คนดีชอบแก้ไข : เมื่อวารสารทางการแพทย์พบข้อผิดพลาด ก็มีการเรียกคืน (retract)
วันที่ 5 มิถุนายน 2019 วารสาร Journal of American Heart Associations ได้ลงตีพิมพ์บทความเรื่อง "Electronic Cigarette Use and Myocardial Infarction Among Adults in the US Population Assessment of Tobacco and Health" โดยผู้แต่งสองท่านคือ Dharma N Bhatta และ Stanton A. Glanz จากศูนย์ศึกษายาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ไปค้นอ่านได้ที่นี่
Bhatta DN, Glantz SA. Electronic Cigarette Use and Myocardial Infarction Among Adults in the US Population Assessment of Tobacco and Health. J Am Heart Assoc. 2019;8:e012317. DOI: 10.1161/JAHA.119.012317.
Bhatta DN, Glantz SA. Electronic Cigarette Use and Myocardial Infarction Among Adults in the US Population Assessment of Tobacco and Health. J Am Heart Assoc. 2019;8:e012317. DOI: 10.1161/JAHA.119.012317.
สรุปเนื้อหาวารสาร เป็นการศึกษาที่คัดเฉพาะบางส่วนจากการเก็บข้อมูลระยะยาว PATH 1 และ PATH 2 ที่ศึกษาผลกระทบระยะยาวของการใช้ยาสูบ โดยผู้แต่งสองท่านใช้วิธีทางสถิติ เลือกเฉพาะผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาทำการวิเคราะห์ถึงโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำมีโอกาสเพิ่มโรคหัวใจขาดเลือดอย่างชัดเจน 2.25 เท่า หากใข้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นบางวันจะเพิ่มโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 1.99 เท่า โดยโอกาสเสี่ยงนี้พอ ๆ กันกับใช้บุหรี่ปกติหรือใช้บุหรี่ปกติคู่บุหรี่ไฟฟ้า
เนื่องจากเป็นการนำเอาข้อมูลบางส่วนจากการเก็บข้อมูลหลักมาใช้ (cross sectional study) และไม่สามารถอธิบายความเป็นเหตุผลได้ชัดเจน มีความคลาดเคลื่อนและข้อมูลที่แปรปรวนมากมาย เพราะไม่ได้วางแผนควบคุมเก็บตัวแปรมาตั้งแต่แรก บอกได้แค่ว่าความสัมพันธ์ที่เกิดเท่านั้น
หลังจากนั้น reviewer คือคณะทำงานที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ได้ทำการแจ้งกลับไปถึงผู้แต่งผ่านทางบรรณาธิการวารสารว่า ข้อมูลเรื่องผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น จากวารสารไม่สามารถระบุได้ว่ามีโรคก่อนหรือหลังใช้บุหรี่ไฟฟ้า อันเป็นสาระสำคัญของบทสรุปเนื้อหา เรียกร้องให้ผู้แต่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลซ้ำใหม่
ผู้แต่งทั้งสองไม่ได้ส่งต้นฉบับฉบับแก้ไขวิเคราะห์ใหม่ ด้วยสาเหตุที่ว่าไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูล PATH1 และ PATH2 อีก เมื่อถึงกำหนดที่ทางบรรณาธิการวารสารกำหนดให้ส่งการทบทวน ผู้แต่งทั้งสองไม่ได้ดำเนินการแก้ไขและชี้แจงตามความเหมาะสม บรรณาธิการจึงตัดสินใจถอดวารสารออก เนื่องจากเกรงว่าผลการศึกษาจะเชื่อถือไม่ได้
อ่านเนื้อข่าวได้ที่
https://retractionwatch.com/…/journal-retracts-hotly-conte…/
https://retractionwatch.com/…/journal-retracts-hotly-conte…/
และอ่านบทแถลงการณ์ที่นี่
https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/JAHA.119.014519
https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/JAHA.119.014519
ขอย้ำอีกครั้ง ผมไม่ได้มาบอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย หรือ งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์บุหรี่ไฟฟ้ากับโรคหัวใจเป็นเท็จ ผมอยากบอกว่าหากข้อมูลในงานวิจัยมีข้อกังขา แม้จะตีพิมพ์ไปแล้ว ผู้แต่งและบก. ยังจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และวารสารที่ตีพิมพ์แม้มีชื่อเสียงเพียงใดก็ถูกถอดถอน เราเคยเห็นการ retraction ในวารสารหลายวารสารเช่นกัน
"ถ้าอยากเป็นคนดีควรแก้ไขในสิ่งผิด
แต่ถ้าเป็นได้แค่คนสนิท ... คือ มคปด."
แต่ถ้าเป็นได้แค่คนสนิท ... คือ มคปด."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น