Fulminant Hepatic Failure .. ตับวายแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
ภาวะตับวาย เป็นภาวะที่รุนแรงอันตรายไม่แพ้ไตวายหรือหัวใจวาย เนื่องจากมีการรักษาระหว่างรอให้ตับดีขึ้น (intervention treatment) ที่ไม่มากนักและการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นเรื่องที่ยากของไทย
ระยะเวลาตั้งแต่เห็นว่าเริ่มผิดปกติ ที่พบบ่อยคือ ตัวตาเหลือง จนถึงตับวาย จะกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 8 สัปดาห์ เรียกว่าเร็วมาก แต่ความเป็นจริงแล้วเร็วกว่านั้นมาก อาจจะเพียง 1-2 สัปดาห์เท่านั้น
และคำจำกัดความระบุว่า ต้องไม่มีโรคตับที่ชัดเจนมาก่อนเลย คำกล่าวนี้แบ่งได้สองแบบคือ ตับสด ๆ ใส ๆ ไร้โรคภัย แล้วมาเจอเหตุรุนแรงมากเช่น ช็อก หรือพิษจากยา หรืออีกแบบคือมีโรคตับแหละ แต่เป็นแบบซ่อนเร้นไม่มีอาการไม่รู้มาก่อน เช่น โรคทางเมตาบอลิกบางอย่าง Wilson Disease โรคที่มีการตัดการแร่ธาตุทองแดงผิดปกติ จนคั่งในอวัยวะต่าง ๆ หรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมานาน ไม่มีอาการแล้วอยู่ดี ๆ โรคกำเริบหนัก
แต่ถ้ามีโรคตับมาก่อน รักษามานานแล้ว ต่อมากำเริบด้วยเหตุใด หรือวายด้วยเหตุใด จะใช้ acute hepatic failure หรือเป็นตับแข็งมานาน อาการคงที่แล้วทรุดลงเร็วมากจะเรียก acute decompensated hepatic cirrhosis
สาเหตุของตับวายเฉียบพลันไม่มีปี่ไม่ขลุ่ยที่พบบ่อยคือ
1.ยา โดยเฉพาะ 'พาราเซตามอล' ที่เกินขนาด
2.สารพิษ ที่บ้านเราเจอบ้างคือ เห็ดพิษ amanita
3.ไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน
4.โรคหลอดเลือดดำที่ตับอุดตัน (acute Budd Chiari syndrome)
5.ตับอักเสบจากภูมิคุ้มกันตัวเองมาทำลายตับ
6.โรค Wilson disease ทองแดงคั่งในตัว
7.ไขมันพอกตับเฉียบพลันในหญิงตั้งครรภ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น