18 กุมภาพันธ์ 2565

C-RP กับโควิด

 C-RP กับโควิด

เราพยายามหา 'predictor' ที่ดี ที่จะมาทำนายผู้ป่วยโรคโควิด-19 ว่ารายไหนจะรุนแรง หนึ่งในความพยายามนั่นคือ การตรวจเลือดหาสาร C-Reactive Protein (C-RP)

ปกติสารนี้จะเพิ่มเวลาร่างกายมีการอักเสบ มีความตึงเครียด (stress) ที่ไม่ได้เป็นการติดเชื้อเสมอไป เช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็ขึ้นสูง มีการศึกษาความสัมพันธ์ของสารนี้กับความรุนแรงของโควิด โดยเฉพาะในช่วงแรกที่เริ่มป่วย เพราะ C-RP จะเริ่มขึ้นสูงตั้งแต่ 8 ชั่วโมงแรก และไปสูงสุดที่ 36-48 ชั่วโมง

มีการศึกษาแบบเฝ้าสังเกตไปข้าวหน้าและเก็บข้อมูลย้อนหลังอยู่หลายที่ หลายประเทศ มีงาน meta analysis ออกมามาก สรุปได้ว่า ถ้า C-RP สูง ก็จะสัมพันธ์กับโรครุนแรงเช่น เข้ารักษาโรงพยาบาลหรือในไอซียู โดยค่ามัธยฐานที่แต่ละการศึกษาพบจะอยู่ที่ประมาณ 110-160 แต่นี่คือ มันรุนแรงนะ

แล้วจะใช้เกณฑ์ประมาณเท่าไรที่บอกว่าควรเฝ้าระวัง ตอนที่ยังไม่รุนแรง ตัวเลขหลายการศึกษาออกมาค่อนข้างแคบที่ 40-50 หากต่ำกว่านี้ โอกาสเกิดโรครุนแรงจะน้อย แต่ถ้าสูงกว่านี้ต้องเฝ้าระวังให้ดี และถ้ายิ่งสูงมาก โอกาสโรครุนแรงก็มากขึ้นไปด้วย

แต่...รูปแบบการศึกษายังไม่ดีนัก มีความโน้มเอียงและตัวแปรปรวนมากมาย ไม่ใช่แค่ C-RP แต่ยังรวมถึ
ง predictors อื่น ๆ ที่ยังสรุปไม่ชัดเจนยังไม่มีค่าที่เป็นตัวชี้วัดที่แม่นพอ การติดตามอาการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงจึงสำคัญมาก

สำหรับผมมองว่า ค่านี้ถ้าตรวจภายในสองสามวันแรก แล้วไม่สูง (ต่ำกว่า 40-50) ก็น่าจะพออุ่นใจได้ว่า โรคไม่รุนแรง แต่ถ้าค่าสูงกว่านี้ อาจเกิดจากโรครุนแรง อาจเกิดการติดเชื้อร่วมอย่างอื่น หรือการอักเสบอย่างอื่น ไม่ว่าจะเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ซึ่งต้องเฝ้าระวังอยู่แล้ว ค่าสูงจึงทำได้เพียงเฝ้าระวังครับ

ระวังอะไร

ระวังตกหลุมรักเธอคนนี้ Bae Suji

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม