03 กันยายน 2558

5 สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ครีมกันแดด

5 สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ครีมกันแดด

    นี่คือสารชลอความแก่โดยแท้ครับและช่วยลดการเกิดมะเร็งผิวหนังด้วย  บทความนี้สรุปมาจาก "fact and fiction about antiaging" ของ อ.ณัฏฐา รัชตะนาวิน ใน common problems of internal medicineโดย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ

1. สารกันแดด มี 3 แบบ อย่างแรกเป็นสารเคมี ดูดซับคลื่น UV แล้วเปลี่ยนเป็นรังสีความร้อนออกมา เดิมป้องกันได้แต่ UVB แต่ตอนนี้บังคับให้ป้องกัน UVA ด้วยจึงต้องใช้สารเคมีหลายตัว อย่างที่สองเป็นสารสะท้อนรังสี เดิมไม่ค่อยนิยมเพราะมันสะท้อนแสง แต่ตอนนี้ปรับให้ไม่สะท้อนและป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB อย่างสุดท้ายคือ tanning sunscreen ใช้ทำผิวเป็นสีน้ำผึงครับ ส่วนชื่อสารเคมี..ช่างมันเนอะครับ

2. ค่า SPF (sun protection factor) เป็นหน่วยวัดเทียบแสงที่ทำให้ผิวแดง ระหว่างคนทาครีม กับไม่ทาครีม ว่าต่างกันเท่าไร พูดแปลง่ายๆคือ ถ้า SPF สูง ก็ป้องกันผิวไหม้แดงได้มากขึ้น ทั่วๆไป SPF 15 ก็พอ ---อ๊ะๆๆ ค่า SPF นี้วัดมาจากห้องทดลองนะครับ พอใช้กับแสงแดดจริง SPF 15 เหลือแค่ 7-12 ส่วน SPF 45 เหลือ 11-30

3. กันน้ำ มีการทดสอบโดยทาครีมแล้วแช่น้ำ whirlpool jacuzzi 20 นาที ขึ้นมา 20 นาทีแล้ววัด SPF ลงไปจุ่มน้ำ 20นาที แล้วขึ้นมาวัด SPF อีกรอบ ถ้ารับรองกันน้ำ SPF ต้องลดลงไม่เกิน 50 % ครับ ส่วนถ้าได้รับรอง very water resistance อันนี้ทดสอบจุ่มน้ำ 4 รอบนะครับ

4. ค่า PA++ ค่านี้เราใช้วัดประสิทธิภาพการป้องกัน UVA เดิมนั้นเราคิดว่า UVB เท่านั้นที่ทำให้เป็นมะเร็ง แต่ปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่า UVA ก็ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังโดยเฉพาะ melanoma จึงต้องป้องกัน UVA ด้วย ประสิทธิภาพการป้องกัน UVA นี้ยิ่งมากยิ่งป้องกันผิวคล้ำได้ดี (UVB ใช้ค่า SPF ที่บอกการป้องกันผิวไหม้) กำหนดค่าโดย Japaneae Cosmatics Industry Associations บอกว่า
PA+      ป้องกัน UVA 2-4 เท่า (มากกว่า คือ มากกว่า ไม่ป้องกัน)
PA++    ป้องกัน UVA 4-8 เท่า
PA+++ ป้องกัน UVA มากกว่า 8 เท่า

5. การทาครีมนี่ สำคัญมากนะครับ เมืองนอกมีอาชีพรับจ้างทาครีมด้วยนะ   แอดมินเองพักร้อนเมื่อไรจะไปหาลำไพ่  รับจ้างทาครีมสาวๆเหมือนกัน-- มันต้องมีศาสตร์ ถึงทำถูก-- อิอิอิ
   การศึกษาเขาทาครีมหนา 2 มิลลิกรัมต่อพื้นที่หนึ่งตารางเซนติเมตร แต่ในชีวิตจริงทากันบางกว่านั้นครึ่งต่อครึ่ง ทำให้ SPF ลดลง 20-50% เลยนะครับ ทางผู้ผลิตเขาเลยผลิตครีมที่ SPF สูงๆออกมา เพราะเราทาครีมบาง และ พอโดนแสงแดดธรรมชาติ ค่า SPF จากห้องทดลองมันจะลดลงครับ
   ศิลปะการทาครีมก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะกายวิภาคของคนเรามีร่องผิวหนัง ส่วนนูน ส่วนเว้าแตกต่างกัน ครีมมักจะไปกองกันอยู่ตรงร่องผิวหนัง ส่วนที่นูนๆ ตึงๆ ก็มักจะถูกทาบางลงก็เลยแนะนำทาให้ทั่ว และทาซ้ำทุกสองชั่วโมงครับ -- เข้าทางแอดมินเลย ทาบ่อยๆ เน้นส่วนนูนส่วนตึง พวกเหี่ยวๆ ทาครั้งเดียวพอ ---

จบบทความนี้ทุกท่านคงซึ้งแล้วว่า การแพทย์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม