อน หรือผู้ที่"จำเป็น"ต้องใช้ยาต้านเกล็ดเลือดสองตัว (โดยเฉพาะกลุ่มที่ใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ) ใช้ยาต้านการอักเสบร่วมด้วย หรือมียากันเลือดแข็งด้วย
ปัญหาที่พบบ่อยมากของแอสไพรินคือ เลือดออกทางเดินอาหารนั่นเองครับ ถ้ามีเลือดออกจนอันตรายอาจต้องใช้ยาต้านเกล็ดเลือดตัวอื่นหรือใช้ยาลดกรดช่วยป้องกัน การใช้ยาโดยที่ยังไม่เกิดโรคจึงไม่เป็นที่นิยมครับ ต้องคำนึงถึงประเด็นนี้มากๆ โดยเฉพาะผู้สูงวัย ผู้ที่เคยเลือดออกทางเดินอาหารมาก่อน หรือผู้ที่"จำเป็น"ต้องใช้ยาต้านเกล็ดเลือดสองตัว (โดยเฉพาะกลุ่มที่ใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ) ใช้ยาต้านการอักเสบร่วมด้วย หรือมียากันเลือดแข็งด้วย
ยาต้านเกล็ดเลือดตัวอื่นไม่มีสมบัติลดการอักเสบ โอกาสเลือดออกน้อยกว่าแอสไพริน แต่ละตัวมีที่ใช้และจุดดีจุดด้อยต่างกัน เช่นปฏิกิริยาระหว่างยา ออกฤทธิ์เร็วช้า ใช้ระยะยาวได้ไหม หมดฤทธิ์เร็วไหมหากต้องการผ่าตัด สุดท้ายก็ราคายาครับ
พอเข้าใจนะครับ..ยาละลายลิ่มเลือด, ยาต้านเกล็ดเลือด ที่เหลือก็ยากันเลือดแข็ง เขียนไปมากมายแล้วครับ
เครดิตภาพ : newhealthadvisor.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น