15 มิถุนายน 2566

เทคโนโลยีไร้สายกับหัวใจ dual chamber leadless pacemaker

 เทคโนโลยีไร้สายกับหัวใจ

1.การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยเฉพาะหัวใจเต้นช้าจนเกิดปัญหา คือ การใส่อุปกรณ์เพื่อไปกระตุ้นหัวใจแทนเซลล์กระตุ้นหัวใจเดิม (pacemaker)
2.แต่เดิมการใส่อุปกรณ์นี้ จะใส่สายเข้าไปที่ผนังหัวใจ จะใส่สายไปชนผนังกี่ห้องก็แล้วแต่ความต้องการ หนึ่งสายหนึ่งห้อง สองสายสองห้อง สามสายสามห้อง โดยหัวโพรบ (probe) จะต่อกับสายลากยาวจากห้องหัวใจ มาที่อุปกรณ์ควบคุมที่ฝังอยู่ในใต้ผิวหนังบริเวณทรวงอก
3.อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่สร้างสัญญาณ สร้างไฟฟ้า ส่งสัญญาณ ถ้าเป็นเครื่องรุ่นใหม่ขึ้นจะสามารถรับสัญญาณจากสายนั้น มาประมวลผลเพิ่ม แล้วสั่งการว่าถ้าไม่มีสัญญาณจากหัวใจจะกระตุ้นไหม ถ้ามีสัญญาณมาแบบนี้จะกระตุ้นสายใดยับยั้งสายใด
4.ข้อจำกัดสำคัญของเครื่องกระตุ้นแบบมีสายคือ ติดเชื้อบริเวณเครื่องส่งสัญญาณ เพราะเป็นโพรงใต้ผิวหนัง และเกิดการเลื่อนหลุดของสายและอุปกรณ์ เนื่องจากอยู่ใต้ผิวหนังบนกล้ามเนื้อหน้าอก จะมีการขยับได้ง่ายมาก
5.ปี 2016 บริษัท Medtronic ได้รับอนุมัติการใช้เครื่องกระตุ้นไร้สายเป็นครั้งแรก เป็นเทคโนโลยีที่ใส่อุปกรณ์ที่สามารถผลิตสัญญาณ ส่งสัญญาณ ตรวจจับสัญญาณและประมวลผลได้ภายในตัวเอง อุปกรณ์จะเกาะติดกับหัวใจห้องล่างขวา ไม่ต้องมีสายให้วุ่นวาย แบตเตอรี่นานประมาณ 10 ปี
6.เกือบสิบปีที่ผ่านมา มีการพัฒนา leadless pacemaker มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นแบตที่ยาวนานขึ้น การตรวจจับและส่งสัญญาณออกภายนอก การควบคุมอุปกรณ์จากภายนอก และสามารถเข้าเครื่อง MRI ได้ ประเทศไทยเราก็ทำได้
7.แต่สำหรับคนที่ต้องใส่สายและอุปกรณ์กระตุ้นหัวใจมากกว่าหนึ่งห้องหัวใจ ที่ต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างสายและการประมวลผลข้อมูลระหว่างสาย จะใช้อุปกรณ์ไร้สายได้หรือยัง วันนี้เทคโนโลยีไปถึงขั้นนั้นกับ dual chamber leadless pacemaker ชื่อ Aveir ของบริษัท Abbott
8.บริษัททำการศึกษาใส่อุปกรณ์ dual chamber leadless pacemaker ในอเมริกาและยุโรป 300 ราย โดยวัดเทียบประสิทธิภาพและผลแทรกซ้อนเทียบกับการใช้อุปกรณ์แบบมีสาย ลงตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine เมื่อ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่าประสิทธิภาพและความปลอดภัยอยู่ที่ 90% เมื่อเทียบกับแบบมีสายที่ปลอดภัย 78% และประสิทธิภาพที่ประมาณ 82%
9.เป็นความก้าวหน้าใหม่ทางการแพทย์ที่น่าจะมาปิดจุดอ่อนข้อเสียของการใส่ pacemaker แบบมีสาย ทั้งแบบห้องเดียวและสองห้อง ในอนาคต อาจมีแบบสามห้องที่เราใช้ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและบีบตัวไม่สอดรับกันได้ ต้องรอติดตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม