เป้าหมายการควบคุมน้ำตาล ไม่ใช่เป้าหมายทั้งหมดในการควบคุมเบาหวาน และไม่ได้เท่ากันทุกคน ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรมีการปรับเป้าหมายเป็นรายคนกับแพทย์ผู้รักษา
ปลายปี 2560 ถึงต้นปี 2561หลายสมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเบาหวาน ได้ออกมาให้คำแนะนำระดับการควบคุมน้ำตาลที่เหมาะสมว่าควรเป็นเท่าไร เพราะหลายๆสมาคมให้คำแนะนำไม่เท่ากัน แม้ว่าข้อมูลที่ใข้ในการวิเคราะห์จะเป็นข้อมูลชุดเดียวกันก็จริง
แล้วเราจะเชื่ออันใด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วิทยาลัยอายุรแพทย์อเมริกา (American Colleges of Physicians) ได้ออกมาให้คำแนะนำกับแพทย์ในอเมริกาว่าระดับน้ำตาลที่กำหนดด้วย HbA1c ควรอยู่ที่ระดับ 7-8% ปรับตามความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคน
แล้วเราจะเชื่ออันใด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วิทยาลัยอายุรแพทย์อเมริกา (American Colleges of Physicians) ได้ออกมาให้คำแนะนำกับแพทย์ในอเมริกาว่าระดับน้ำตาลที่กำหนดด้วย HbA1c ควรอยู่ที่ระดับ 7-8% ปรับตามความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคน
มีคำแนะนำหลายชุดที่บอกว่าถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรเกิน 7% บางที่บอกว่าไม่ควรเกิน 6.5% ด้วยหลักฐานที่ว่าลดลงจนถึงระดับที่กล่าวอ้างแล้ว ผลข้างเคียงต่อหลอดเลือดต่างๆจะลดลง และควรเลือกใช้กับผู้ป่วยที่ร่างกายไม่อ่อนแอมาก โรคร่วมไม่มาก
เพราะว่าหลายๆการศึกษาก็พบว่า เมื่อปรับลดน้ำตาลให้ต่ำมากเกินไปอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุหลักๆก็เกิดจากน้ำตาลต่ำนั่นเอง เพราะการปรับลดน้ำตาลลงต่ำมากๆคงต้องใช้ยาหลายชนิด โอกาสเกิดผลเสียจากยาโดยเฉพาะน้ำตาลต่ำมีเพิ่มขึ้นมาก (โดยเฉพาะจากยาฉีดอินซูลิน)
เพราะว่าหลายๆการศึกษาก็พบว่า เมื่อปรับลดน้ำตาลให้ต่ำมากเกินไปอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุหลักๆก็เกิดจากน้ำตาลต่ำนั่นเอง เพราะการปรับลดน้ำตาลลงต่ำมากๆคงต้องใช้ยาหลายชนิด โอกาสเกิดผลเสียจากยาโดยเฉพาะน้ำตาลต่ำมีเพิ่มขึ้นมาก (โดยเฉพาะจากยาฉีดอินซูลิน)
จึงมีคำแนะนำว่า สำหรับผู้ป่วยสภาพร่างกายไม่อำนวยในการลดน้ำตาลให้ต่ำมากๆ ก็ไม่ต้องลดต่ำขนาดนั้น แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย จนสูงเกินไป
ผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่น ผู้ป่วยสูงวัย มีโรคร่วมอื่นๆเช่นโรคหัวใจ โรคไต ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสเกิดน้ำตาลต่ำได้ บางทีก็ช่วยเหลือตัวเองให้พ้นภาวะน้ำตาลต่ำไม่ได้ด้วย ดังนั้นการตั้งเป้าสูงกว่าความเป็นจริง และพยายามจะทำตามเป้านั้นโดยไม่คิดตามสภาพจริง ก็จะเกิดปัญหาได้ เช่นพยายามทำให้น้ำตาลต่ำตามเกณฑ์สุดท้ายคนไข้ต้องมานอนโรงพยาบาลเพราะหัวใจขาดเลือด หรือเป็นลมหมดสติต้องมานอนไอซียู ญาติโกโหติกาต้องขาดงานขาดรายได้มาเฝ้า
ตกลงอย่างไร ต่ำไปก็แย่ สูงไปก็อันตราย แล้วจะทำอย่างไร ... ผมคิดว่าคำแนะนำอันใหม่นี้ค่อนข้างยืดหยุ่น คือกำหนดเป็นช่วง และความสำคัญที่สุดคือ
** ทีมผู้ดูแล (ย้ำนะ ทีม) นั่นคือรวมผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องมาร่วมตกลงกำหนดระดับน้ำตาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเสมอ **
** ทีมผู้ดูแล (ย้ำนะ ทีม) นั่นคือรวมผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องมาร่วมตกลงกำหนดระดับน้ำตาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเสมอ **
มีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ที่ไม่ได้ดูแต่เรื่องเบาหวานเท่านั้น ปัจจัยอื่นก็ต้องคำนึงด้วยเช่น คนดูแลทำได้ไหม ผู้ป่วยจะกินยาผิดไหมหากต้องการลดน้ำตาลมากๆ หากน้ำตาลต่ำจะมีใครช่วยเหลือผู้ป่วยได้หรือไม่ ทีมผู้รักษาสามารถปรับแต่งการรักษาได้ทันก่อนจะเกิดเหตุหรือไม่ ฯลฯ
บางครั้งเราเจตนารักษาและควบคุมโรคหนึ่ง แต่ลืมมองไปว่าจะมีผลกระทบต่อเรื่องอื่นหรือไม่ และเรื่องบางเรื่องก็ต้องอาศัย "ความร่วมมือ" ต้องอาศัย "ทีม" จึงประสบผลสำเร็จนะครับ
ลิงก์คำแนะนำจากวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา
http://annals.org/…/hemoglobin-1c-targets-glycemic-control-…
http://annals.org/…/hemoglobin-1c-targets-glycemic-control-…
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น