ปกติแล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่จำหน่ายอยู่นั้น มี 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ A 2 ชนิดและสายพันธุ์ B 1 ชนิด ซึ่งองค์การอนามัยโลกจะประกาศสายพันธุ์ในช่วงปลายปี เพื่อเอาไปสร้างวัคซีนสำหรับปีต่อไป ก็จะมีการระบาดสลับๆกันไป
ที่มาของ 4 สายคือ สายB นั้นมักจะระบาดสลับกันไปมาระหว่างสายพันธุ์ B victoria และ B yamakata คราวนี้ของเดิมวัคซีนเรามี B แค่สายเดียว ถ้าเราคาดเดาถูกก็ดีไป แต่ถ้าเราคาดเดาผิด แล้วบังเอิญปีนั้น สายพันธุ์ B ระบาดมาก วัคซีนที่เราฉีดก็จะไม่ครอบคลุมในปีนั้น
ที่ประเทศฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกานั้น สายพันธุ์ B ก่อเกิดโรค 50% เขาจึงคิดวัคซีนที่มี A สองสาย และ B สองสาย เพื่อครอบคลุมส่วนใหญ่
แต่ในประเทศไทยนั้น สายพันธุ์ B ก่อเกิดปัญหาแค่ 5-30% โดยมากอยู่ที่ 5% มีปี 2011 ที่มี B ระบาดมาก 25-30% และส่วนมากก็จะก่อปัญหาในเด็กโตถึงวัยรุ่น และกลุ่มผู้สูงวัยเกิน 65 ปี
ดังนั้นในประเทศไทย ก็อาจเลือกฉีดได้ในกลุ่มผู้สูงวัย โดยมีราคาสูงกว่าแบบ 3 สายพันธุ์เล็กน้อย หรือใครต้องการฉีดแบบ 4 สายพันธุ์ โดยไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายก็ไม่ผิดอะไร แต่ในแง่งบประมาณของประเทศ เทียบกับการระบาดอาจดูไม่คุ้มค่ามากนัก อีกทั้งปริมาณวัคซีน และ บริษัทที่จำหน่ายก็น้อย อาจเกิดปัญหา demand มากกว่า supply จนมีปัญหาทางการตลาด ราคา การกักตุนได้ ทั้งๆที่ตัวสามสายพันธุ์ก็ยังไม่แย่แต่อย่างใด
สุดท้ายวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่ได้ลดการเกิดโรค แต่ลดความรุนแรงของการติดเชื้อ และลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลครับ
ข้อมูลจากงานประชุมวิชาการประจำปีโรคติดเชื้อ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยครั้งที่ 41 ประจำปี 2558 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น