การดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีโทษทั้งทางกาย ทางใจ ทางเงิน ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนบทความเรื่องเมาวันเสาร์หลับข้ามคืน ตื่นมายกมือไม่ขึ้นที่เรียกว่า saturday night palsy มาแล้ว วันนี้เรามารู้จัก อีกหนึ่งภาวะที่เกี่ยวกับเหล้า คือ holiday heart syndrome
ก่อนหน้าปี 1970 เราทราบกันดีว่าการดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องกันนานๆ นอกจากตับแข็งแล้วยังเป็นสาเหตุของโรคหัวใจบีบตัวผิดปกติ ที่เรียกว่า alcoholic cardiomyopathy ด้วย จนกระทั่งในปี 1978 คุณหมอ Philip Ettinger ได้พบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในคนที่แข็งแรงดีแต่ดื่มแอลกอฮอล์ และได้ตั้งชื่อ ภาวะนี้ว่า holiday heart syndrome เพราะว่า ตอนที่พบโรคนี้ บันทึกไว้เป็นกรณีหลายๆคนนั้น พบในคนปกติธรรมดาแข็งแรงๆ ที่ดื่มเหล้ามากในช่วงวันหยุดยาว ภาษาทางการแพทย์เรียก binge drinker แต่เวลาที่คุณตอบหมอคุณจะตอบว่า...เอ่อ..ก็ดื่มสังสรรค์..เวลาเจอเพื่อนๆน่ะครับ หรือ ดื่มบ้างเวลามีงานน่ะค่ะ แต่เจอเพื่อนทุกวันและมีงานวันเว้นวัน !
พบว่าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะนั้นส่วนใหญ่เป็นการเต้นพริ้วของหัวใจห้องบนที่เรียกว่า atrial fibrillation ส่วนการเต้นผิดจังหวะแบบอื่นก็พบนะครับ แต่ไม่มากเท่า AF และผู้ป่วยบางส่วนก็เสียชีวิต จากหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงคนไข้กลุ่มนี้ก็จะไม่ทราบว่าเป็นอะไร ผิดจังหวะแบบใดกันแน่
พบว่าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะนั้นส่วนใหญ่เป็นการเต้นพริ้วของหัวใจห้องบนที่เรียกว่า atrial fibrillation ส่วนการเต้นผิดจังหวะแบบอื่นก็พบนะครับ แต่ไม่มากเท่า AF และผู้ป่วยบางส่วนก็เสียชีวิต จากหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงคนไข้กลุ่มนี้ก็จะไม่ทราบว่าเป็นอะไร ผิดจังหวะแบบใดกันแน่
เมื่อให้หยุดเหล้าจนอาการดีขึ้นหรือได้รับการรักษาการถอนเหล้าแล้วก็จะพบว่า holiday heart syndrome หัวใจเต้นผิดจังหวะต่างๆก็หายไปได้เอง เมื่อทิ้งระยะเว้นดื่มเหล้าก็หยุดไป และเมื่อกลับมาดื่มใหม่ ก็มักจะมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะกลับมาอีก
ภาวะนี้ยังไม่พบชัดเจนว่าสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ไหม มีโรคร่วมหรือภาวะอย่างอื่นๆไหม เพราะไม่ว่าคนมีโรคหรือไม่มีโรค คนดื่มแบบ binge หรือดื่มแบบติดทุกวัน ก็มีโอกาสเกิดพอๆกัน แต่หลายๆการศึกษาก็พบว่า มักจะเกิดกับคนที่ดื่มเกิน 36 กรัม (ของแอลกอฮอล์) หรือประมาณ 3 ดื่มครึ่ง คือเบียร์ประมาณ 850 ซีซี หรือวิสกี้ หรือเหล้าขาวแค่ 100 ซีซี เท่านั้น (มาตรฐาน ชายไม่เกิน 2 ต่อวัน หญิงไม่เกิน 1 ต่อวัน)
เชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาทควบคุมการเต้นของหัวใจที่ไม่เท่ากัน ทำให้เต้นผิดจังหวะ ยิ่งคนที่ดื่มมากๆ หรือติดเหล้า ก็จะมีเกลือแร่ในเลือดผิดปกติอยู่แล้วก็จะเพิ่มโอกาสการเกิด holiday heart syndrome มากขึ้นด้วย
ภาวะนี้ยังไม่พบชัดเจนว่าสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ไหม มีโรคร่วมหรือภาวะอย่างอื่นๆไหม เพราะไม่ว่าคนมีโรคหรือไม่มีโรค คนดื่มแบบ binge หรือดื่มแบบติดทุกวัน ก็มีโอกาสเกิดพอๆกัน แต่หลายๆการศึกษาก็พบว่า มักจะเกิดกับคนที่ดื่มเกิน 36 กรัม (ของแอลกอฮอล์) หรือประมาณ 3 ดื่มครึ่ง คือเบียร์ประมาณ 850 ซีซี หรือวิสกี้ หรือเหล้าขาวแค่ 100 ซีซี เท่านั้น (มาตรฐาน ชายไม่เกิน 2 ต่อวัน หญิงไม่เกิน 1 ต่อวัน)
เชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาทควบคุมการเต้นของหัวใจที่ไม่เท่ากัน ทำให้เต้นผิดจังหวะ ยิ่งคนที่ดื่มมากๆ หรือติดเหล้า ก็จะมีเกลือแร่ในเลือดผิดปกติอยู่แล้วก็จะเพิ่มโอกาสการเกิด holiday heart syndrome มากขึ้นด้วย
การรักษาก็เหมือนกับการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะจากสาเหตุใดๆ ส่วนเรื่องหังใจเต้นผิดจังหวะ AF แบบที่เกิดจากแอลกอฮอล์นี้จะเพิ่มโอกาสการเกิดอัมพาตหรือไม่ เท่าที่ผมค้นก็พบว่ายังไม่สัมพันธ์โดยตรง ไม่มีเหตุผลที่ชัดๆว่า AF แบบนี้จะเกิดโรคอัมพาตเพิ่ม (แต่ โดยรวมทั้งหมด AF เพิ่มโอกาสอัมพาตมากกว่าคนปกติ 5 เท่า) ผมคิดว่าเพราะส่วนมากเมื่อพ้นวันหยุด สร่างเมาแล้วก็หายจึงไม่ได้ติดตามระยะยาวมากกว่า
ที่ต้องย้ำคือ ใครเป็นโรคนี้แล้วก็ควรหยุดเหล้า เพราะถ้าไปดื่มอีกก็มีโอกาสเกิดซ้ำอีก คราวหน้าอาจไม่โชคดีเหมือนครั้งนี้ก็ได้ อาจหัวใจวาย อัมพาต หรือเสียชีวิตกระทันหันก็ได้
นอกจากนี้ถ้าติดเหล้าแล้วเวลาหยุดเหล้าทันที ที่เรียกว่าลงแดง ก็จะเพิ่มโอกาสการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน เห็นไหมครับ แอลกอฮอล์มีดีแค่ใช้ล้างแผลเท่านั้น
ที่ต้องย้ำคือ ใครเป็นโรคนี้แล้วก็ควรหยุดเหล้า เพราะถ้าไปดื่มอีกก็มีโอกาสเกิดซ้ำอีก คราวหน้าอาจไม่โชคดีเหมือนครั้งนี้ก็ได้ อาจหัวใจวาย อัมพาต หรือเสียชีวิตกระทันหันก็ได้
นอกจากนี้ถ้าติดเหล้าแล้วเวลาหยุดเหล้าทันที ที่เรียกว่าลงแดง ก็จะเพิ่มโอกาสการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน เห็นไหมครับ แอลกอฮอล์มีดีแค่ใช้ล้างแผลเท่านั้น
ลิงค์ด้านล่างคือ บทความเรื่อง saturday night palsy
http://medicine4layman.blogspot.com/2015/12/blog-post_8.html
http://medicine4layman.blogspot.com/2015/12/blog-post_8.html
หยุดยาวนี้ อย่าลืมบทความของผมนะครับ
ที่มา : Arq Bras Cardiol.2013 Aug ;101(2)
: heath.harvard.edu
: heath.harvard.edu
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น