24 ตุลาคม 2564

ที่มาที่ไปของการนำ RNA มาใช้ ตอนที่หนึ่ง ก้าวแรกที่ล้มเหลว

 ที่มาที่ไปของการนำ RNA มาใช้ ตอนที่หนึ่ง ก้าวแรกที่ล้มเหลว

ในปี 1978 หลังจากการค้นพบดีเอ็นเอไม่นาน ความคิดเรื่องการควบคุมรหัสพันธุกรรมก็เกิดขึ้น มันเริ่มต้นด้วยความคิดที่จะควบคุมการทำงานระดับเซลล์ด้วยการใส่คำสั่งของเรา ใช้ mRNA ที่เราออกแบบเองเข้าไปควบคุมเซลล์ โดยใช้อนุภาคไขมันที่ชื่อ liposome เป็นตัวนำเข้าเซลล์

ต้องบอกก่อนว่าเซลล์มนุษย์นั้นมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ที่เป็นไขมันสองชั้น มีตัวควบคุมการเข้าออก การจะส่งสารเข้าไปในเซลล์นั้น ถ้าจะไม่ต้องผ่านกระบวนการอะไรซับซ้อน ก็ต้องเลือกตัวรับส่งที่เป็นไขมันแบบเดียวกันกับเยื่อหุ้มเซลล์ แบบไลโปโซมที่ใช้ขนถ่ายสินค้าเข้าออกเซลล์อยู่แล้วนั่นเอง

แต่แนวคิดตอนนั้นถือว่ามาก่อนกาลอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีการผลิตไขมันหุ้มเซลล์และอาร์เอ็นเอ ยังไม่เกิดขึ้น ถ้าจะทำ ก็ยังคงต้องใช้ชิ้นส่วนของมนุษย์ ของสิ่งมีชีวิต หรือเลืยนแบบของมนุษย์ ซึ่งไม่ได้ทำง่ายนัก

จนมาถึงปี 1984 ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา ทีมนักวิจัยชีวเคมีและพันธุศาสตร์สามารถสร้าง mRNA ได้สำเร็จ โดยใช้เอนไซม์การสร้างอาร์เอ็นเอจากเชื้อไวรัส ทรัพยากรในเซลล์เพาะเลี้ยง ทั้งหมดทำนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต ทำในหลอดทดลอง หลังจากนั้นได้นำอาร์เอ็นเอที่จำลองขึ้น (ขอใช้คำว่าจำลอง เพราะยังไม่ได้สร้างขึ้นจริง ๆ) ไปฉีดเข้าเซลล์ไข่ของกบ และพบว่าสามารถสั่งทำงานได้จริง

… แถม เกร็ดความรู้.. ไข่กบเป็นเซลล์เดี่ยวขนาดใหญ่ สามารถสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในเซลล์ได้ง่าย จึงนิยมใช้ในการทดลอง แต่อย่าลืมว่ากบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กระบวนการการสร้างและถอดรหัสจึงไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถ้าอยากทราบไอเดียนี้ให้ไปดูภาพยนตร์เรื่องจูราสสิกปาร์ค ภาคแรก…

แม้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่แนวคิดต่าง ๆ ก็ถูกนำไปต่อยอดทั้งในการศึกษาค้นคว้าและการขยายโอกาสทางธุรกิจ

ก่อนจะเล่าเรื่องอาร์เอ็นเอต่อไป ผมขอขยายความเรื่องเส้นทางการพัฒนาความรู้ทางการแพทย์ในยุคนั้นเสียก่อนนะครับ เพราะเส้นทางแบบนี้คุณจะพบได้ตลอดในเรื่องนี้ หรือในทุก ๆ เรื่องของประวัติศาสตร์การแพทย์

การพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะในยุคสงครามเย็นที่รุนแรงนั้น ความคิดริเริ่มอยู่ในมหาวิทยาลัย แต่ความสำเร็จกลับอยู่ที่บริษัทเอกชน องค์ความรู้ที่เริ่มพัฒนาจะมาจากนักวิจัยหรือทีมวิจัยในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นตัวอาจารย์เองหรือนักศึกษา หรือร่วมกันเป็นทีม ด้วยสาเหตุเรื่องของเงินลงทุนและทรัพยากรในมหาวิทยาลัยที่มีมากพอ และทำออกมาในรูปแบบงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ อันเป็นประโยชน์ทั้งตัวผู้วิจัยและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย

ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการเปรียบเสมือนใบเบิกทางแห่งความก้าวหน้าและเปรียบเสมือนหนังสือชี้ชวนการลงทุนของบรรดานักลงทุน ในยุคนั้นการลงทุนเป็นแบบกินรวบ เหมาทำทุกอย่าง ไม่ได้มีโครงข่ายและเป็นการร่วมลงทุน ร่วมทีมแบบทุกวันนี้ นักลงทุนจึงจ้องจะหาทางผลิตสินค้าและกำไรใหม่ ๆ จากผลงานทางวิชาการที่มีแนวโน้มจะเกิดมูลค่าทางธุรกิจได้นั่นเอง

นักวิจัยที่มีองค์ความรู้ มีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์มักจะลาออกหรือไปเป็นที่ปรึกษา หรือผู้ก่อตั้งบริษัทเอกชนที่จะเอาผลงานของตัวเองไปต่อยอดทางการค้าและพัฒนาต่อไป หรือบริษัทที่เห็นหนทางทางธุรกิจก็จะดึงตัวนักวิจัยนั้นไปอยู่ด้วยเสียเลย

หรือทางมหาวิทยาลัยเองก็อาจรับทุน หรือร่วมก่อตั้งบริษัท "ในความดูแล" ของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เอาผลงานทางวิชาการไปต่อยอดทำวิจัยต่อและหวังผลทางการค้า ไม่ว่าจะทำออกมาเองหรือขายสิทธิทางปัญญาต่อไป

การพัฒนา mRNA Vaccine ก็มีรูปแบบเช่นนี้ มีการช่วงชิงโอกาส การเล่นเกมทางธุรกิจ แต่มันก็ทำให้การเติบโตทางวิทยาการของ mRNA เกิดอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน

เอาล่ะ เรากลับมาที่เรื่องของเราต่อไป

ในปี 1987 Douglas Melton ทีมนักวิจัยจากฮาร์เวิร์ดที่กล่าวมานั้น แยกตัวออกไปตั้งบริษัท Oligogen ที่ปัจจุบันกลายเป็น Gileads ผู้คิดค้นยาต้านไวรัสรายสำคัญ โดยเริ่มศึกษาการนำ mRNA มาใช้ควบคุมการทำงานของร่างกายในรูปแบบต่างๆ อย่างจริงจัง

นับว่าเป็นแนวคิดสำคัญในการ "เล่น" กับ mRNA ถึงแม้เมลตันจะยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สามารถควบคุมอาร์เอ็นเอให้คงที่ได้ จำเป็นต้องขายโอนสิทธิทางปัญญาไปให้บริษัทอื่น (และไม่ได้ทุนทำต่อด้วย)​

ในปีถัดมานักวิจัยทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย Robert Malone ร่วมมือกับเพื่อน สามารถสร้างไลโปโซม อนุภาคไขมันที่จะนำอาร์เอ็นเอของเราเข้าเซลล์ เป็นการสร้างไลโปโซมชนิดใหม่ทำให้อาร์เอ็นเอคงตัวและนำเข้าเซลล์ได้ดีขึ้น

ความสำเร็จและแนวคิดนี้ทำให้เหล่าบรรดาผู้คิดค้นมีชื่อเสียง มีการดึงตัวไปอยู่บริษัทเอกชน มีการแยกตัวไปตั้งบริษัท และแย่งชิงกันเพื่อจดสิทธิบัตรในการค้นพบเทคโนโลยีของไลโปโซมและ mRNA แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีใครนำไปจดสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการด้วยเหตุที่การพัฒนายังไม่สามารถจบลงที่ตัวผลิตภัณฑ์สมบูณ์ได้

หลายคนแยกไปทำเรื่องรหัสพันธุกรรมต่อ ส่วน Robert Malone กลับไปเรียนต่อจนจบปริญญาเอกสาขาด้านพันธุวิศวกรรม (ซีอีโอบริษัทชั้นนำของโลกส่วนมากก็คิดค้นงานตัวเองได้ ทั้ง ๆ ที่ยังเรียนไม่จบ) หลังจากที่มาโลนเรียนจบ มาโลนก็ยังสนใจการทำงานกับอาร์เอ็นเอ

แต่ไม่ว่าเขาจะขอทุนและนำเสนอการลงทุนเท่าไร ในเวลานั้นก็ยังไม่มีบริษัทใดเห็นความเป็นไปได้ในทางการค้า เขาจึงหันไปศึกษาและร่วมทุนกับดีเอ็นเอ โดยเฉพาะวัคซีนจากดีเอ็นเอ หลังจากนั้นมาโลนได้ออกมากล่าวถึงผลเสียของวัคซีน mRNA และเทคโนโลยี mRNA ว่าจะทำให้เกิดพิษและอันตรายต่อเซลล์เป้าหมาย

ไม่รู้ว่ามาโลนออกมากล่าวเพราะหวังดี หรือต้องการโจมตี mRNA รู้เพียงแต่ว่าคำกล่าวโจมตีวัคซีน mRNA ของมาโลน ส่งผลเสียต่อเขาอย่างยิ่ง เขาถูกแบนจากบัญชีสื่อออนไลน์ ถูกระงับการแสดงความเห็นในโลกวิชาการ วารสาร New Engalnd Journal of Medicine ระงับการเข้าถึงวารสารของมาโลน ทำให้ปัจจุบันเรายังไม่รู้ว่าคำเตือนของมาโลนเป็นเรื่องจริงหรือไม่ หรือถูกปฏิบัติการ information operation ของทางการสหรัฐ ที่ต้องการโปรโมทวัคซีน mRNA

เรื่องราวในช่วงตั้งไข่ของ mRNA vaccine ยังไม่จบแค่นี้ ในตอนต่อไป เราจะได้ติดตามว่าหลังจากนี้ เทคโนโลยีของ mRNA จะเป็นอย่างไร

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม