รายงานความเสี่ยงและอัตราการป่วยการเสียชีวิตของ องค์การอนามัยโลกในปี 2010 ข้อมูลนี้องค์การอนามัยโลกเก็บต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ 2004 เพื่อประเมินและควบคุมความเสี่ยงทั้งหลาย เป็นรายงานที่ทุกคนอ่านได้นะครับ เพื่อให้ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงในแนวใด ป้องกันให้ถูก ส่วนภาครัฐก็เอาไปใช้เป็นนโยบายชาติเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย การเสียชีวิตและภาระที่ต้องรับรักษา เขาคำนวณโดยคิดว่าความเสี่ยงต่างๆนั้นส่งผลให้เกิดอันตรายสองประการ
ประการแรก..เสียชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มที่ ยังไม่สมควรเสียชีวิต
ประการที่สอง ..คุณภาพชีวิต เขาวัดโดยใช้
disability-adjusted life year (DALYs)
คือถ้ามีความเสี่ยงนี้ จะต้องอยู่อย่างไม่มีประสิทธิภาพไปกี่ปี ยิ่งเยอะแสดงว่า เป็น ภาระเยอะนั่นเอง
ประเทศที่ร่ำรวยก็จะมีสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตแตกต่างออกจากประเทศยากจนจึงทำให้การปัจจัยเสี่ยงต่างกันออกไป ผมยกตัวอย่างเช่นในประเทศร่ำรวยนั้น ความมีอันจะกินคือ นน.เกินเป็นสาเหตุของโรค แต่ในขณะประเทศยากจนนั้น ความไม่มีจะกินคือปัญหา ประเทศที่รวยนั้นรูปแบบอุตสาหกรรมและการบริการก็ต่างจากชาติที่จน มลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคก็จะต่างกัน ประเทศไทยนั้นทาง WHO จัดในกลุ่ม low to middle income
ที่อ่านมาพบว่าสาเหตุและความเสี่ยงที่ถึงตายในกลุ่มประเทศรวยหรือจน ไม่ต่างกันมากนัก แต่ว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อยู่อย่างทรมาน เจ็บง่ายตายช้านั้นจะมีผลมากๆกับกลุ่มประเทศยากจน คิดว่าคงเป็นจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และงบประมาณทางสาธารณสุขครับ
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นห้าอันดับแรกที่ทำให้เสียชีวิตตามลำดับมีดังนี้ครับ
1.ความดันโลหิตสูง
2.สูบบุหรี่
3.น้ำตาลในเลือดสูง
4.ขาดการออกกำลังกาย
5.น้ำหนักตัวมากเกิน
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เจ็บง่ายตายช้า ทรมานหลายปี เรียงตามลำดับดังนี้ครับ
1. นน.ตัวน้อย คือขาดอาหารในกลุ่มประเทศยากจนเป็นหลัก
2. เซ็กส์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยตรงกับเอดส์เลยครับ
3. เหล้า โดยเฉพาะกับอุบัติเหตุการจราจร
4. อนามัยน้ำและอาหารที่ไม่สะอาด เกี่ยวพันกับโรคติดเชื้อครับ
โดยประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีความเสี่ยงในทุกๆกลุ่มที่จะทำให้พิการ ทรมาน สูงมากสูงพอๆกับประเทศแถบแอฟริกาเลยนะครับ โดยเฉพาะเรื่อง โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ อาหารโคเลสเตอรอล และอัตราการให้นมแม่ต่ำ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะไปมีผลต่อคุณภาพประชากรต่อไปครับ
ประเทศไทยมีชื่อติดรายงานด้วย ในประเทศกลุ่มที่มีความเสี่ยงตายและพิการจากอุบัติเหตุการจราจรทางบก และ เมาแล้วขับติด อันดับโลก..ดีใจจะดีไหม..และบอกว่าแม้มาตรการการใส่หมวกนิรภัยในบ้านเราจะดีมากเป็นตัวอย่างแก่โลกได้แต่อัตราการตายหรือพิการก็ยังสูงมากอยู่ดี
...ป้องกัน ดีกว่า รักษา..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น